อื่นๆ

บริหารเจ้านายอย่างไร ให้ได้ทั้งใจได้ทั้งงาน

307
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
บริหารเจ้านายอย่างไร ให้ได้ทั้งใจได้ทั้งงาน

พอพูดถึง “เจ้านาย” หรือ “หัวหน้า” สมองของลูกน้องส่วนใหญ่คงจะนึกถึงใครคนหนึ่งที่ชอบสั่งงานไม่รู้จักเบื่อ ทวงงานตลอดเวลา หางานใหม่ ๆ ให้ลูกน้องแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำงานสบาย เพราะแค่คิดและวางแผนแต่ไม่ได้ทำเอง เงินเดือนเยอะแต่ดูเหมือนงานน้อยทำงานสบาย คอยจับผิดลูกน้องไม่ค่อยจับถูกเลย คนที่รวบรวมเอาผลงานลูกน้องไปเป็นของตัวเองนำเสนอผู้บริหารจนได้หน้าได้ตำแหน่งมีผลงาน แต่เบื้องหลังลูกน้องกระอักเลือด ฯลฯ นี่คือตัวอย่างความรู้สึกที่ลูกน้องส่วนใหญ่จะมีต่อเจ้านาย

ทัศนคติลูกน้องที่มักจะมีต่อหัวหน้าที่มาของภาพ : freepik.com

แต่..ถ้าเราจะเป็นลูกน้องมืออาชีพและอยากจะบริหารเจ้านายให้ได้ทั้งใจและได้ทั้งงาน สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ ปรับมุมมองและเปลี่ยนแนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อเดิม ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเสียใหม่ เราจะต้องคิดใหม่ว่าเจ้านายคือ โปรโมเตอร์ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เราเติบโตก้าวหน้าในอาชีพ  เจ้านายคือคนที่ใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูง คำพูดของเจ้านายเรายังไงก็มีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าเราแน่นอน ดังนั้น เราจะต้องใช้เจ้านายให้ผลักดันและส่งเสริมเรา ต้องคิดว่าเจ้านายไม่ใช่คนใช้เรา แต่เขาคือคนช่วยเรา เช่น ช่วยแก้ปัญหา ช่วยให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยสอนงานเรา เราต้องคิดว่าดีนะที่มีเจ้านายมารับผิดแทนหรือรับผิดชอบร่วมกับเรา นอกจากนี้เราจะต้องคิดว่าเจ้านายส่วนใหญ่อายุงานเหลือน้อยกว่าเรา(เกษียณก่อนเรา) ไม่ควรเอาเจ้านายมาเป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าในอาชีพของเราเลย เราจะต้องหลอกล่อ(เรียนรู้)เรียนลัดจากความรู้และประสบการณ์ของเจ้านายมาให้ได้ให้มากที่สุดดีกว่า ไม่ต้องเสียเวลาไปลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

Advertisement

Advertisement

มุมมองแบบไหนอยู่ที่เราเลือกที่มาของภาพ : freepik.com

ก่อนที่เราจะไปบริหารจัดการเจ้านาย เราควรจะรู้จักและเข้าใจคนที่เป็นเจ้านายให้มากยิ่งขึ้นก่อน เราเคยรู้ไหมว่าคนที่เป็นเจ้านายคือคนที่น่าสงสารเพราะไม่ค่อยมีเพื่อน ยิ่งสูงยิ่งไม่มีเพื่อนหลงเหลืออยู่เลยมีแต่ลูกน้องทั้งนั้นเลย จริง ๆ แล้วเจ้านายเป็นคนที่น่าสงสารนะเพราะเขาเป็นแต่นักคิด นักวางแผน แต่เขาทำเองไม่ได้ ต้องอาศัยลูกน้องทำให้ คนเป็นเจ้านายดูเหมือนจะทำงานน้อยนะ แต่รู้หรือไม่ว่าเครียดเยอะมาก เพราะต้องใช้สมองมากกว่าแรงกาย หลายครั้งเจ้านายก็ลำบากใจที่อยู่ตรงกลางระหว่างผู้บริหารกับลูกน้องแต่จำเป็นต้องทำเพราะหน้าที่ สรุปว่า ถ้าเราเข้าใจความรู้สึกของเจ้านายมากขึ้น เราจะลดการจับผิดลง ลดการคิดลบลง และเปลี่ยนมารู้สึกเข้าใจ เห็นใจเจ้านายให้มากขึ้น โอกาสที่เราจะบริหารเจ้านาย คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Advertisement

Advertisement

ความเห็นใจเป็นบ่อเกิดของความเข้าใจที่มาของภาพ : freepik.com

จากประสบการณ์ที่เคยเป็นทั้งลูกน้องและเจ้านายมาก่อน อยากจะแนะนำเทคนิคการบริหารเจ้านายดังนี้

