ไลฟ์แฮ็ก

ลาออกต้องไม่พลาด กองทุนชราภาพ ต้องจัดการ

218
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ลาออกต้องไม่พลาด กองทุนชราภาพ ต้องจัดการ

สำหรับมนุษย์เงินเดือน หากวันใดคุณตัดสินใจลาออก หรือถูกเลิกจ้าง คนส่วนใหญ่มักจะคิดแค่เรื่องเงินชดเชยจากประกันสังคมกรณีว่างงาน ยิ่งกับเด็กจบใหม่ หรือคนที่มีอายุงานไม่เกิน 10 ปี อาจไม่เคยสนใจเรื่องผลประโยชน์จากกองทุนชราภาพของประกันสังคมทั้งที่ถูกหักนำส่งทุกเดือน แต่สำหรับคนที่มีอายุงานเกิน 10 ปี และมีอายุใกล้วัยเกษียณนั้น การวางแผนจัดการกองทุนชราภาพเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อมูลแรกที่คุณต้องทราบก็คือ คุณมีเงินอยู่ในกองทุนชราภาพเท่าไหร่ และส่งเงินสมทบมาแล้วเป็นจำนวนกี่เดือน ทั้งนี้ระยะเวลาจ่ายเงินสมทบจะเป็นเกณฑ์ว่าคุณจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และคุณมีอายุครบ 55 ปี โดยมีหลักเกณฑ์คือ

  • จ่ายเงินสมทบ น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี) คุณได้รับเป็นบำเหน็จ รับเป็นเงินก้อนครั้งเดียวจบ
  • จ่ายเงินสมทบ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป คุณได้รับเป็นบำนาญ รายเดือนไปตลอดชีวิต

Advertisement

Advertisement

ตรวจสอบข้อมูลประกันสังคมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือ สายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ https://www.sso.go.th/wpr/main/login

ตัวอย่าง website สำนักงานประกันสังคม

ถึงเวลาตัดสินใจ หากคุณส่งเงินประกันสังคมครบ 180 เดือนแล้วลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ (55 ปี) คุณยังมีเวลาอีก 6 เดือนในการตัดสินใจว่าจะไปต่อ หรือพอแค่นี้กับระบบประกันสังคม โดยหากคุณ...

  • เลือกที่จะอยู่ในระบบประกันสังคมต่อ กรณีที่คุณมีความกังวล และยังคงต้องการรับสิทธิ์ประกันสังคมต่อ คุณก็แค่สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แต่วิธีนี้ทำให้ค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายลดลงจากเดิม เนื่องจากฐานคิดเงินบำนาญจะคิดที่ 4,800 บาท (ดูภาพตารางเปรียบเทียบเงินบำนาญหลังเกษียณอายุ)
  • เลือกที่จะออกจากระบบประกันสังคม หากคุณเลือกที่จะลาออกจากงานประจำแบบถาวร และสิทธิ์ประกันสังคมพื้นฐานไม่มีผลกับคุณ หรือคุณมีสวัสดิการอื่น ๆ รองรับความเสี่ยงนั้นหมดแล้ว ก็ไม่ควรสมัครมาตรา 39 โดยแค่รอเวลาให้อายุถึงเกณฑ์ 55 ปีแล้วใช้สิทธิ์รับเงินบำนาญรายเดือนทุกเดือนไปตลอดชีพ

Advertisement

Advertisement

เงินบำเหน็จและเงินบำนาญ

เงินบำเหน็จ จ่ายครั้งเดียวจบ แต่เงินบำนาญ จ่ายรายเดือนตลอดชีพ แล้วปัจจุบันคุณได้เงินแบบไหน เพียงพอหรือไม่สำหรับอนาคต ?

ตารางเปรียบเทียบมาตรา39และมาตรา33จากตารางเปรียบเทียบข้างต้น เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นขอยกตัวอย่าง ดังนี้ :-

นายออมสุข อายุ 50 ปี มีรายได้ 15,000 บาท/เดือน  แล้วถ้า...

กรณีที่ 1. นายออมสุข ลาออก ขณะที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม 179 เดือน เข้าเกณฑ์จ่ายเงินบำเหน็จ จ่ายคืนเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเฉพาะส่วนที่นายออมสุขได้ส่งเงินสมทบไว้ฝ่ายเดียวเท่านั้น

กรณีที่ 2. นายออมสุข ลาออก ขณะที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม 180 เดือน เข้าเกณฑ์จ่ายเงินบำนาญ เริ่มจ่ายคืนเป็นรายเดือนตลอดชีพ เมื่อนายออมสุขมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

  • สูตร อัตรา x รายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย =  เงินบำนาญรายเดือน
  • คำนวณ 20% x 15,000 = 3,000 บาท/เดือน

Advertisement

Advertisement

กรณีที่ 3. นายออมสุข ลาออก ขณะที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม 180 เดือน แต่สมัครกลับเข้าประกันสังคมตามมาตรา 39 ต่อจนเมื่อนายออมสุขมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์จึงลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน ( 60 เดือนสุดท้าย มาตรา 39 จะคิดที่ฐานเงินเดือน 4,800 บาท)

  • สูตร [อัตรา + (อัตราเพิ่ม x ส่วนเกินของ15ปี)] x รายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย =  เงินบำนาญรายเดือน
  • คำนวณ [20% + ( 1.5% x 5 )] x 4,800 = 1,320 บาท/เดือน

จากตัวอย่างคุณจะเห็นว่า กรณีที่ 2. แตกต่างกับกรณีที่ 3. ชัดเจน แต่นายออมสุข ยังพอมีทางออกโดยกลับมาทำงานแบบมีนายจ้าง (มาตรา 33) อีกครั้งก่อนอายุครบ 60 ปี ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานเงินเดือนสูงขึ้นได้

ศึกษากองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ เพิ่มเติมได้ที่ :หลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีชราภาพ

ภาพทั้งหมดจัดทำโดย : ผู้เขียน

อัปเดตสาระดี ๆ มีประโยชน์แบบนี้อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
atrium
atrium
อ่านบทความอื่นจาก atrium

งานเขียนเป็นยาระบายอ่อนๆ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์