อื่นๆ

ย้อน (อ่าน) เวลา ภาพสะท้อนสังคมที่ไม่เปลี่ยนแปลง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ย้อน (อ่าน) เวลา ภาพสะท้อนสังคมที่ไม่เปลี่ยนแปลง

“เวลา” เป็นผลงานนวนิยายของชาติ กอบจิตติ ได้รับรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2537  และยังได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2537  โดยชาติ กอบจิตติ ได้แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้จาก แรงบันดาลใจที่จะขอบคุณโลกที่ทำให้ทุกคนได้อยู่ร่วมกัน ตลอดจนเพื่อตอบแทนโลกที่ให้ทุกคนมีชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม นอกจากนี้ชาติได้อุทิศหนังสือเล่มนี้แด่ ปู่ ย่า  ตา ยาย ของตัวเอง และของทุก ๆ คน เพราะเรื่องนี้มีเนื้อหาหลัก ๆ ผู้กำกับที่เข้ามาชมละครเวทีเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ต้องมาอยู่ร่วมกันที่บ้านพักคนชรา

หนังสือเรื่องนี้มีหลายปก (ภาพโดยผู้เขียน) หนังสือเรื่องนี้มีหลายปกเพราะตีพิมพ์มาไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง

นวนิยายเรื่องเวลามีโครงเรื่องที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจได้ง่าย  เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะดำเนินไปตามเวลาของนาฬิกา อาจมีตัวละครเล่าถึงเรื่องราวในอดีตสอดแทรกมาบ้าง ให้ผู้อ่านเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกในฉากนั้น ๆ ว่าเกิดจากสาเหตุใด  แต่โดยรวมก็ทำให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างลื่นไหล  แต่เนื่องจาก ตัวละครทุกตัวมีปมปัญหาของตัวเองและถูกคลี่คลายไปเรื่อย ๆ

Advertisement

Advertisement

สภาพสังคมผู้สูงอายุ ยากที่จะปฏิเสธในปัจจุบัน

แก่นเรื่องของนวนิยายเรื่องนี้ เป็นการสอนให้รู้ว่าทุกชีวิตบนโลกนี้ไม่มีสิ่งใดจะจีรังยั่งยืน ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่ถูกปรุงแต่งขึ้นแล้วก็ดับสลายไป สอดคล้องกับผู้เขียนที่มองว่าแก่นเรื่องของนวนิยายเรื่องนี้คือ ประโยคที่ตัวละครชายชราตะโกนออกมาจากห้องลูกกรงบนเวทีการแสดงว่า “ไม่มีอะไร  ไม่มีอะไรจริง ๆ”  เป็นการสอนให้รู้ว่าชีวิตไม่มีอะไรเลย และสุดท้ายก็รอเวลาที่จะตายจากโลกนี้ไป แก่นเรื่องจึงการพยายามสั่งสอนซึ่งสอดแทรกอยู่ทุกตอนของเรื่อง

เวลาของผู้สูงอายุที่โดดเดี่ยวคือเวลาที่จะไปสู่ความตายhttps://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%8A%E0%

ตัวละครในเรื่องมีบุคลิกนิสัย กิริยาท่าทางเป็นไปตามธรรมชาติของบุคคลทั่วไป เหล่าบรรดาคนแก่ที่อยู่ในเรือนพักของบ้านพักคนชราล้วนมีบุคลิกนิสัยและความหลังแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเคยร่ำรวยเป็นผู้ดีที่ล่มจม ถูกลูก ๆ ทอดทิ้ง ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทางบ้านเลี้ยงไม่ไหว หรือไร้ญาติขาดมิตร แต่สุดท้ายไม่ว่าจะมีหรือจนก็มาใช้ชีวิตร่วมกันในสถานสงเคราะห์อย่างปฏิเสธไม่ได้

Advertisement

Advertisement

ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง พบมากในสังคมปัจจุบันhttps://pixabay.com/th/photos/%E0%B9%80%

การอ่านนวนิยายเรื่องเวลาในปัจจุบัน มิได้อ่านเพื่อมองเห็นแค่อดีต หากแต่กำลังมองเห็นอนาคตที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย “สภาพสังคมแห่งผู้สูงอายุ” ที่สังคมไทยและสังคมทั่วโลกต้องตระหนัก ดังนั้นการกลับมาอ่านนวนิยายเก่าเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เพียงแค่วรรณกรรมสะท้อนสังคมไทยในอดีต แต่ยังปลูกฝังความคิดในเรื่องของสัจธรรมแห่งชีวิต และการปลุกจิตสำนึกให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้น เพราะในอนาคตเราอาจเป็นดังหนึ่งในตัวละครของเรื่องก็เป็นได้

หันกลับมาใส่ใจผู้สูงอายุให้มากขึ้นhttps://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%A5%

ถึงแม้ว่านวนิยายเรื่องนี้จะถูกเขียนขึ้นกว่า 20 ปีและตีพิมพ์ซ้ำไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าวรรณกรรมเรื่องเวลา ของชาติ กอบจิตติ ไม่ได้เก่าล้าสมัย  แต่ยังคงภาพที่สะท้อนสังคมความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์