อื่นๆ

นิทานก่อนนอน - นาทีทองของพ่อแม่ลูก

132
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
นิทานก่อนนอน - นาทีทองของพ่อแม่ลูก

เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่ง พวกเราได้ฟังนิทานกันมาตั้งแต่เด็กจนนับเรื่องไม่ถ้วน แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ แทนที่เราจะเบื่อ เรากลับยังชอบฟังนิทาน

ทำไมมนุษย์จึงชอบฟังนิทาน ... ผมไม่ทราบ แต่ลูกๆ ผม ขาดนิทานไม่ได้เลย

ผมตั้งกฎการเล่านิทานก่อนนอนของผมไว้ดังนี้

1. เวลาก่อนนอน คือนาทีทองของความสัมพันธ์ในครอบครัว

จริงอยู่ว่า การอ่านนิทานช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา ขยายคลังคำศัพท์ในสมอง สร้างจินตนาการ แต่ผมอยากให้คุณพ่อคุณแม่ เชื่ออย่างที่ผมเชื่อว่า นาทีทองนี้ มีไว้เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นหลัก ทำให้ลูกรับรู้ถึงความรักของพ่อแม่ และรู้สึกปลอดภัย ส่วนพัฒนาการอื่นๆ เป็นของแถม

ท่านั่งที่ดีที่สุดของการอ่านนิทานคือให้ลูกนั่งในตักของพ่อหรือแม่ หรือคุณปู่คุณย่า คุณน้า คุณอาผู้ทำหน้าที่อ่านนิทาน โดยกางหนังสือไว้ตรงหน้าเด็ก แล้วใช้นิ้วชี้เลื่อนไปตามเสียงที่อ่าน เป็นท่าทางที่เด็กจะสัมผัสได้ถึงความรักความอบอุ่นของเรามากที่สุด

Advertisement

Advertisement

picture bookส่วนหนังสือที่นำมาอ่าน ก็เลือกตามวัย เช่น หนังสือภาพสำหรับเด็กทารก นิทานสั้นๆ สำหรับเด็กอนุบาล ไปจนถึงวรรณคดี บทกลอน สำหรับเด็กโต

ในระหว่างที่อ่านหรือเล่านิทานนั้น ก็ตั้งคำถามถามลูกไปด้วย เช่น นิทานเรื่องเต่ากับกระต่าย วิ่งแข่งกัน เราก็ถามลูกว่า ที่โรงเรียนลูกได้วิ่งแข่งกับเพื่อนไหม ลูกวิ่งเร็วกว่า หรือช้ากว่า

ร้อยทั้งร้อย เด็กจะกระตือรือร้นตอบคำถาม เพราะอยากจะฟังนิทานต่อ แต่ถ้าไม่มีนิทานเป็นตัวนำ ลูกอาจจะไม่อยากตอบ เพราะวิ่งช้ากว่าเพื่อนก็ได้

พ่อแม่ที่ทำงานหนักมาทั้งวัน หรือทั้งสัปดาห์ ขอให้เหลือเวลาเฮือกสุดท้าย สัก 15 นาที อ่านหนังสือ หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง ก่อนจะล้มตัวลงนอน

แล้วคุณจะพบว่า ลูกนอนหลับสบายภายในเวลาอันสั้น อย่างไม่น่าเชื่อ

2.เริ่มอ่านนิทานให้ลูกฟังตั้งแต่ยังเล็ก

แม้ลูกจะยังอ่านหนังสือไม่ออก หรือยังพูดไม่ได้ แต่ท่าทางที่เราชี้ตัวหนังสือ และอ่านออกเสียงนั้น จะเริ่มทำให้ลูกเข้าใจว่า ตัวขะขึกขะยือเหล่านั้น มีความหมาย และสักวันหนึ่ง เขาจะอ่านหนังสือออก และเข้าใจความหมายของมัน

Advertisement

Advertisement

สำหรับครอบครัวที่อยากให้ลูกได้ภาษาอังกฤษด้วย ก็อาจจะอ่านออกเสียงทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษออกเสียงแบบไทยๆ และภาษาอังกฤษออกเสียงแบบฝรั่ง ด้วยก็ได้

chinese booksหรือพ่อแม่ท่านใดรู้ภาษาที่สาม เช่น จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ก็สามารถแทรกให้ลูกได้เลย ตามความถนัดของพ่อแม่ และความชอบของลูก

บางคนกลัวว่า หลายภาษาเกินไป ลูกจะงง แต่บางคนก็บอกว่า เด็กมีธรรมชาติที่เรียนรู้ได้หลายภาษาโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

