อื่นๆ

"ทีม" และ "วัฒนธรรมความใส่ใจ"

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"ทีม" และ "วัฒนธรรมความใส่ใจ"

ทีมหลากหลายเรื่องราวและเคล็ดลับความสำเร็จของความเป็น "ทีม" ผ่านหูผ่านตาฉันไปมากมาย จากหนังสือ สื่ออินเตอร์เน็ต เวทีเสวนาต่าง ๆ

หลากหลายประสบการณ์การร่วม "ทีม" ผ่านชีวิตฉันมาพอสมควรเช่นกัน ตั้งแต่ทีมแบบเด็ก ๆ ในรั้วโรงเรียน มหาวิทยาลัย ไปจนถึงทีมในโลกของการทำงานและการใช้ชีวิต

ฉันกระหายการเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ดีเสมอมา แม้จะเป็นเพียงฟันเฟืองตัวเล็ก ๆ ที่มีแรงขับเคลื่อนได้ไม่มากมายนัก แต่หากเรามีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ดี เราจะพบความสุขทั้งในเรื่องการทำงาน ความสัมพันธ์ และการพัฒนาตนเอง

ทีม

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ "ทีมที่ดี" ที่ค่อนข้างจะโดนใจฉันในระดับมากที่สุด คือ "วัฒนธรรมความใส่ใจ"

เราทุกคนคงมีโอกาสพบเจอกับประสบการณ์ของวัฒนธรรมความใส่ใจในทีมที่แตกต่างกันมาพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นทีมที่พุ่งความใส่ใจไปที่ผลสำเร็จของงาน ตั้งเป้าที่ความสำเร็จโดยไม่สนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างทาง หรือทีมที่บรรจุความใส่ใจทั้งหมดไปกับเรื่องราวส่วนตัวทุกเรื่องของเพื่อนร่วมงานประดุจญาติมิตรของตัวเอง

Advertisement

Advertisement

แต่ฉันไม่แน่ใจนักว่า จะมีสักกี่คน ที่พบเจอทีมที่มีวัฒนธรรมความใส่ใจที่พอดิบพอดี โอบอุ้มให้เราอยู่ร่วมในทีมได้อย่างสบายเนื้อสบายตัว และสำคัญที่สุดคือ สบายใจ

ทีม( ภาพโดย Alexas_Fotos จาก Pixabay )

วัฒนธรรมความใส่ใจ นับเป็นเสน่ห์ของทีมที่ทำให้ผู้ร่วมทีมเกิดความรู้สึกดี รวมทั้งเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์อื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับทีม ความต้องการพัฒนาตนเอง การมีเป้าหมายร่วมกัน ความเห็นอกเห็นใจกัน และการยื่นมือให้ความช่วยเหลือกันเมื่อพบเจอกับปัญหา

"ใส่ใจ" กับ "เข้าไปยุ่ง" เรื่องงานและเรื่องส่วนตัว บางคนอาจยังไม่รู้ถึงความต่าง และแยกไม่ออก

"ความใส่ใจ" บางทีจึงถูกละเลย เพียงเพราะเข้าใจผิดคิดว่า นั่นคือการ "เข้าไปยุ่ง" เรื่องคนอื่น

สำหรับฉัน ผู้นำทีมและสมาชิกทีมที่ดีต้องมีความใส่ใจซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เพราะไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า เรื่องส่วนตัวบางเรื่องมีผลต่อจิตใจและสมาธิในการทำงาน หากท้องไม่อิ่ม กายใจไม่สบาย หรือปัญหารุมเร้า จะมีสมาธิสร้างสรรค์งานที่ดีอย่างเต็มร้อยได้อย่างไร

Advertisement

Advertisement

หลายครั้งที่ฉันพบเจอกับผู้นำที่มุ่งผลสำเร็จของงานอย่างเดียวโดยละเลยความใส่ใจจิตใจของคนทำงาน มองคนเหมือนเครื่องจักรผลิตงานที่ไม่มีความรู้สึก ในทุกครั้งฉันจะรู้สึกว่า ผู้นำประเภทนี้จะได้เพียงงานที่เขาต้องการ งานที่ไม่ได้ออกมาจากศักยภาพและความตั้งใจทั้งหมดของคนทำงาน งานที่ทำเพียงเพราะคำว่า "หน้าที่" แต่ผู้นำประเภทนี้ จะไม่ได้ใจคนทำงาน และไม่มีวันได้งานที่ตั้งใจสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ออกมาจากใจของคนทำงานเลย

ทีม

ความใส่ใจที่พอดีต่อเพื่อนร่วมทีม เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงจิตใจของคนทำงาน การถามไถ่เรื่องงานและเรื่องส่วนตัวที่เจ้าตัวยินดีเปิดเผย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ต่างคนพบเจอ ติดตามความก้าวหน้าของงานเป็นระยะ เอาใจเขามาใส่ใจเรา และยื่นมือเข้าช่วยเหลือกันเมื่อเพื่อนร่วมทีมประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ เหล่านี้ล้วนเป็นความใส่ใจที่จะช่วยเกื้อหนุนให้บรรยากาศการอยู่ร่วมกันในทีมเป็นไปด้วยความราบรื่นและมีความสุข

Advertisement

Advertisement

หาระดับความใส่ใจที่พอดี สร้างให้เป็นวัฒนธรรมความใส่ใจของทีม แล้วเราจะพบกับความสุขของการได้ร่วมทีม เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของทีมคุณภาพต่อไป

อยากร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความใส่ใจที่ดีของทีมกันบ้างไหม ?


*** ผลงานโดย "ว่างเขียน" เผยแพร่ครั้งแรกทาง noozup.me

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ว่างเขียน
ว่างเขียน
อ่านบทความอื่นจาก ว่างเขียน

"ว่างเขียน" ว่างเป็นเขียน แบ่งปันเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจหลากหลายแง่มุม

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์