อื่นๆ

ภาพถ่ายกับกระบวนการย้อนกลับทางความคิด

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ภาพถ่ายกับกระบวนการย้อนกลับทางความคิด

ผู้เขียนบทความส่วนใหญ่จะทราบกันดีอยู่แล้วว่าถ้าต้องการจะให้บทความน่าสนใจ ภาพถ่ายที่นำมาประกอบบทความจะช่วยให้ผู้อ่านจินตนาการ ถึงสิ่งที่ผู้เขียนจะสื่อความหมายได้มากขึ้น ภาพถ่ายหนึ่งภาพจะอธิบายเรื่องราวได้มากกว่าประโยคบอกเล่าหลายประโยค เนื่องจากภาพถ่ายนั้นจะส่งผลต่อการจำและรับรู้ของผู้อ่านเมื่อผู้อ่านมองภาพ สมองจะรับรู้และเริ่มบันทึกความทรงจำ ภาพถ่ายนั้นจะอยู่ในความทรงจำได้เร็วมากกว่าข้อความ แต่สิ่งที่ค่อนข้างยากคือการเลือกภาพถ่ายให้เหมาะสมกับบทความ ภาพถ่ายที่ใช้ควรจะเน้นความสมจริง มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีมุมมองที่แปลกใหม่รวมไปถึงการจัดวางองค์ประกอบของภาพ และจัดแสงที่เป็นธรรมชาติได้อย่างลงตัว

ภาพที่ 1 กระบวนการย้อนกลับ
ในการเล่าเรื่องต่างๆ นอกจากคำแต่ละคำที่นำมาประกอบกันให้เกิดเป็นประโยคข้อความแล้ว ในภาพถ่ายจะมีความหมายและบ่งบอกถึงเรื่องราว ของภาพนั้นๆ  ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนถ่ายภาพเมฆบนท้องฟ้าในขณะที่อากาศสดใส ทำให้ผู้เขียนนึกไปถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาเมื่อครั้งได้รับการบอกเล่าจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งว่าเมื่อเราแหนงหน้ามองท้องฟ้าแล้วจินตนาการว่าก้อนเมฆรวมตัวกันเป็นรูปอะไร เราจะมีความสุขใจที่ได้ใช้จินตนาการเป็นภาพต่างๆในห้วงคิดคำนึงของเรา แต่อาจมีบางคนมองว่าการมองท้องฟ้าดูจะไม่ค่อยปกติแต่ในโลกตะวันตกจะสอนให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการแบบนี้ในการคิด เด็กในซีกโลกนั้นถึงมีจินตนาการกว้างไกลในขณะที่ในซีกโลกตะวันออกยังมองว่าไร้สาระ

Advertisement

Advertisement

ภาพที่ 2 ย้อนกลับ
การมองภาพถ่ายแล้วค้นหาเรื่องราวในภาพนั้นว่าจะมีเรื่องราวอะไรซ่อนอยู่บ้างโดยใช้จินตนาการของเราเองจะทำให้เราสามารถสร้างเรื่องราวจากภาพนั้นๆได้อีกแบบหนึ่ง นั่นอาจหมายถึงการใช้ภาพถ่ายกระตุ้นจินตนาการสร้างให้เกิดเป็นเรื่องราวในแบบของเราเองได้ การใช้ภาพถ่ายเป็นตัวช่วยสร้างจินตนาการให้เกิดเป็นเรื่องราวที่จะนำมาเป็นโครงเรื่องต่างๆ ผู้เขียนมีความเห็นว่าเปรียบเหมือนกับเป็นความคิดย้อนกลับ แนวคิดแบบย้อนกลับ เป็นการกำหนดรูปแบบวิธีคิดซึ่งมีทั้งแนวคิดแบบไปข้างหน้า (Bottom-Up) และ แนวคิดแบบย้อนกลับ (Top-Down) เริ่มจากจินตนาการ สร้างเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการ มองกลับไปค้นหาสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดผลลัพธ์นั้นโดยไม่ยึดกับสิ่งที่เรามีอยู่

การคิดแบบย้อนกลับเป็นเหมือนการจินตนาการมองกลับมาจากเป้าหมายไปยังจุดเริ่มต้น ผู้เขียนได้เคยนำมาประยุกต์ใช้กับการเขียนบทความ เนื่องจากชอบการถ่ายภาพจึงมีภาพถ่ายที่ถ่ายไว้มากพอสมควรส่วนมากก็จะเป็นภาพวิวทิวทัศน์เพราะภาพวิวทิวทัศน์นั้นหากถ่ายออกมาไม่สวยก็ไม่มีใครที่จะมาบ่นให้เจ็บใจได้ ไม่เหมือนกับภาพถ่ายบุคคลที่ผู้ถูกถ่ายย่อมจะต้องการภาพถ่ายที่ถูกใจตนเองไม่ใช่ถูกใจคนถ่าย ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพดอกไม้ ภาพต้นไม้ ภาพที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ เป็นภาพที่ผู้เขียนใช้จินตนาการเพื่อค้นหาเรื่องราวของภาพ ภาพต้นขึ้นฉ่ายที่ถูกปลูกไว้ในกะละมังอะลูมิเนียมเก่าๆ ต้นที่งอกงามกว่าต้นอื่นจะมีร่อยรอยการตัดกิ่งใบไปแล้ว บางต้นก็กำลังงอกงามขึ้น  ภาพเห็ดที่ขึ้นบนเปลือกไม้ในหน้าฝน ภาพท้องฟ้าในฤดูฝน ภาพเหล่านั้นจะบอกเราถึงเรื่องราวอะไรได้บ้าง เราต้องจินตนาการไปด้วยสมองและจิตใจของเราเองโดยปลดปล่อยจินตนาการของตัวเองให้ทำงานอย่างเต็มที่

Advertisement

Advertisement

ภาพที่ 3 ย้อนกลับภาพที่ 4 เห็ดย้อนกลับ สาเหตุที่ผู้เขียนนำเสนอการใช้ความคิดย้อนกลับก็เพราะ เมื่อเราเขียนบทความแล้วต้องการหาภาพประกอบแต่ค้นไม่เจอไม่ถูกใจการกลับไปค้นหาภาพถ่ายที่เคยถ่ายไว้และคิดถึงความคิดย้อนกลับ เป็นเหตุผลหนึ่งที่เมื่อถึงทางตันเราจะทำอย่างไร เช่นเดียวกับวิธีการที่ผู้เขียนได้เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ ภาวะชะงักงันของการเขียนบทความ หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย.

ภาพปก   โดย MadameCat-Art จาก Pixabay

ภาพที่ 1  โดย bertvthul จาก Pixabay

ภาพที่ 2 : 3 : 4 โดย ผู้เขียน

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์