อื่นๆ

ระนาดทุ้ม คืออะไร? พร้อมบอกวิธีการตีเบื้องต้น [ดนตรีไทยน่ารู้]

9.6k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ระนาดทุ้ม คืออะไร? พร้อมบอกวิธีการตีเบื้องต้น [ดนตรีไทยน่ารู้]

ระนาดทุ้ม

สวัสดีครับ!!! วันนี้เราจะมีสาระดนตรีไทยมาแนะนำครับเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ชื่อว่า "ระนาดทุ้ม"  ระนาดทุ้มเป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีลักษณะทางกายภาพ ประกอบด้วย 1.รางระนาดทุ้ม  2.ผืนระนาดทุ้ม 3.โขนระนาดทุ้ม และ 4.ไม้ตีระนาดทุ้ม(มีลักษณะเป็นไม้นวมเท่านั้น)  เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียวกันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 ลูก

ระนาดทุ้ม นั้นเป็นเครื่องดนตรีที่ถูกสร้างขึ้น ร.3 (รัชกาลที่ 3) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียวกันกับระนาดเอกหรือไม้ไผ่ ลูกระนาดทุ้มมีจำนวนนั้นมีจำนวนทั้งหมด 17 ลูก รางระนาดทุ้มนั้นถูกประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อเป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง มีเท้าเตี้ยรองไว้ 4 มุมราง

Advertisement

Advertisement

หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม


ส่วนประกอบของระนาดทุ้ม

ส่วนประกอบของระนาดทุ้ม

การเริ่มฝึกปฏิบัติระนาดทุ้มเบื้องต้น ขั้นแรกคือ ท่านั่ง ท่านั่งในการบรรเลงระนาดทุ้ม คือ วิธีการนั่งขัดสมาธิ โดยให้ขาด้านขวาทับขาด้านซ้ายและสอดปลายเท้าด้านขวา ในขณะบรรเลงโดยเว้นระยะห่างจากผืนระนาดทุ้มให้พอประมาณ และหันหน้าเข้าหากี่งกลางของผืนระนาดทุ้ม ซึ่งในท่านั่งของผู้บรรเลงระนาดทุ้มนั้นจะต้องนั่งตัวตรง หลังไม่งอ อกผายไหล่ผึ่ง ท่านั่งต้องอยู่ในท่าที่สุภาพเรียบร้อยซึ่งดูแล้วสวยสง่างาม

ท่านั่งในการบรรเลงระนาดทุ้ม

ท่านั่งในการบรรเลงระนาดทุ้ม วิธีการจับไม้ระนาดทุ้ม  การจับไม้ในการบรรเลงระนาดทุ้มนั้นมีหลากหลายวิธี และแต่ละสำนักในการฝึกหีดก็จะเรียกชื่อการจับแตกต่างกันออกไป   ผู้เขียนจะยกตัวอย่างการจับมา 1 อย่าง คือ การจับแบบปากกา เริ่มโดยการหงายฝ่ามือขึ้น แล้ววางไม้ลงตรงร่องระหว่างอุ้งมือ แล้วใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย รวบก้านไม้ไว้ ส่วนนิ้วหัวแม่มือให้เหยียดตรงทาบขนานกับก้านไม้ระนาดทุ้ม แล้วใช้ปลายนิ้วชี้แตะอยู่บนก้านไม้ โดยให้วางหัวนิ้วชี้ในลักษณะโค้งมนลง ซึ่งการจับไม้ในวิธีนี้จะเหมาะสำหรับการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ หรือเพลงเรื่อง เพราะจะทำให้เสียงโต หนักแน่น

Advertisement

Advertisement

การจับไม้ระนาดทุ้ม

การจับไม้

ศัพท์สังคีต  ในการบรรเลงดนตรีไทย

ศัพท์สังคีต คือภาษาเฉพาะที่ใช้ในการพูดคุยกันในวงการดนตรีไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าหมายความถึงอะไรหรือให้ปฏิบัติอย่างไร

อัศนีย์ เปลี่ยนศรี (2555 : 171-183) ได้อธิบายไว้ว่า วัฒนธรรมทางภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์และสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสื่อความหมายเฉพาะ ใช้ในแต่ละสาขาวิชา ยิ่งเป็นวิชาการด้านศิลปะแล้วนั้น ยิ่งมีคำศัพท์เฉพาะมากขึ้น ผู้อยู่นอกวงการย่อมยากที่จะทราบและเข้าใจความหมายได้ แม้ว่าคำบางคำจะเหมือนคำสามัญที่ใช้กันโดยทั่วไป แต่ความหมายในวงการนั้นมิได้เหมือนกับความหมายสามัญนั้น ดังนั้น การบัญญัติศัพท์เฉพาะขึ้นใช้ในวงการดนตรีไทย เพื่อสื่อความหมายบางประการ อาอาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยจึงได้บัญญัติคำว่า “ศัพท์สังคีต” ขึ้น

