อื่นๆ

ย้อยรอย 36 ปี เครื่องเกมแฟมิคอมในตำนาน ที่เกือบขายไม่ออกในต่างประเทศ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ย้อยรอย 36 ปี เครื่องเกมแฟมิคอมในตำนาน ที่เกือบขายไม่ออกในต่างประเทศ

ขอบคุณภาพประกอบหน้าปกจาก: https://pixabay.com/photos/nes-nintendo-entertainment-system-2649705/

เชื่อว่าเกมเมอร์หลาย ๆ ท่านที่เล่นเกมคอลโซลก็คงจะรู้จักเครื่องเกมแฟมิคอมกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แฟมิคอมเป็นเครื่องเกมที่ที่ปฏิวัติวงการเกมคอลโซลอย่างใหญ่หลวงและก็คงเป็นเครื่องเกมเครื่องแรก ๆ ของใครหลาย ๆ คน แต่รู้หรือไม่ว่าในตอนแรกที่นินเท็นโดตัดสินใจนำมันไปขายในต่างประเทศ กลับแทบไม่มีคนสนใจและขายแทบไม่ออก

Family Computer หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ แฟมิคอม ได้วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่นโดยบริษัทนินเท็นโดในปี ค.ศ. 1983 และประสบความสำเร็จจนในปี ค.ศ. 1984 แฟมิคอมได้กลายเป็นคอลโซลที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น ประธานบริษัทนินเท็นโด ยามาอุจิ ฮิโรชิ จึงต้องการที่จะขยายตลาดของแฟมิคอมไปยังอเมริกา เขาเชื่อมั่นในคุณภาพของแฟมิคอมและได้เลือกตลาดที่ยากที่สุดในอเมริกา นั่นคือนครนิวยอร์กนั่นเอง เขาคิดว่าถ้ามันขายได้ที่ที่ญี่ปุ่น มันก็น่าจะขายได้ทุกที่

Advertisement

Advertisement

แต่แล้วมันก็ขายไม่ได้ที่อเมริกา ไม่มีร้านค้าปลีกที่ไหนจะยอมรับแฟมิคอมเข้ามาขายเลย แม้ว่าตัวแฟมิคอมจะประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นแค่ไหน แต่ค่านิยมในอเมริกาตอนนั้น วิดีโอเกมนับเป็นสิ่งชั่วร้าย ดังนั้นจึงไม่มีใครคิดจะซื้ออะไรก็ตามทำได้แค่เล่นวิดีโอเกม แบบที่เครื่อง Atari 800 ของบริษัท Atari ในอเมริกาเคยล้มเหลวมาแล้ว

อาราคาว่า มิโนรุ ผู้เป็นลูกเขยของ ฮิโรชิ ประธานบริษัทนินเท็นโด และเป็นผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการนำแฟมิคอมไปขายในอเมริกา ได้ตัดสินใจแบกรับความเสี่ยงไว้เพียงคนเดียว โดยการตกลงกับร้านค้าปลีกว่า ถ้าเครื่องไหนขายไม่ออก เขาจะรับซื้อคืนด้วยเงินของเขาเองทั้งหมดในราคาเต็ม ดังนั้นก็เลยมีบางร้านค้าตกลงกับข้อเสนอนั้น

NESขอบคุณรูปภาพจาก : https://pixabay.com/th/photos/nes-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD-3525810/

Advertisement

Advertisement

นอกจากนั้นเขาก็ยังต้องนำแฟมิคอมออกจากคำว่า วิดีโอเกม เริ่มจากการเปลี่ยนชื่อเป็น Nintendo Entertainment System (หรือชื่อย่อคือ NES) และเปลี่ยนการตลาดจากการเล่นเกมด้วยคอนโทรลเลอร์ธรรมดา มาเป็นการมุ่งไปที่การใช้อุปกรณ์เสริมสองชนิดนั่นคือ The Zapper light gun ปืนไฟฟ้าที่นำไว้ใช้เล่นเกม Duck Hunt และหุ่นยนต์ R.O.B.(Robot Operating Buddy) หุ่นยนต์ที่จะช่วยเราเล่นเกมที่ซับซ้อนอย่าง Gyromite ทั้งสองอย่างนี้ทำให้ NES เป็นเหมือนของเล่นมากกว่าวิดีโอเกม แถมเป็นของเล่นที่มาจากอนาคตอีกด้วย เพราะมันมีหุ่นยนต์ไงล่ะ

ในตอนที่ NES วางจำหน่าย มีเกมที่เล่นได้ 17 เกม แต่สิ่งที่ยังไม่มีก็คือไม้ตายของนินเท็นโดนั่นก็คือเกม Super Mario Bros นั่นเอง ถึงแม้ว่าเกมนี้จะวางจำหนายในญี่ปุ่นแล้ว แต่มันยังไม่พร้อมสำหรับอเมริกา นินเท็นโดจึงเร่งการแปลเกม Super Mario Bros เพื่อที่จะนำมาขายในอเมริกา

Advertisement

Advertisement

Mario

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://pixabay.com/th/vectors/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%89-nintendo-%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84-3631666/

และหลังจากที่นินเท็นโดทำทุกอย่างที่กล่าวมานี้ ก็ไม่ได้ทำให้ Nintendo Entertainment System ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงแต่อย่างใด เครื่อง NES ขายได้แค่ 50,000 เครื่องในฤดูการนั้น นับเป็นครึ่งหนึ่งของที่ผลิตมาทั้งหมด แต่อย่างน้อยมันก็เพียงพอที่จะโน้มน้าวใจกับผู้ค้าปลีกว่าผลิตภัณฑ์ของ Nintendo นั้นขายได้ จากนั้นในต้นปี ค.ศ.1986 นินเท็นโดก็ได้ขยายการตลาดไปยัง ลอสแอนเจลิส ชิคาโก และ ซานฟรานซิสโก

Mario,Luigi,Yoschiขอบคุณรูปภาพจาก : https://pixabay.com/photos/mario-luigi-yoschi-figures-funny-1557240/

สุดท้ายแล้ว Nintendo Entertainment System หรือที่คนเราเรียกกันว่าแฟมิคอม ก็สามารถขายได้ในต่างประเทศ โดยได้คุณ มิโนรุ และ มาริโอ้ช่วยเอาไว้ และวิดีโอเกมในอเมริกาก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์