ผมขอย้อนกลับไปกฎข้อหนึ่งครับ นี่คือเวลาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ไม่ใช่เพื่อติวลูกสอบเข้าอนุบาล หรือชั่วโมงเรียนพิเศษ ให้เน้นสื่อสารกับลูกในสิ่งที่ลูกสบายใจและมีความสุข อะไรที่ลูกชอบ ก็ตามนั้นไปครับ ดีกว่าทำให้ลูกเครียดก่อนเข้านอน

และอย่าลืมว่าเด็กแต่ละคนมีสมองไม่เหมือนกัน เราต้องปรับความยากง่าย หรือเนื้อหาตามความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนด้วยนะครับ

Advertisement

Advertisement

คุณแม่บางท่าน เริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ แม้ลูกจะฟังไม่เข้าใจ แต่เขาก็สัมผัสถึงความสุขของคุณแม่ได้ครับ และเป็นการซักซ้อมคุณแม่ในการอ่านนิทานด้วย ทำไปเถอะครับ ไม่มีผลเสียใดๆ

3. อ่านไป ปรุงรสไป แวะข้างทางไป

การอ่านนิทานให้ลูกฟัง ไม่ต้องอ่านตามตัวเหมือนอ่านประกาศ บางทีก็ต้องใส่จังหวะ และอารมณ์ในน้ำเสียง ใส่เอฟเฟกต์ เสียงฟ้าร้อง เสียงสัตว์ ทำให้นิทานมีรสชาติมากขึ้น

บางทีก็แกล้งอ่านผิด ให้ลูกแย้ง บางทีก็สอดแทรกมุขตลก บางทีก็แทรกเกร็ดความรู้ บางทีเจอศัพท์ยาก ก็หันมาถามลูกว่า เข้าใจศัพท์คำนี้ไหม

documentary โดยเฉพาะถ้าอ่านหนังสือประเภทสารานุกรม ความรู้ ไม่ใช่นิทาน ก็ต้องแวะข้างทางบ่อยหน่อย

บางทีก็แอบถามเรื่องเพื่อนๆ ของลูกที่โรงเรียน

หรือบางทีก็แอบเปลี่ยนนิทานไปเป็นเวอร์ชันอื่นๆ ตามแต่อารมณ์หรือความสนใจจะพาไป หรือให้ลูกช่วยแต่งนิทานร่วมไปด้วยก็ได้

4. กรองเนื้อหาก่อนอ่านหรือเล่า

กฎข้อนี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเลยครับ ผมเคยซื้อหนังสือชาดกเก็บไว้ตั้งแต่ก่อนมีลูกคนแรก เพราะคิดว่าเป็นหนังสือที่ปลูกฝังคุณธรรมให้ลูก แต่พอถึงเวลาจะอ่านให้ลูกฟัง ก็ต้องเปลี่ยนใจทันที

chatakaเนื่องจากชาดก หรือนิทานบางเรื่อง มีเนื้อหารุนแรงมาก เช่น มีการฆ่ากัน มีการสั่งประหาร ฯลฯ ซึ่งนี่คงไม่ใช่ฉากที่เราอยากเล่าให้ลูกวัยเตาะแตะของเราฟัง ถ้าเนื้อหาไม่รุนแรงมาก ผมก็จะดัดแปลงเนื้อเรื่องให้นุ่มนวลลง แต่ถ้าดัดแปลงแล้วก็ยังรุนแรงอยู่ ก็ข้ามเรื่องนั้นไปเลยดีกว่า

คิดเสียว่า เรื่องร้ายๆ ในชีวิตบนโลกใบนี้ ให้ลูกได้รับรู้ตอนโตกว่านี้ จะดีกว่า และถึงอย่างไร วันนึงที่ลูกอ่านหนังสือออกแล้ว ลูกก็จะได้อ่านเรื่องเหล่านี้เอง ในแบบดั้งเดิม ที่ไม่โดนพ่อแม่ดัดแปลง

5. ให้ลูกสรุป - นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...

ลูกฟังเราอ่านหรือเล่านิทานมาจนจบแล้ว ก็ให้ลูกสรุปว่าได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องนี้ และไม่จำเป็นต้องสรุปเหมือนกับในท้ายเล่มนิทานก็ได้ และพ่อแม่ก็สรุปตบท้ายอีกที สอดแทรกคุณธรรม หรือค่านิยมที่อยากจะถ่ายทอดให้ลูก วันละเล็กวันละน้อย

และอย่าลืมกฎข้อแรกนะครับ ช่วงเวลานี้เพื่อความรักความอบอุ่นของพ่อแม่ลูกเป็นหลักครับ

รูปภาพประกอบ และรูปภาพปก โดยผู้เขียน

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
SatitKBN
SatitKBN
อ่านบทความอื่นจาก SatitKBN

วิศวกร เกษตรกร และหนอนหนังสือ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์