อื่นๆ

บริการสังคมแทนค่าปรับ คืออะไรที่นี่มีคำตอบ !

123
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
บริการสังคมแทนค่าปรับ คืออะไรที่นี่มีคำตอบ !

เมื่อได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษลักษณะปรับเป็นเงิน ซึ่งบางคนก็ไม่พร้อมมีเงินจ่ายค่าปรับตามคำพิพากษาของศาลได้ เจอแบบนี้จะทำอย่างไรดี ที่นี่จะมีคำตอบให้ทุกคนได้ครับ ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา ขอให้กดแชร์ กดติดตามเพื่อจะได้ไม่พลาดสิ่งใหม่ ๆ จากผมนะครับ

ก่อนอื่นเลยนะครับ ด้วยวิธีการที่ผมแนะนำนั้นไม่ได้ใช้ได้กับทุกคดีได้ทั้งหมด แต่จะใช้ได้ในบางคดีเท่านั้น !

จะใช้กับคดีที่มีอัตราโทษสูงเกินกว่า หรือคดีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1 ไม่ได้เลย กล่าวคือจะต้องไม่ใช่เป็นโทษที่มีคำพิพากษาปรับนิติบุคคล โดยศาลจะเป็นผู้สอบถามและแจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องโทษปรับที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับและผู้ต้องโทษปรับต้องการทำงานบริการสังคมแทนก็สามารถยื่นคำร้องตามแบบ บ.ส.1 โดยศาลจะจัดให้มีการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการจัดทำคำร้องและประวัติตามแบบ บ.ส.2 เพื่อยื่นคำร้อง ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้ทำงานบริการสังคมได้เลย โดยไม่ต้องถูกนำตัวไปกักขัง หรืออีกกรณีคือผู้ต้องโทษปรับที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับและมีความประสงค์จะทำงานบริการสังคมแทนในภายหลังสามารถยื่นคำร้อง โดยแจ้งความต้องการขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับลงในแบบคำร้อง (แบบ บ.ส.1) และกรอกประวัติส่วนตัวลงในแบบประวัติจำเลย (บ.ส.2) แล้วยื่นต่อศาลก็สามารถทำได้เช่นกันภาพประกอบลำดับที่ 1

Advertisement

Advertisement

เมื่อยื่นแบบ บ.ส.1 ต่อศาลแล้ว ศาลจะให้ทุกคดีหรือไม่ ? คำตอบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณามีคำสั่งอนุญาต โดยหลักแล้วศาลจะพิจารณาภายใต้กรอบของกฎหมายที่ให้พิจารณาจากฐานะการเงิน ประวัติส่วนตัว ครอบครัว สภาพแวดล้อม ประวัติการกระทำความผิด และสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับ รวมถึงประโยชน์ส่วนรวมที่เกิดจากการทำงานบริการสังคม ดังนั้น เรื่องนี้ผมไม่สามารถให้คำตอบแทนศาลได้ เพราะเป็นเรื่องการพิจารณาคดีโดยแท้ภาพประกอบลำดับที่ 2 (คำร้อง บส.1)

ภาพประกอบลำดับที่ 3 (ประวัติ บ.ส.2)ภาพประกอบลำดับที่ 4ภาพประกอบลำดับที่ 5ภาพประกอบลำดับที่ 6หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้บริการสังคมแทนค่าปรับแล้ว จะต้องทำอย่างไรต่อ ? เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแล้ว สิ่งแรกจะต้องปฏิบัติเลยคือการไปหาพนักงานคุมประพฤติ ที่สำนักงานคุมประพฤติที่อยู่ในเขตอำนาจการดูแลให้คนที่ได้รับคำสั่งศาลอนุญาตบริการสังคมแทนค่าปรับแทนประจำศาลที่มีคำสั่งนั้น ๆ ในวันถัดจากศาลมีคำสั่งอนุญาต เพื่อให้พนักงานคุมประพฤติดำเนินการจัดสรรและมอบหมายงานตามที่ได้เลือกไว้ว่าบริการสังคมในรูปแบบใด โดยกฎหมายจะกำหนดไว้ 2 รูปแบบ คือ 1.  การทำงานบริการสังคมแบบรายบุคคล หมายถึง การจัดให้ผู้กระทำผิดแต่ละคนไปทำงานบริการสังคมตามหน่วยงานภาคีตามความรู้  ความสามารถ  หรือการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน หรือชุมชน และ 2.  การทำงานบริการสังคมแบบกลุ่ม หมายถึง การจัดให้ผู้กระทำผิดทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งจะช่วยฝึกทักษะด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดีขึ้น หรือเป็นการทำงานตามความต้องการของชุมชนที่ลักษณะงานต้องใช้คนจำนวนมาก หรือเพื่อส่งเสริมการยอมรับและความสัมพันธ์อันดี ดังนั้นเนี่ย ก่อนจะยื่นแบบ บ.ส.1 จะต้องดูความถนัดของตนเองด้วย เพื่อจะได้ทำงานบริการสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

Advertisement

Advertisement

ท้ายที่สุดก่อนจบบทความดังกล่าว สิ่งสุดท้ายคือเมื่อบริการสังคมแทนค่าปรับเสร็จแล้วตามที่พนักงานคุมประพฤติได้กำหนดไว้แล้ว อย่าลืมกลับมารายงานตัวให้ศาลทราบด้วยว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลครบถ้วนแล้ว และการบริการสังคมดังกล่าวแทนค่าปรับในอัตราวันละ 500 บาทเท่านั้น โดยการทำงานดังกล่าวไม่ได้ทำทั้งวันจะกำหนดให้ทำวันละ 4 ชั่วโมง ให้ถือว่าเป็น 1 วัน สำหรับงานทั่วไม่ใช่งานช่าง งานที่ใช้ฝีมือ

ขอขอบคุณภาพปกจาก canva

ขอขอบคุณภาพประกอบลำดับที่ 1 จากเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ขอขอบคุณภาพประกอบลำดับที่ 2 ถึง 6 จากเว็บไซต์ สำนักประธานศาลฎีกา


เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
นิติกรพาทัวร์
นิติกรพาทัวร์
อ่านบทความอื่นจาก นิติกรพาทัวร์

กิจวัตรประจำวันนอกจากทำงานแล้ว อ่านข่าวเป็นประจำ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์