อื่นๆ

นกตกรัง ช่วยยังไงให้รอด ตอนที่ 2

905
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
นกตกรัง ช่วยยังไงให้รอด ตอนที่ 2

ขั้นตอนที่สอง หลังจากไม่พบครอบครัวนก นั่นคือการสำรวจตัวเจ้าตัวเล็กว่าได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผล หรือเลือดไหลอยู่รึเปล่า พยายามจับให้เบามือและสำรวจให้ถี่ถ้วน

กรณีที่ 1 ถ้าพบว่านกได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะมีรอยแผล เลือดออก หรือนกหมดสติ ซึ่งอาการหมดสตินั้นสามารถสังเกตได้หลายอย่าง เช่น นกไม่สามารถร้องได้แล้ว นกไม่ขยับตัว เมื่อใช้นิ้วชันคอนกขึ้นแล้วนกไม่สามารถเกร็งคอตอบโต้ได้ เป็นต้น สิ่งที่คุณควรทำคือ นำนกไปพบสัตวแพทย์ที่อยู่ใกล้ให้เร็วที่สุด เพราะเค้าอาจจะกำลังป่วยหนักหรือได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง

โดยทั่วไปสัตวแพทย์ทุกคนสามารถดูแลสัตว์ป่วยเบื้องต้นได้ทุกคลินิก ทุกโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็นไปได้ คุณควรโทรศัพท์ปรึกษาคุณหมอที่ต้องการไปพบก่อน เพราะคุณหมออาจมีคำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือแนะนำสถานพยาบาลที่ดูแลนกได้โดยเฉพาะทาง

Advertisement

Advertisement

กรณีที่ 2 ถ้าพบว่านกมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย บางครั้งจะพบว่านกมีรอยแผลถลอกแบบตื้น ไม่มีเลือดซึม(อาจมีคราบเลือดให้เห็น แต่เลือดหยุดไหลแล้ว) และยังมีแรงสามารถร้อง อ้าปากขออาหารได้ ถ้าสะดวกคุณควรพานกไปพบสัตวแพทย์ เพื่อให้คุณหมอช่วยดูแล แต่ถ้าคุณไม่สามารถไปพบคุณหมอได้ ให้ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลของคน ล้างแผลให้เจ้าตัวเล็กให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจจะใช้ผ้าก๊อซหรือสำลีลูบแผลให้สะอาด เพื่อล้างเศษสกปรกต่างๆที่ติดอยู่ออกให้มากที่สุด หลังจากนั้นซับแผลให้แห้ง แล้วแต้มยาฆ่าเชื้อที่ไม่ทำให้แสบแผล เช่น ยาใส่แผลที่มีสารประกอบของโพวิโดนไอโอดีน (Povidone-iodine) เป็นต้น ลงบนแผลที่แห้งแล้ว

สิ่งสำคัญที่ต้องระวังในการทำแผลให้นกก็คือ คุณต้องทำทุกอย่างอย่างเบามือ ไม่จับบังคับรุนแรงและไม่ใช้ยาที่จะทำให้นกเจ็บแสบ เช่น ยาทำความสะอาดแผลที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็น เอททิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ยาทำความสะอาดแผลที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide)  เป็นต้น เนื่องจากนกเป็นสัตว์ที่ตกใจได้ง่ายมาก ในบางรายเมื่อนกตกใจมาก อาจทำให้ช็อคและตายได้ คุณต้องระวังให้มาก

Advertisement

Advertisement

เมื่อทำความสะอาดและแต้มยาฆ่าเชื้อบนแผลเรียบร้อยแล้ว สามารถปล่อยแผลไว้โดยไม่ปิดแผลได้ถ้าคุณมั่นใจว่าบริเวณที่อยู่ของนกสะอาดเพียงพอ ไม่มีแมลงวันตอมแผล และแผลอยู่ในตำแหน่งที่สัมผัสกับสิ่งต่างๆได้น้อย หลังจากนั้นถ้าคุณสามารถพานกไปพบคุณหมอได้ก็ควรจะไปค่ะ แต่ถ้าไม่สามารถไปได้ คุณก็ต้องทำแผลให้ทุกเองทุกวัน โดยพิจารณาดูแผลว่า ถ้าแผลสกปรกก็ต้องล้างแผลก่อนจะแต้มยาฆ่าเชื้อ พร้อมทั้งสังเกตสีและกลิ่นของแผล หากพบว่าแผลยังมีสีสด ไม่เปื่อยเน่า ไม่มีกลิ่นเหม็น ก็สามารถดูแลนกด้วยตัวเองต่อไปได้ค่ะ แต่ถ้าแผลมีแนวโน้มว่าจะแย่ลง เริ่มส่งกลิ่นเหม็น หรือนกเริ่มซึม ร้องน้อยลง กินอาหารลดลง คุณคงต้องพาเค้าไปพบสัตวแพทย์จริงๆแล้วล่ะ

ภาพลูกนกบาดเจ็บจากการถูกอีกาทำร้าย

ภาพแผลถลอกแบบตื้นบริเวณหลังหัวของลูกนก

กรณีที่ 3 ถ้านกไม่มีรอยแผลใดๆ และแข็งแรง สามารถส่งเสียงร้องขออาหารหรือเรียกครอบครัวได้ บางตัวมีแรงย่ำเท้า ขยับปีก หากนกมีอาการแบบนี้คุณก็สามารถเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ในการช่วยลูกนกตกรังได้เลย

Advertisement

Advertisement

ภาพลูกนกที่สุขภาพแข็งแรง

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบขั้นตอนแรกเมื่อพบลูกนกตกจากรัง สามารถเข้าไปติดตามได้จากบทความเรื่อง นกตกรัง ช่วยยังไงให้รอด ตอนที่ 1 เพราะทุกขั้นตอนและการกระทำของคุณจะส่งผลต่อชีวิตเล็กๆหนึ่งชีวิตนี้ โบราญท่านกล่าวว่า “ลูกไก่ในกำมือ” ตอนนี้เปลี่ยนเป็น “ลูกนกในอุ้งมือ” แทนนะคะ

ภาพทั้งหมด โดยนักเขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์