อื่นๆ

รับมืออย่างไรเมื่อลูกรักเป็นโรคซึมเศร้า

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
รับมืออย่างไรเมื่อลูกรักเป็นโรคซึมเศร้า

รู้สึกไม่สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีมรับมืออย่างไรเมื่อลูกรักเป็นโรคซึมเศร้า

สวัสดีค่า ทุกคน

วันนี้แม่นันจะมาเล่าเรื่องที่แม่นันเพิ่งให้คำปรึกษากับคุณแม่ท่านหนึ่งไป เกี่ยวกับปัญหาในครอบครัวที่ตัวคุณแม่ก็ยอมรับส่วนหนึ่งว่ามาจากการเลี้ยงดูของคุณแม่เอง ที่ส่งผลให้น้องเป็นโรคซึมเศร้า ในที่สุด

กรณีนี้คุณแม่เล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจ และนันมองว่าเป็นประโยชน์เหลือเกินที่จะนำมาแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่อย่างเราๆ รู้เท่าทันและปรับตัวได้ทัน

เริ่มต้นด้วยปัญหาที่ คุณแม่เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงที่ไม่สดใสนัก น้องอายุ 17 ปี ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ เพราะอยู่ที่โรงเรียนมีปัญหากับเพื่อนบ่อยครั้งจนเครียด และรู้สึกว่าการไปโรงเรียนไม่ใช่เรื่องที่มีความสุขสำหรับน้องอีกต่อไป  จึงเปลี่ยนมาเรียนทางไกลก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากน้องรู้สึกว่าทำได้ไม่ดีพอ รู้สึกแย่กับตัวเองบ่อยครั้งจนคิดว่าตนเองไม่มีค่า ซึ่งตอนแรกคุณแม่ยังไม่ได้เล่าให้ฟังว่า น้องเป็นโรคซึมเศร้า

Advertisement

Advertisement

ประเด็นคือแม่อยากจะช่วยน้องให้มีอนาคตที่ดี แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ในสถานการณ์แบบนี้

นันถามถึงเหตุการณ์ก่อนที่น้องจะเปลี่ยนไป ว่าน้องเป็นอย่างไรบ้าง ก็ได้คำตอบว่า น้องเป็นเด็กที่เรียนเก่ง คุณพ่อ คุณแม่วางแนวทางไว้ให้ทุกอย่างว่าถ้ารับข้าราชการ หรือเป็นหมอ ต้องเรียนที่นี้ สอบเข้าสถานศึกษาชื่อดังที่นี้เท่านั้น และคาดหวังอย่างยิ่งว่าลูกทำได้

คุณแม่ไม่รู้ตัวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำเพราะความรัก และความหวังดีตลอดมานั้นกลับส่งผลให้น้องเกิดความกดดันมากกว่าเด็กปกติที่ควรมีความสุข

น้องเรียนได้ดีมาตลอด แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น การเรียนที่ยากขึ้น การบ้านที่เพิ่มมากขึ้น  การทำกิจกรรมกลุ่มที่น้องไม่ถนัด และมีความมั่นใจในตัวเองสูงว่าฉันเก่งที่สุด ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ทำให้เกิดปัญหาระหว่างน้องกับเพื่อนอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้คะแนนลดลงตามไปด้วย น้องรู้สึกว่าเรียนได้ไม่ดี นั่นคือไม่มีค่า และนี้คือค่านิยมทางสังคม และครอบครัวที่ใส่โปรแกรมไว้ตั้งแต่ตอนเล็ก ๆ น้องรู้สึกไม่อยากทำอะไรให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่ทำไม่มีคุณค่าใด น้องเริ่มเก็บตัว และบอกกับคุณแม่ว่าไม่ขอไปโรงเรียน

Advertisement

Advertisement

ภาพโดย Anemone123 จาก Pixabay

นันคงไม่อาจตัดสินเรื่องราวต่างๆได้ แต่นันเห็นความรักที่น้องมีต่อคุณพ่อ คุณแม่ เชื่อว่า ไม่มีใครเป็นพ่อ แม่ที่สมบูรณ์แบบที่สุดได้ แต่สิ่งที่นันกำลังจะให้คำแนะนำต่อไปนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการดูแลทั้งตัวคุณแม่ และน้องเอง

น้องมีการพบแพทย์อยู่แล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น และมีแววว่าคุณแม่จะกังวลหนักกว่าเดิมเพราะไม่ว่าทางไหนน้องก็ยังมีแนวโน้มเก็บตัว และไม่เอาอะไรเลย ใช้ชีวิตไปวันๆ อย่างไร้ความหมาย

แน่นอนค่ะ คนเป็นโรคซึมเศร้า จะมีสารเคมีที่มีการทำงานผิดปกติ ซึ่งในบางรายอาจส่งผลต่อการควบคุมกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย อาการแต่ละคนต่างกัน ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และบางรายอาจถึงขั้นพยายามหายไปจากโลกไปนี้ เพราะคิดว่านั่นคือทางแห่งการพ้นทุกข์ ซึ่งคุณแม่ก็ทุกข์ใจอยู่ทุกขณะเช่นกัน

เรื่องของการเยียวยาทางจิตใจเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่แพทย์ใช้ควบคู่กับยา การพูดคุยเพื่อผ่อนคลายความเครียด การบำบัดแตกต่างกันไป การออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

คนเป็นแม่ที่ลูกเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งสำคัญเลย คือ

ทำความเข้าใจกับโรค โรคก็คือโรค จำเป็นต้องรักษา ไม่สามารถเปลี่ยนเพียงแค่พูด หรือ บอกกันได้แล้วจะเปลี่ยนทัศนคติทันที

ใจเย็นขึ้นให้มาก ฝึกการรับฟังมากกว่าการพูด หรือใส่ข้อมูลให้ลูกในตอนที่น้องไม่พร้อมรับอะไร ฝึกการฟังโดยไม่ตัดสินน้องด้วยสิ่งใด

ลดความลดหวังลง เปลี่ยนมาให้กำลังใจกันให้มากขึ้น

เรียนรู้ที่จะทำให้ทุกวินาทีมีความสุข เพราะคนเป็นโรคซึมเศร้า ต้องการความรักความเข้าใจสูงกว่า คนธรรมอย่างเรามากนัก

เราไม่ใช่พ่อหรือแม่อีกต่อไป เราคือเพื่อนเขา และเราเป็นทีมเดียวกัน ความรักในครอบครัวคือพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง

ดูแลจิตใจและสุขภาพของคุณพ่อ คุณแม่เองด้วย เพราะเราคือหลัก และคนที่จะอยู่เคียงข้างลูก หากเราเป็นอะไร ลูกคงต้องจะลำบากแน่นอน

ทิ้งท้ายด้วยการขอบคุณจากคุณแม่ บอกว่ารู้สึกดีมากที่มีใครสักคนชี้ทางให้แม่ แม่ไม่เคยคิดว่าจะต้องดูแลตัวเองเลย มัวแต่กังวลเรื่องเรื่องลูก กลัวว่าสิ่งที่ไม่คาดคิดจะมาถึง

สุดท้ายแล้ว คนเราต้องใครสักคนที่รับฟัง อย่างเข้าใจ และนันยินดีมากๆ ที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณแม่ แม้จะเป็นช่วงเวลาไม่นาน แต่เชื่อว่าคงเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างแน่นอน อย่างน้อย ก็คืนความสุขในใจแม่บ้างก็ยังดี

ภาพโดย lisa runnels จาก Pixabay
ภาพ : โดยผู้เขียน และเว็บ https://pixabay.com/th/

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์