อื่นๆ

ทำไม “พระสึกแล้ว” ทรัพย์สินควรคืนเป็นของวัด

2.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำไม “พระสึกแล้ว” ทรัพย์สินควรคืนเป็นของวัด

คำถามที่หลายคนสงสัยเมื่อเราเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ มีเพียงอัฐบริขารของจำเป็น 8 อย่างเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น นั่นคือ “มาแต่ตัว” เมื่อตัดสินใจลาสิกขาสึกออกไปแล้ว ทรัพย์สินเงินทองได้ระหว่างการบวชควรคืนกลับสู่พุทธศาสนาไหม คำตอบถ้าเอาตาม ทางโลก มันมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 บัญญัติไว้ตามกฎเกณฑ์

  • ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

พระ ลาสิกขา เงินต้องคืนวัดไหมนั่นคือหากพระสงฆ์มรณภาพ เจอทรัพย์สินเงินทองในกุฏิให้ตกเป็นของวัด เว้นเสียพระรูปนั้นได้ยกเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับบุคคลอื่น “วัดจึงไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น” มาถึงยุคนี้ซับซ้อนขึ้น เช่นพระเอาเงินทำบุญฝากในบัญชีส่วนตัวธนาคาร เงินนั้นมันก็มีเจ้าของตามกฎหมายชัดเจนใครจะมาแย่งไปไม่ได้ ถ้าเอาตามทางโลกก็ว่าตามนั้น เช่นพระเอาเงินทำบุญไปซื้อหวยถามว่าผิดมั้ย? เถียงกันยันเช้ายังไงก็ไม่ผิดเพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามพระซื้อหวย แต่ถ้าทางธรรมคือผิดข้ออบายมุข อาจมีคนอ้างว่าก็ลอตเตอรี่มันถูกกฎหมายนี่! อย่างนั้นต้องถามกลับว่าพระที่จำวัดอยู่อังกฤษก็แทงบอลได้สิ เพราะที่นั่นแทงบอลถูกกฎหมาย ว่ากันอย่างไรก็ไม่จบ อยู่ที่ว่าจะหยิบยกเอา “ทางโลก” หรือ “ทางธรรม” มาถกกัน กับคำถาม พระสึกแล้ว ทรัพย์สินเงินทองได้ระหว่างการบวชควรคืนกลับสู่พุทธศาสนาไหม เอาแบบกฎหมายทางโลกตามที่กล่าวไปว่ามันไม่ผิด แต่เรามาดูเหตุผล 3 ข้อในทางธรรมว่าทำไมการมาบวชแต่ตัว เมื่อกลับไปก็ควรไปแต่ตัวด้วย

Advertisement

Advertisement

พระ สึกแล้วคืนเงินไหม1. ฆราวาสให้เงินทองเพื่อทำนุบำรุงพุทธศาสนา

สาธุชนมาทำบุญย่อมหวังเงินนั้นกลับคืนสู่ศาสนา ไม่มีใครทำบุญเพื่อหวังว่าพระสึกแล้วเอาไปดาวน์รถยนต์ป้ายแดงแน่ คำว่าถวายเพื่อให้พระ "ใช้จ่ายส่วนตัว" จำกัดความหมายอยู่ในกิจของสงฆ์ ตามบุญกิริยาวัตถุ 10 การทำบุญให้เกิดบุญคือทำไปแล้วต้องเกิดความสบายใจ ไม่ระแวงสงสัย ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ทำบุญว่าเงินนั้นไม่หลุดรอดใช้ส่วนตัวหลังขาดจากความเป็นพระ หรือประกาศไปเลยว่าใครทำบุญหลังจากนี้จะเก็บไว้ใช้เองตอนสึกนะ ขอเวลาเก็บเงินอีกสักปีแล้วจะสึก ส่วนใครทำก่อนหน้านั้นขอยกให้วัดใช้ทำนุบำรุงศาสนาสืบไป คงไม่มีประเด็นอะไรตามมาแน่นอน

วัด ทำบุญ บริจาคเงิน2. ฆราวาสให้เงินทองเพราะเห็นว่าห่มเหลือง

คนทำบุญเพราะเห็นว่า “เป็นพระ” ย่อมตัดสินใจง่ายกว่าควักเงินให้เพราะเป็นใครไม่รู้ เปรียบเทียบให้ชัดคือเราควักเงินให้คนแต่งชุดกู้ภัย “เพราะหวังว่าจะเอาไปช่วยชีวิตคน” , ควักเงินให้คนแต่งชุดครู “เพราะหวังว่าจะเอาไปช่วยเด็ก” เครื่องแต่งกายบอกวัตถุประสงค์ถึงทิศทางของเงิน ย้อนกลับไปข้อแรกเห็นคนนี้แต่งกายห่มเหลืองเป็นพระสงฆ์ มันก็ต้องหวังเงินนั้นใช้จ่ายในทางศาสนา เมื่อถอดชุดกู้ภัย , ถอดชุดครู หรือถอดจีวรออกแล้วจึงมิควรอย่างยิ่งกับการทำให้เงินนั้นถูกใช้ผิดวัตถุประสงค์

Advertisement

Advertisement

พระสงฆ์ ทำบุญ3. พระไม่ควรสะสมทรัพย์

การรับเงินทองที่ได้จากการถวายของคฤหัสถ์ ต้องอาบัติ “นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30” ตามพระธรรมวินัยข้อนี้รวมไปถึงห้ามซื้อ-ขายด้วยเงินทอง และห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก ของจำเป็นสำหรับพระสงฆ์มีเพียงอัฐบริขาร 8 นั่นคือไม่ควรสะสมทรัพย์นั้นแต่ต้น และเป็นเงินได้ระหว่างการบวชยิ่งไม่ควร บวชแล้วควรได้ธรรมมิใช่บวชแล้วได้ทรัพย์ เข้าโบสถ์เพื่อบรรพชามีอะไรติดตัวมา เมื่อกล่าวลาสิกขาเดินออกจากโบสถ์ก็ควรมีเท่าที่มาวันแรก ทรัพย์สมบัติควรสละไว้เบื้องหลัง

ด้วยเหตุผลเพียง 3 ข้อ จึงไม่ควรนำเงินที่ได้ระหว่างการบวชมาใช้จ่ายส่วนตัว “หลังการสึก” แม้เพียงเศษกระพี้ของเงินนั้นก็ไม่เหมาะ แต่ก็นั่นล่ะ.. หากยกเอาข้อกฎหมายทางโลกมันก็ไม่ผิด คงอยู่ที่วิธีคิด วิธีพิจารณาแยกแยะว่าสิ่งใดเหมาะ สิ่งใดไม่เหมาะ หากคิดเอาว่าเหมาะแล้วก็คงเห็นสมควร ไม่มีผิด ไม่มีถูก และถึงอย่างไรพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์..

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
หงส์ดรุณ
หงส์ดรุณ
อ่านบทความอื่นจาก หงส์ดรุณ

ติดตามเรื่องราวน่าสนใจกันได้ที่นี่ครับ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์