  • วางยาเจ้านายด้วยฝีมือและผลงาน หมายถึงการทำให้เจ้านายเสพติดเรา โดยการทำงานให้เข้าตาเจ้านาย พูดง่ายๆ คือทำให้เจ้านายขาดเราไม่ได้ ทำอะไรต้องคุย ปรึกษาหารือกับเรา ไว้วางใจให้เราทำงานสำคัญ ๆ เราจึงต้องพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น เราต้องอาสาทำงานที่ไม่มีใครทำ เราอยากทำงานใหม่ ๆ ที่เจ้านายคิดอยากจะทำ
  • เป็นเพื่อนสนิทเจ้านาย หมายถึง การที่เราไม่หนี ไม่กลัวการดุด่า การตำหนิ หรือไม่หลีกเลี่ยงเวลาเจ้านายมีอารมณ์เชิงลบ เราควรจะอยู่ใกล้ชิดเขาเวลาเขาโมโห หงุดหงิดคนอื่น ๆ ถ้าเราทำแบบนี้บ่อย ๆ วันหนึ่งเจ้านายจะรู้สึกว่าเวลาเขามีอารมณ์เชิงลบ เขาอยากจะระเบิด ระบายอารมณ์ให้เราฟัง ทั้ง ๆ ที่บางครั้งมันไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย แต่เป็นเพราะเขาไม่มีเพื่อน เราจึงทำหน้าที่เป็นลูกน้องที่เป็นเพื่อนสนิทที่สุดของเขาไปโดยอัตโนมัติ ทำแบบนี้บ่อย ๆ จนเจ้านายเคยชินและมีความรู้สึกดีกับเรามากกว่าแค่รู้สึกว่าเราเป็นเพียงลูกน้องเท่านั้น ยิ่งเราได้เห็นอารมณ์เชิงลบของเขาบ่อยๆก็เท่ากับว่าเรารู้จุดอ่อนของเจ้านายได้ไม่ยาก
  • เปลี่ยนปมเจ้านายให้เป็นเป้าของเรา เจ้านายก็คือคนธรรมดาคนหนึ่งที่มักจะมีปมบางอย่างในชีวิตไม่แตกต่างจากคนทั่วไป เพียงแต่ด้วยตำแหน่งหน้าที่ทำให้เขาซ่อนปมในชีวิตเอาไว้ไม่ให้ใครเห็น แต่ถ้าเราเป็นลูกน้องที่เจ้านายสนิทและไว้วางใจ สักวันหนึ่งเราก็จะรู้ว่าอะไรคือปมที่อยู่ในใจของเจ้านาย ถ้าเรารู้ว่าเจ้านายเรามีปมอะไร เราก็คอยทำหน้าที่ดูแลเจ้านายไม่ให้ใครมาแตะปมของเขา เช่น เรื่องไหนเจ้านายไม่ชอบไม่ถนัด เราอาสาทำแทน เรื่องไหนเจ้านายชอบ ถนัด เรามาช่วยให้เจ้านายเราได้ทำ ได้หน้า ได้ผลงาน
  • ซ้อมเป็นเจ้านายแล้วจะได้ใจ ถ้าเราต้องการให้เจ้านายรัก นายเจ้าหลง เราจะต้องทำตัวเหมือนเขา นั่นก็คือคิดเหมือนเขา เชื่อเหมือนเขา ทุกครั้งที่เขาสั่งงาน เราต้องคิดว่าถ้าเราเป็นเจ้านายเราจะคิดอะไรเพิ่มเติมอีกไหม คิดแล้วคุยกับเจ้านาย เช่น เป็นไปได้ไหมที่เราจะทำอีกแบบหนึ่งที่ง่ายกว่า เร็วกว่าและได้ผลกว่า หรือถ้าทำไปแล้วเกิดปัญหาแบบนี้เราจะป้องกันอย่างไร ฯลฯ ทำตัวเสมือนหนึ่งเราเป็นเจ้านาย ถ้าเราทำแบบนี้ได้ เจ้านายจะรู้สึกว่าเขามีคนเข้าใจเขารู้ใจเขา เขาจะรู้สึกชอบลูกน้องแบบนี้ ในขณะเดียวกันเราเองก็ได้มีโอกาสซ้อมเป็นเจ้านายไว้ล่วงหน้าได้ด้วย วันหนึ่งเวลาเราขึ้นเป็นเจ้านาย เราไม่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์

Advertisement

Advertisement

ลูกน้องที่เจ้านายรักและศรัทธาที่มาของภาพ : freepik.com

ดังนั้น ลูกน้องคนไหน อยากเป็นลูกน้องมืออาชีพในปัจจุบัน และอยากเป็นเจ้านายมืออาชีพในอนาคต ลองนำเอาแนวคิดนี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ผมเชื่อว่าแค่เราปรับมุมมอง เปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานร่วมกับเจ้านายเสียใหม่ให้เป็นไปในเชิงบวกมากขึ้น แค่นี้ก็ทำให้การทำงานร่วมกับเจ้านายมีความสุขมากขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ

ที่มาของภาพหน้าปก : freepik.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์