อื่นๆ

ทำบุญยังไงให้ได้บุญ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำบุญยังไงให้ได้บุญ

บุญ

แค่คำว่าบุญ

หลายคนมีความเชื่อว่าบุญ คือความดีงาม หรือหลายคนอาจจะเชื่อว่าบุญ คือ การให้ทาน แต่แท้ที่จริงแล้วบุญคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมบุญถึงสำคัญกับชีวิตเรามากมายขนาดนั้น

ตามหลักทางศาสนาพุทธ มีบุญกิริยาวัตถุ 3 หมายถึงที่ตั้งการทำให้เกิดบุญ คือ

1.ทานมัย หมายถึงการสละ เสียสละ คนส่วนใหญ่มันเป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ มันเลยไม่เป็นบุญ มันเลยเป็นบาปแทน แต่ถ้าใครสละการเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ แม้เพียงแค่นิดหน่อยหรือชั่วขณะ ก็ชื่อว่าเป็นบุญ

ทานหมายถึงการให้ การให้ที่แท้จริงไม่ใช่ให้ด้วยสิ่งของ สิ่งของแม้จะจำเป็นอยู่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของการทำบุญที่เป็นทาน จุดประสงค์ของการให้ทานจริงๆคือการเสียสละ สละเวลา สละทรัพย์ สละความเห็นแก่ตัว สละความตระหนี่ถี่เหนียว นี้ต่างหากคือการทำบุญ ที่ชื่อว่าทาน

ทำบุญตักบาตร

2.ศีลมัย หมายถึงการรักษาศีล ศีลใครตั้งขึ้น ใครแต่งขึ้นใครบัญญัติขึ้น แค่คำว่าศีลทำไหมทุกคนถึงมองว่าเป็นเรื่องยาก แท้จริงแล้วศีลก็คือมารยาทหรือระเบียบวินัย ที่ทุกคนควรมีคู่กับสังคม คู่กับชุมชน คือการให้ความเกรงใจเคารพกันและกัน ศีลแต่ละข้อก็หมายถึง การให้ความเคารพ ความเกรงใจกันนั้นแหละ ไม่ใช่สิ่งที่ยากอะไรขนาดนั้น การมีความเคารพความเกรงใจต่อทุกสิ่งอย่างนั้นแหละคือศีล ไม่ให้กระทบกระทั่งกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นั่นแหละคือศีล

Advertisement

Advertisement

ศีล3.ภาวนามัย หมายถึงการอบรมจิตใจ รู้จักปลอบในเวลาที่ควรปลอบ รู้จักข่มในเวลาที่ควรข่ม ก็หมายถึงการรักษาใจตัวเองรู้จักใจตัวเองให้มาก แล้วเตือนใจตนให้มาก รู้จักอารมณ์ รู้ทันความนึกคิด ของตน แล้วสอนแนะนำตนไปเรื่อยๆ สิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี มีอารมณ์โกรธ เกลียด ก็ข่มไว้แล้วสอนใจตัวเองจะโกรธทำไม เรื่องแค่นิดเดียว

ภาวนา

จะพูดอีกอย่างคือ ภาวนามัยก็คือ ศีลในใจตนนั้นแหละ ใจมันผิดศีล มันคิดร้าย คิดมาก คิดเหลวไหล จนเกิดเป็นอารมณ์ ขึ้นมา ก็ต้องข่มและสอนมันไม่ปล่อยใจตัวเองให้ละเลยจน ทำเรื่องร้ายแรงขึ้น อันนี้คือ ภาวนามัย

ทำแค่นี้ก็เป็นบุญมหาศาล มากมายแล้ว

ไม่ต้องไปคิดจะทำนั่นนี้ไหว้นั่นนี่ให้เสียเวลา

ต่อให้ทำบุญให้ทานมากมายเพียงใดแต่ถ้ายังเห็นแก่ตัวอยู่ก็ไม่ชื่อว่าเป็นบุญ

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :http://84000.org/

ภาพปก : canva

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์