ไลฟ์แฮ็ก
มาลองวิเคราะห์ SWOT ตัวเองกันเถอะ
มาลองวิเคราะห์ SWOT ตัวเองกันเถอะ
SWOT อ่านว่า “สว็อต” ซึ่งมาจากตัวย่อทั้งสี่ได้แก่ Strength แปลว่า จุดแข็ง Weakness แปลว่า จุดอ่อน Opportunity แปลว่าโอกาส และสุดท้าย Threat แปลว่า อุปสรรค
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/person-using-a-laptop-3183131/
การวิเคราะห์ SWOT หรือ SWOT Analysis ถูกนำมาใช้ในหลายองค์กร อย่างเช่นธุรกิจ สถานบัน สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ
(รูปภาพจากเจ้าของบทความ)
เมื่อพิจารณาจากกราฟ จะเห็นว่าแกนตั้งเป็นตัวแปรด้านบวกและลบ ส่วนแกนนอนเป็นตัวแปรที่เป็นปัจจัยภายใน (ควบคุมได้หรือควบคุมง่าย) และปัจจัยภายนอก (ควบคุมไม่ได้หรือควบคุมยาก) ดังนั้นแล้วสรุปได้ว่าทั้ง 4 ตัวนี้มีข้อแตกต่างกันคือ
- Strength หรือจุดแข็ง เป็นเรื่องดีที่อยู่ภายใน
- Weakness หรือจุดอ่อน เป็นเรื่องไม่ดีที่อยู่ภายใน
- Opportunity หรือโอกาส เป็นเรื่องดีที่อยู่ภายนอก
- Threat หรืออุปสรรค เป็นเรื่องไม่ดีที่อยู่ภายนอก
Advertisement
Advertisement
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/photo-of-pen-on-top-of-notebook-3183170/
โดยส่วนใหญ่การวิเคราะห์ SWOT จะเป็นภาพของมวลรวมหรือกลุ่มคน แต่ถ้าเราลองนำ SWOT มาใช้กับตัวเองบ้าง จะเป็นอย่างไร มีวิธีคิดอย่างไรบ้าง มาดูกัน
แต่ก่อนจะไปดูทีกันที่ละตัว เราจะต้องทำสองอย่างก่อน อย่างแรกคือจะต้องมี “เป้าหมาย” เพราะมิฉะนั้นการวิเคราะห์ SWOT จะกว้างมาก จะนำให้เรานำสิ่งที่ไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายมาคิดด้วย อย่างเช่นจุดอ่อนบางอย่างไม่ได้มีผลกับเป้าหมายของเรา แทนที่เราจะสนใจจุดอ่อนนั้นเป็นหลัก ให้เราสนใจเรื่องที่เกี่ยวกับเป้าหมายของเราดีกว่า เพราะมันสำคัญกว่า
อย่างต่อมาคือเราจะต้อง “ยอมรับความจริง” ต้องวิเคราะห์ SWOT แต่ละตัวด้วยความสัจจริง ห้ามเข้าข้างตัวเองเด็ดขาด ถ้ายอมรับตัวเองไม่ได้ ก็ให้คนอื่นมาช่วยคอนเฟิร์มอีกเสียง เรื่องดีไม่เท่าไหร่ แต่เรื่องแย่เนี่ยราวกับขอให้เขาตบหน้าเราแรง ๆ สักฉาด ลองคิดดูละกันค่ะ ว่าชอบแบบไหน
Advertisement
Advertisement
คราวนี้เรามาดูแต่ละตัวกันดีกว่า
Strength หรือจุดแข็ง คือสิ่งที่เราทำได้ดี แต่แค่ทำได้ดีไม่พอ ต้องเป็นจุดแข็งที่ตอบโจทย์ชีวิตของเราด้วย อย่างเช่นเป้าหมายของคุณคือการอยากเป็นนักเทนนิสระดับโลก ทักษะการเล่นหมากรุกที่ยอดเยี่ยมของคุณก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเป้าหมายด้านนี้ เพียงแต่ว่าอาจจะช่วยเสริมได้ในบางมุม หากหาความเชื่อมโยงของสองสิ่งนี้ได้ เช่น ความเก่งหมากรุกช่วยฝึกสมาธิในตอนแข่งเทนนิส เป็นต้น
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/man-flexing-muscle-2092479/
สิ่งที่ควรทำกับจุดแข็ง คือการพัฒนา ต่อยอด ทวีคูณ ให้มากยิ่งขึ้น ไม่แนะว่าให้แค่ “รักษาระดับ” ให้เท่าเดิม แต่ขอให้ Up Level ของตัวเองขึ้นไปอีก เพราะทักษะที่ถูก Upgrade จะนำมาซึ่งโอกาส หรือ Opportunity ที่จะพูดในข้อต่อไป
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/person-swimming-at-the-pool-in-grayscale-photo-2157168/
Advertisement
Advertisement
Weakness หรือจุดอ่อน ลองวิเคราะห์ดูว่าอะไรคือจุดอ่อนที่ “อันตราย” ในชีวิตของเรา กล่าวคือจุดอ่อนนั้นเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้ไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้ หรือทำให้จุดแข็งสร้างผลลัพธ์ที่ตรงข้าม
ในการเติมน้ำใส่ถังที่มีรูรั่ว ย่อมไม่มีวันเติมให้เต็มได้ จะเต็มได้ก็ต่อเมื่อเราอุดรูรั่วนั้นอย่างถูกจุด การแก้ไขจุดอ่อนก็เช่นเดียวกัน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/photos/fight-box-unfair-weak-strong-2284723/