กรอ มีความหมาย 2 ประการ คือ

Advertisement

Advertisement

1. เป็นวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้อง ขิม) โดยใช้มือทั้งสองตีสลับกันถี่ ๆ (เหมือนการตีรัวเสียงเดียว) เพื่อต้องการให้เกิดเสียงที่ยาวนานได้สม่ำเสมอ ทั้งนี้มือทั้งสองจะตีคนละเสียงกัน (มักจะตีเป็น คู่สอง คู่สี่ หรือคู่แปด เป็นต้น) มิได้ตีอยู่ที่เสียงเดียวกันเหมือนการรัวเสียงเดียว

2. ใช้เรียกลักษณะการดำเนินทำนองเพลงประเภทหนึ่ง ที่ใช้เสียงยาว ๆ และจังหวะช้า ๆ เราเรียกว่า “ทางกรอ” เช่นเพลงเขมรไทรโยค เหตุที่เรียกอย่างนี้ เพราะเพลงที่มีทำนองเสียงยาว ๆ นั้น เครื่องดนตรีประเภทตีไม่สามารถทำเสียงยาวนานได้ จึงต้องใช้การตีกรอ

กวาด เป็นวิธีการบรรเลงอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทตี โดยใช้ไม้ตีลากไปบนเครื่องดนตรี (ลูกระนาดหรือลูกฆ้อง) จากเสียงสูงมาหาเสียงต่ำหรือจากเสียงต่ำมาหาเสียงสูงก็ได้ เหมือนการใช้ไม้กวาดกวาดผงต่างๆ ซึ่งใช้ในเพลงทั่วไปหรือเพลงเดี่ยว

ขืนจังหวะ เป็นการบรรเลงหรือขับร้องที่ช้ากว่าจังหวะที่ควรจะลง ซึ่งอาจทำให้เกิด “คร่อมจังหวะ” ได้ในที่สุด

ไขว้ เป็นวิธีการบรรเลงอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทตี โดยมากมักจะใช้ในการบรรเลงเพลงเดี่ยว ทำนองยาว-สั้นขึ้นอยู่กับทางเพลงที่จะกำหนด เพื่อเป็นการอวดฝีมือ ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถและความชำนาญในการฝึกฝนของนักดนตรีมาเป็นอย่างดี

เนื้อฆ้อง หมายถึง ทำนองที่ฆ้องวงใหญ่บรรเลงโดยไม่มีการพลิกแพลง แต่ประการใดถือเป็นทำนองหลักของเพลงนั้น บางทีเรียกว่า “เนื้อเพลง” หรือ “ลูกฆ้อง” ก็ได้

รสมือ หมายถึง ฝีมือเฉพาะตัวของผู้บรรเลงแต่ละคน ซึ่งย่อมแตกต่างกันไป เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ดังเช่น เมื่อได้ยินเสียงซอ ก็สามารถทราบได้ว่าเป็นการบรรเลงของผู้ใด

สะบัด หมายถึง วิธีการแทรกพยางค์เข้าไปในทางเก็บอีก 1 พยางค์อย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นทำนอง 3 พยางค์ อาจอยู่ชิดกับพยางค์หลังหรืออยู่ระหว่างกลางของพยางค์อื่นก็ได้

ในส่วนของขั้นตอนต่อไป คือการฝึกปฏิบัติระนาดทุ้มเบื้องต้น สำหรับผู้เรียนที่สนใจให้ สามารถ เข้าไปชมได้ที่

1.https://www.youtube.com/watch?v=ctdaTBtyr4g

2.https://www.youtube.com/watch?v=GQHaF_4CHD0

3.https://www.youtube.com/watch?v=DwaAl4e0pgY

จากข้อความข้างต้นสรุปได้ว่า 1.ทำให้ผู้ที่สนใจรู้จักประวัติความเป็นมาของระนาดทุ้มพอสังเขปเป็นอย่างไร  2.รู้จักหน้าที่ของระนาดทุ้มในวงดนตรีไทย 3.ส่วนประกอบต่างๆของระนาดทุ้ม 4.การเริ่มฝึกปฏิบัติระนาดทุ้มเบื้องต้น  5.ท่านั่งในการบรรเลงระนาดทุ้ม  และ 6. ศัพท์สังคีตในการบรรเลงดนตรีไทยเบื้องต้น  ผู้ที่สนใจบทความข้างต้นสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมได้เลยครับ

ภาพถ่ายทั้งหมดโดย : อภิเดช รู้อยู่

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์