ไลฟ์แฮ็ก
ปรับตัวสู่สังคมไร้เงินสด เลี่ยงปัญหาหนี้สินกองโต
เมื่อหลายปีก่อน ประเทศสวีเดน เป็นประเทศแรกที่ออกประกาศที่จะเปลี่ยนเป็นสังคมไร้เงินสด โดยจะเปลี่ยนจากการใช้เงินสดในการซื้อ-ขายสินค้า และบริการ เป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด ซึ่งแรก ๆ ที่มีการประกาศนโยบายนี้ออกมา คนก็ออกมาถกเถียงกันเป็นวงกว้าง อย่างเช่น
ผู้สูงอายุที่ใช้อินเตอร์ไม่เป็น จะทำอย่างไร ?
ถ้าหากระบบล่ม จะเกิดอะไรขึ้น ?
การไม่ได้จับเงินสด จะทำให้คนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้!
แต่ถึงแม้จะมีการถกถียงกันเป็นวงกว้าง แต่ทุกอย่างก็เดินหน้าต่อ จนมาถึงปัจจุบัน ประเทศสวีเดนนมีเงินสดในระบบน้อยมาก ซึ่งผู้เขียนสังเกตได้จากตัวเอง ว่าเราไม่เคยได้ใช้เงินสดในการซื้อสินค้า และบริการเลยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และจำนวนของเอทีเอ็ม และเคาร์เตอร์ธนาคารก็ลดน้อยลงมาก หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าแล้วเราต้องทำอย่างไร หากไม่มีเงินสด ? สิ่งที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวโดยตรงของผู้เขียนเอง
Advertisement
Advertisement
1. ระบบอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง หรือแอพพลิเคชันของธนาคาร
เมื่อผู้เขียนมีรายได้เข้ามา ซึ่งเงินเดือน ถือเป็นรายได้หลัก ก็จะทำรายการผ่านแอพพลิเคชัน หรืออินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งของธนาคาร ซึ่งผู้เขียนจะทำรายการโอนเงินเข้าบัญชีหลักอื่น ๆ เช่น บัญชีเงินที่เอาไว้ใช้จ่ายส่วนตัว บัญชีเงินฝาก และ บัญชีเงินลงทุน
2. ใช้บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต
บัตรเครดิต และบัตรเดบิต ผู้เขียนใช้สำหรับการซื้อสินค้า และบริการทั่ว ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่นการซื้ออาหารที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต การจ่ายค่าตั๋วรถไฟ โดยบัตรพวกนี้ ผู้เขียนให้ผูกกับบัญชีเงินที่เอาไว้ใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งผู้เขียนก็จะจำกัดจำนวนเงินที่ใช้จ่ายต่อเดือนอย่างชัดเจน หากเดือนไหนมีค่าใช้จ่ายมากเกินงบที่ตั้งไว้ ก็ใช้วิธียืมจากบัญชีเงินฝาก และเมื่อได้เงินเดือนรอบใหม่ ก็จะหักเงินที่ยืมไปใช้ก่อนหน้า เข้าบัญชีเงินฝากในทันที
Advertisement
Advertisement
3. ใช้วิธีโอนเงินระหว่างหมายเลขโทรศัพท์ หรือที่เรียกว่า สวิช (swish)
การโอนแบบนี้ บ้านเราน่าจะเรียกว่าพร้อมเพย์ หรือเปล่าไม่แน่ใจ ? แต่ที่สวีเดนเรียกว่า สวิช ซึ่งก็คือการโอนเงินระหว่างหมายเลขโทรศัพท์ที่เราผูกไว้กับบัญชีธนาคาร ในการซื้อสินค้าและบริการจากบางร้าน เราก็สามารถชำระค่าสินค้าได้ด้วยการโอนเงินในรูปแบบนี้เช่นกัน ส่วนผู้เขียนนิยมใช้การโอนเงินแบบนี้ระหว่างเพื่อน หรือคนใกล้ตัว ทั้งนี้ผู้เขียนเองก็ผูกบัญชีธนาคารที่ใช้ในการใช้จ่ายไว้กับสวิช เพื่อให้ทุกการใช้จ่าย ไปกองรวมกันอยู่ในบัญชีใช้จ่าย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการควบคุมค่าใช้จ่าย
อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นว่า การอยู่ในสังคมไร้เงินสด มีแต่ความสะดวก ซึ่งแค่เรามีมือถือเครื่องเดียวก็สามารถทำรายการต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่ความง่ายก็มักนำมาซึ่งความเพลิดเพลิน จนบางครั้งก็นำไปสู่ปัญหาหนี้สินกองโต ผู้เขียนขอแชร์ในส่วนของการควบคุมค่าใช้จ่าย เพื่อป้องกันปัญหาหนี้สินดังนี้
Advertisement
Advertisement
- บันทึกรายรับ – รายจ่ายประจำ สัปดาห์ หรือประจำเดือน
จะเขียนใส่สมุด หรือทำใน excel หรือใครที่ชอบความสะดวกก็โหลดแอพ ”Happy money ” มาใช้ก็ได้ ในการบันทึกรายรับ และรายจ่าย จะทำให้เราสามารถวางแผนการเงิน และควบคุมค่าใช้จ่ายของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เรามีวินัยในด้านการเงินมากขึ้นด้วยเช่นกัน - แยกบัญชีเงินที่เอาไว้ใช้จ่าย ออกจากบัญชีเงินฝาก
การแยกเงินใช้ออกจากเงินฝากให้ชัดเจน จะทำให้เราไม่หลงทางในการใช้จ่าย เพราะถ้าเราเอาเงินรวมกันไว้ที่บัญชีเดียวกัน จะทำให้เราเห็นว่าตัวเองมีเงินเยอะ เราก็จะมีความรู้สึกอยากใช้เงินอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเราเห็นว่าเงินในบัญชีมีจำกัด เราก็จะรู้จักหักห้ามใจในการใช้จ่ายมากขึ้น ถ้าใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วอยากจะแย้งว่า ”แค่เงินจะกินยังไม่พอ จะเอาที่ไหนไปฝาก” ผู้เขียนก็ขอให้คุณผู้อ่านกลับไปทบทวนข้อ 1 เรื่องการบันทึกรายรับ - รายจ่าย เพราะถ้าคุณไม่เริ่มที่ตรงนั้น ชีวิตคุณจะก้าวผ่านคำได้ยาก - ใช้บัตรเครดิตแค่ 1 ใบในการชำระเงินค่าสินค้า และบริการ
ในกรณีที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีรายได้พอประมาณ ก็ไม่ควรใช้บัตรเครดิตหลายใบในการชำระสินค้าและบริการ เพราะเป็นการเสี่ยงมาก ที่เราจะใช้จ่ายจนเกินตัว เพราะฉะนั้นเราก็ควรตัดปัญหาแต่ต้นลม เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิต
เรื่องการเงิน เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเรียนรู้ และใส่ใจ เสียดายที่ไม่มีการสอนหลักสูตรนี้ในโรงเรียน ใครโชคดี มีครอบครัวที่มีวินัยเรื่องการเงิน เค้าก็ส่งต่อให้บุตรหลาน ส่วนใครที่ไม่มีครอบครัวช่วยสอนเรื่องพวกนี้ เราก็สามารถเรียนรู้เรื่องพวกนี้ได้จากผู้อื่น ผู้เขียนก็ขอให้ทุกคนรักษาวินัยการเงินให้ดี เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องหนี้สินกองโต
เครดิต ภาพปก โดย tapanakorn จากเว็บ canva
ภาพที่ 1- 4 โดยผู้เขียน
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น