อื่นๆ

"น้ำ คือ ชีวิต"

258
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"น้ำ คือ ชีวิต"

ปรัชญาน้ำ "น้ำ คือ ชีวิต"

การจัดการน้ำชุมชน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง @กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา ที่สร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเอง และโดยชุมชนตามภูมิสังคม เริ่มจากการระเบิดภายใน และการสร้างความเข้าใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากรน้ำ ด้วยการใช้หลักธรรมชาติ ในศาสตร์พระราชา เรื่อง ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ

ปรัชญาน้ำ น้ำ คือ ชีวิตฝายมีชีวิต คือ คำตอบเล็กๆ ที่ชุมชนสามารถทำได้ โดยไม่พูด และเริ่มต้นด้วยงบประมาณ แต่ใช้วัฒนธรรมชุมชน การอยู่ร่วมกัน การพึ่งพากัน แบ่งปันกัน ในลักษณะการออกปากไหว้วาน คนละไม้คนละมือ เริ่มต้นในสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยบูรณาการ ศาสตร์สากล ศาสตร์ชาวบ้าน ด้วยศาสตร์พระราชา การต่อยอดจากฝายชะลอน้ำ โดยใช้โครงสร้างอ่อน โครงสร้างเขียว เพื่อการทำโครงสร้างฝาย และใช้หลักคำนวณ ย้อนกลับ 5-10 ปี ในเรื่องสถานการณ์น้ำชุมชน

Advertisement

Advertisement

ภาพายมีชีวต ณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตาสรุปโดยรวม เป็นการฟื้นฟูวังน้ำธรรมชาติให้กลับคืนมาในชุมชน เพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร เป็นที่มาของฝายมีชีวิต ใน 3 มิติ ของชีวิต
ชีวิตแรก โครงสร้างฝายต้องเอื้อต่อต้นไม้ที่จะหยั่งรากลงมาดูดน้ำ ฉะนั้น ตัวฝายก็ต้องใช้โครงสร้างเขียว พวกไม้ไผ่ ที่จะสามารถเอื้อกัน ใส่กระสอบทราย วางเรียงเพื่อการซึมผ่านน้ำ และเป็นที่ยั่งของรากไม้นานา ที่เราปลูกริมฝาย ชีวิตไม้นานา ก็เติบโตไปตามโครงสร้างที่เอื้อให้

ภาพการทำโครงสร้างฝายด้วยไม้ไผ่ใช้หลักการโครงสร้างอ่อนชีวิตที่สอง ด้วยโครงการที่มีส่วนประกอบสำคัญ หูช้าง ตัวฝาย เหนียวปิง และบันไดนิเวศน์ หน้า หลัง บันไดนิเวศน์ หน้าเอื้อต่อตะกอนอินทรียวัตถุ ไหลมาจากต้นน้ำ มาทับถม ด้านหน้า ด้วยการชะลอ ให้ตะกอนอินทรียวัตถุ ค่อยไหลตามกระแสน้ำ ตามขั้นบันได เหนี่ยวรั้งการพัดพาฉับพลัน และจะได้แหล่ง อาหาร และสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ว่ายทวนน้ำ มาวางไข่ บันไดหลัง ปลาสามารถว่ายไต่ตามขั้นบันได้สะดวก เพื่อมาวางไข่ และนี้ชีวิตที่สอง ที่จะเกิดขึ้น

Advertisement

Advertisement

โครงสร้างฝาย ที่สัมพันธ์กันทั้ง หูช้าง บันไดนเวศน์หน้า หลัง เหนียวปิง และฝายชีวิตที่สาม เป็นเรื่องที่เกิดจาก 2 ชีวิตแรก น้ำบนฝาย ที่ยกระดับน้ำขึ้นจากความสูงของฝาย จะยกระดับน้ำได้ถึง 2 กิโลเมตร และสามารถซึมลึกใต้ดิน ของ 2 ตลิ่ง ฝั่ง คลอง 2-4 กิโลเมตร สร้างความชื่นให้ สวน ไร่ นา ได้ตลอด 2 ฝั่งคลอง การที่มีน้ำ ในระยะ 2 กิโลเมตร ชีวิตที่ 3 ตามมาคือ วิถีชุมชน ในการ หาอยู่ หากิน จากการใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร สร้างอาชีพ สังคม วัฒนธรรม มากมาย และต่อยอดสู่ท่องเที่ยวชุมชน

ภาพลำน้ำหลังสร้างายเสร็จและนี้คือ รูปแบบการจัดการน้ำชุมชน โดยชุมชน ที่สร้างการพัฒนาชุมชน ให้มีการเอื้อต่อกัน คนกับธรรมชาติ และธรรมชาติกับธรรมชาติ ที่มีความปรองดองกันอย่างลงตัว สร้างความเข้มแข็งสร้างความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศน์น้ำ สร้างวิถีวัฒนธรรมชุมชน การอยู่ร่วมกันหวงแหนชุมชนบ้านเกิด เป็นความลงตัวอย่างแท้จริง ของคนและธรรมชาติ หากไม่ทำร้ายกันและกัน

Advertisement

Advertisement

เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา..ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ภาพความสมบูรณ์ของชุมชนที่มีแหล่งน้ำใช้จากการทำฝายมีชีวตภาพปก และภาพที่ 1 ออกแบบโดย ครูช่วย คุรุชน ที่แต่งข้อความ และออกแบบภาพ ให้กับ อาจารย์รดา มีบุญ ในภาพซึ่งเป็น ครูฝายมีชีวิต

ภาพถ่ายที่ 2-6 เป็นภาพถ่ายด้วยความร่วมมือของ อาจารย์รดา มีบุญ ประธานศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา

ร่วมเสพบทความ หนัง เพลง และซีรีส์ใหม่ๆสุดเพลิดเพลิน โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สายลับเชน
สายลับเชน
อ่านบทความอื่นจาก สายลับเชน

งานวิทยากร งานส่งเสริมพฒนาในพ้นที่ ทำงานอิสระ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์