อื่นๆ

วิถีคนกับวิธีคิด

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิถีคนกับวิธีคิด

การกำเนิดขึ้นชีวิตหนึ่งของมนุษย์ตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่นับว่ายากยิ่งแล้วแต่การจะทำให้ชีวิตนั้นดำรงคงอยู่ตามครรลองและดำรงชีพอยู่เพื่อเป็นพลเมืองของสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และให้รู้จักสำนึกชั่วดี มีวิธีคิดที่ดีนั้นยากยิ่งกว่า ชีวิตหนึ่งชีวิตจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวนั้นประกอบด้วยปัจจัยอย่างน้อย 3 อย่าง คือ สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และตัวบุคคล  3 อย่างนี้หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การจะทำให้ชีวิตหนึ่งมีคุณภาพตามที่สังคมต้องการนั้นเป็นสิ่งทีเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก

ภาพประกอบจาก ผู้เขียน

วิถีชีวิตของคนชนบทในสมัยก่อนส่วนใหญ่ประมาณ 98% มีอาชีพทำการเกษตร มีวิถีชีวิต อยู่กับท้องไร่ ท้องนา ป่าเขา มีวิถีชีวิตและแนวคิดที่เรียบง่าย รักสันโดษ รักความสงบ ไม่วุ่นวายมีแนวคิดในการทำมาหาเลี้ยงชีพคือ ทำแค่พอกิน ถ้าเหลือกินก็แบ่งปัน​ เพราะมีธรรมชาติเป็นผู้สร้างสรรแหล่งอาหารให้อย่างอุดมสมบูรณ์ "อยากกินผักก็เข้าป่า อยากกินปลา กบ เขียด ก็หาตามห้วย หนอง คลอง บึง" ไม่ต้องใช้เงินซื้อ อากาศก็แสนจะบริสุทธิ์ ไร้มลภาวะ ถนนหนทางอย่างดีมีแค่ทางลูกรังที่ตัดผ่านหน้าบ้าน รถวิ่งผ่านบ้านทีไรหอบเอาฝุ่นสีแดงปลิวไปปะทะหลังคาและฝาบ้านจนกลายเป็นสีแดงโดยไม่ต้องทาสีให้เปลืองงบประมาณ ทุกคนในชุมชนมีความรักใคร่ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันไม่มีการซื้อขายมีแต่การแลกเปลี่ยนมีแนวคิดที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในลักษณะ"หมูไป ไก่มา" เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันทุกคนในชุมชนนับถือกันดุจญาติพี่น้อง หากใครขาดแคลนสิ่งใดก็หยิบยื่นให้กัน ด้วยความเต็มใจ ดังคำกล่าวที่ว่า"ข้าวได้จากบ้านเหนือ เกลือได้จากบ้านได้" นับว่าเป็นวิถีสังคมแห่งสันติสุขโดยแท้จริง

Advertisement

Advertisement

ภาพประกอบโดย ผู้เขียนเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป สถานการณ์ก็เปลี่ยนตาม สังคมเริ่มขยายตัวจากสังคมเล็กๆ ขยายตัวเป็นสังคมใหญ่ ความสุขสงบเริ่มเลือนหายพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ สิ่งแวดล้อมถูกบุกรุกทำลายมากขึ้น วิถีชีวิตและวิธีคิดของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีเข้ามาครอบงำจิตใจทำให้ผู้คนเกิดความโลภ จากแนวคิดที่อยู่แบบ "พอเพียง" กลับกลายเป็นแนวคิดที่ "ไม่เพียงพอ" จากการผลิตแค่พอกิน เพื่อแบ่งปัน กลายเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย ทุกสิ่งทุกอย่างได้มาด้วยเงินได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี "มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่" ความโอบอ้อมอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในชุมชนลดลง ความเห็นแก่ตัวเข้ามาแทนที่ การขยายพื้นที่การเพาะปลูกโดยการบุกรุกทำลายธรรมชาติมากขึ้น ป่าที่เคยเขียวชะอุ่มด้วยพรรณไม้นานาชนิดกลับกลายเป็นที่ทำกิน จนดลายเป็นภูเขาหัวโล้น หน้าร้อนน้ำแห้ง หน้าหนาวหนาวเหน็บจนเจ็บกระดูก หน้าฝนน้ำท่วม ดินพังทลาย ทุกคนแสวงหาเครื่องทุ่นแรงแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อสนองตัณหาของตนเอง และเพิ่มกำลังผลิตให้ได้มากที่สุด โดยไม่สนใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบนิเศน์ จากคำพูดที่เคยพูดที่ว่า"อยากกินผักให้เข้าป่า อยากกินปลา กบ เขียดให้หาตาม หนอง คลอง บึง" กลับกลายเป็น"อยากกินผักให้ไปซื้อร้านลุงมา อยากกินปลาให้ไปซื้อร้านยายแมว" จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตและแนวคิดของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงไม่เหลือเค้าโครงของการใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง การให้ การแบ่งปันหรือความเสียสละลดลงกลายเป็นสังคมที่เห็นแก่ตัว เป็นสังคมที่อยู่ได้เพราะ​​​​​​" เงิน" มือใครยาวสาวได้สาวเอา อยู่แบบตัวใครตัวมัน ทำให้วิถีชีวิตและวิธีคิดของคนในปัจจุบันถูกครอบงำด้วยคำว่า​​​​​​" อยาก, เห็นแก่ตัว, ไร้จิตสำนึก" ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแบบอย่างและถูกซึมซับปลูกฝังให้เป็นมรดกถ่ายทอดไปยังลูก หลาน และอนุชนคนรุ่นหลังที่โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

Advertisement

Advertisement

ภาพประกอบโดย ผู้เขียน

ชีวิตไม่มีใครสามารถอยู่ได้โดยลำพัง ตัวคนเดียว ครอบครัวเดียว หรือชุมชนเดียว ทุกชีวิตต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดถึงทรัพยากรธรรมชาติเพราะต่างจุนเจือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเสมอ หากสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้รับผลกระทบจะส่งผลกระทบไปอีกหลายๆ สิ่งเป็นลูกโซ่ ดังคำพูดของนักปราชญ์ที่กล่าวไว้ว่า "เก็บดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างจะมีความเชื่อมโยงกันเสมอ ในโลกนี้จะไม่มีสิ่งใดเด่นหรือสิ่งใดด้อยไปกว่ากัน ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีความสำคัญกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกันและกันตลอดเวลา

"สังคมใดมีวิถีชีวิตแบบพอเพียง มีวิธีคิดที่พร้อมจะให้และพร้อมที่จะแบ่งปัน เชื่อว่าสังคมนั้นจะเป็นสังคมแห่งสันติสุขโดยแท้จริง"

ภาพประกอบโดย ผู้เขียน

(ภาพทั้งหมดโดยผู้เขียน)​

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์