ด้วยเวลาที่จำกัดเราจำเป็นจะต้องจัดการกับรูรั่วที่สำคัญ ๆ ก่อน รูบางอย่างเล็กจนแทบไม่มีผลอะไรกับปริมาณน้ำในถัง หรือเป็นรูที่อยู่ขอบ ๆ ถัง ก็เหมือนกับจุดอ่อนที่ไม่ได้กระทบกับเป้าหมายหลักของชีวิต เช่นการเป็นคนชอบนอนตื่นสาย จะมองว่าเป็นจุดอ่อนก็ได้ แต่โดยปกติก็เข้างานกะดึกอยู่แล้ว ตรงนี้ก็ยังไม่ต้องแก้ไขทันทีก็ได้
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/photo-of-gray-faucet-2339722/
คนเราไม่ได้สมบูรณ์แบบไปเสียทุกเรื่อง ทุกคนย่อมมีข้อเสียในตัวเอง แต่ข้อเสียไหนที่สำคัญให้รีบจัดการ
Opportunity หรือโอกาส บางคนอาจจะมองส่วนนี้ว่าเป็นความโชคดี แต่ความโชคดีย่อมมีที่มาที่ไป ถ้ามองว่ามันคือความโชคดี แล้วทำไมบางคนถึงโชคดีบ่อย ๆ ล่ะ เราก็ต้องกลับมาคิดแล้วว่าคนโชคดีมีวิธีคิดอย่างไร มีนิสัยแบบไหน เอาล่ะค่ะ… กลับมาใช้คำว่าโอกาสเหมือนเดิมดีกว่า คำว่า “โอกาส” มองเผิน ๆ ก็เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุม มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อโอกาส เช่น เทรนด์ แฟชั่น ยุคสมัย การเมือง เศรษฐกิจ ฟ้าฝน และอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/architecture-black-and-white-challenge-chance-277593/
หากอยากจะควบคุมโอกาสให้อยู่มือจริง ๆ คงจะต้องย้อนไปพัฒนา “จุดแข็ง” อย่างจริงจัง จุดแข็งของเราจะเป็นตัวเรียกโอกาส และยังเป็นการเตรียมพร้อมรับโอกาสดี ๆ ในชีวิตด้วย ลองคิดดูนะคะว่าถ้าโอกาสมาถึงแล้ว แต่ชีวิตของคุณไม่พร้อม มันน่าเสียดายมาก ๆ
ไม่ต้องไปกดดันว่าโอกาสจะมาเมื่อไหร่บ้าง มันจะมาเป็นระยะ ๆ ขึ้นอยู่กับว่าเรา “มองเห็น” มันหรือเปล่า และจุดแข็งของเรา “พร้อม” รับโอกาสนั้นหรือไม่
Threat หรืออุปสรรค คำว่าอุปสรรคมีคำใกล้เคียงหลายอย่าง เช่น ภัยคุกคาม มารผจญ หรือบางคนอาจจะเรียกว่าความซวยก็เป็นได้ อุปสรรคเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับโอกาส และมันพร้อมที่จะตีจุดอ่อนของเราให้ตายคาที่อยู่เสมอ
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/animal-snake-reptile-closeup-23817/
วิธีการรับมือกับส่วนนี้ คือจะต้อง “รู้เท่าทัน” อุปสรรคต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลอง List มาเลยก็ได้ เช่น จะต้องเจอเพื่อนร่วมงานห่วย ๆ ทุกวัน ที่มาคอยพูดจากถากถาง หรือเปิดเพลงเสียงดังรบกวนตอนที่เราตั้งใจจะทำงานเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต เราอาจจะควบคุมเขาไม่ได้ หรือควบคุมได้บ้าง แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ดีที่สุดคือตัวเราเอง ก็จุดแข็งของเรานี่แหละที่จะช่วยสร้างเกราะป้องกันจากมารผจญเหล่านั้น การแก้ไขจุดอ่อนก็สำคัญด้วยเช่นกัน อย่างเช่นหากเราเป็นคนคิดเยอะ โมโหง่าย ถ้าเราไม่แก้ไข เราจะไม่มีทางชนะอุปสรรคนี้ได้เลย แต่ถ้าเราแก้จุดอ่อนได้ ศัตรูของเราก็เริ่มเบื่อที่จะเล่นงานจุดอ่อนนั้น เพราะเล่นงานไม่สำเร็จสักที มันก็จะเลิกรังแกเราในที่สุด
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/photo-of-tiger-2263936/
อย่างไรก็ตามอุปสรรคมีหลายรูปแบบ ทั้งในรูปตัวบุคคล สถานการณ์ หรือปัจจัยอื่น ๆ เราต้องวิเคราะห์ แยกชิ้นส่วนของอุปสรรคนั้นให้ดี ๆ ว่ามันมีผลต่อเราอย่างไร อาวุธของมันคืออะไร เราจะรับมือกับมันได้อย่างไรบ้าง
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/man-using-laptop-on-table-against-white-background-257897/
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับใครหลาย ๆ คนไม่มากก็น้อย และทำให้ทุกคนหันมารู้จักตัวเองมากขึ้น และอ่านสถานการณ์ได้เฉียบขาดยิ่งขึ้นนะคะ
โอ้
Facebook : fb.me/justlearntogether
YouTube : https://bit.ly/2PpkbZu
IG : kanziri
In-trend Influencer ชอบเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ IG : ohkansiri / เพจ : เรียนรู้ไปด้วยกันนะ
ความคิดเห็น