อื่นๆ

ศาลเตี้ย กับ ความ(ไม่)ยุติธรรม EP.1

137
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ศาลเตี้ย กับ ความ(ไม่)ยุติธรรม EP.1

ความไม่ยุติธรรม คือ สิ่งที่ไม่สามารถให้ การตัดสิน/การพิพากษา ที่เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามบริบทแบบต่าง ๆ ได้

ความยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นจะมีอยู่ 2 อย่างหลักๆ

ความยุติธรรม, รูปปั้น, ผู้หญิงความยุติธรรม

ความยุติธรรมตามธรรมชาติ (Natural justice) , ความยุติธรรมตามกฏหมาย (Legal justice) สิ่งเหล่านี้ย่อมมีความยุติธรรมแบบในของตัวเองตามบริบทในแบบต่างๆ แต่ในกรณีศาลเตี้ยนั้นคือความ(ไม่)ยุติธรรม นั้นหมายความว่า “มันเป็นโครงสร้างนึงที่มันถูกก่อตัวขึ้นมาเพื่อการตัดสินที่(ไม่)ยุติธรรมตามสังคม” โดยตัวศาลเตี้ยเองนั้นเกิดจาก Social sanction ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดทิศทางทางสังคมและการควบคุมทางสังคมให้อยู่ภายใต้กรอบระเบียบของคนส่วนใหญ่ ในปัจจุบันสิ่งที่เรียกว่า “คนส่วนใหญ่” มันคือ ความพยายามในการสร้างตรรกะของความเสมอภาคอย่างนึงแต่จริง ๆ แล้วมันเป็นไปไม่ได้เลยในสังคมไทย เนื่องจากรูปแบบริบท และ สภาวการณ์ในสังคมไทยปัจจุบันมันไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างตรรกะของความเสมอภาคที่ยอมรับความแตกต่าง เอกลักษณ์อื่นที่มันประกอบสร้างสังคมขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่ในฐานะพหุนิยม(Pluralism) แต่เป็นฐานะการรวมเป็นหนึ่งที่ยอมรับการดำรงอยู่ของเอกลักษณ์เชิงลบและเชิงบวกต่อ สังคม และ วัฒนธรรม

Advertisement

Advertisement

ภาพโดยผู้เขียน

โดยอนึ่งแล้วการเกิดเอกลักษณ์ต่าง ๆ ในสังคมไทยที่เป็นผลลัพธ์ของโครงสร้างสังคมเอง มักจะถูกตั้งคำถามในทั้งเชิงการมองโลกแบบสามัญสำนึก และ ถูกตั้งคำถามในเชิงวิพากษ์โดยต้องถูกตั้งคำถาม “ผ่านโลก” ของตัวเอง ทั้งนี้ความยุติธรรมจึงไม่ได้เกิดแค่จากธรรมชาติของมนุษย์ที่มนุษย์อยู่เหนือการควบคุมจากม่านแห่งอวิชชา(Veil of ignorance) นั้นเป็นเรื่องที่เกินขอบเขตของความยุติธรรมที่จะสร้างเสาหลักของสังคม ฉะนั้นความยุติธรรมมันจึงมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่เป็น ‘บรรทัดฐาน’ ของมนุษย์ นั้นหมายความว่า “มนุษย์นั้นได้สถาปนาความยุติธรรมเป็นคุณสมบัตินึงที่มนุษย์ทุกคนพึงมีเสมอ” เพื่อเป็นเสาหลักของสังคมซึ่งแน่นอนว่าหัวใจสำคัญของความยุติธรรมเริ่มต้นที่รัฐธรรมนูญ

ภาพโดยผู้เขียน

เมื่อหากเรากล่าวถึง “ศาลเตี้ย” มันเป็นสิ่งตรงข้ามจากการความยุติธรรมในฐานะที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สถาปนาขึ้นเพื่อความยุติธรรมตัดสิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการทางนิตินัย ที่เป็นความชัดเจนเพื่อความยุติธรรม เพราะ ทั้งนี้ทั้งนั้นกฏเกณฑ์และชุดระเบียบ ข้อบัญญัติต่าง ๆ มันมี ‘บรรทัดฐาน’ ที่ซึ่งเป็นทางการมากกว่าและเป็นตัวชี้วัดได้มากกว่า ในขณะเดียวกันศาลเตี้ยมันคือ ‘บรรทัดฐานใหม่’ ที่ไม่เป็นทางการมันถูกก่อรูปจากการ Resignification หรือ การผลิตสร้างความหมายใหม่ ที่ซึ่งเป็นฐานคิดเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นนึงในสังคมที่มีไว้ในการควบคุม และ เกิดการถกเถียง เพื่อสร้างกรอบการกำกับควบคุม พฤติกรรม คตินิยม รูปสัญญะ และ ฐานคิดใหม่ ที่ในภายภาคหน้ามันจะเป็นปัญหาใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในฐานคิดแคบ ๆ อย่างเดียวในการมองปัญหาว่ามันเกิดจากเรื่องในเชิงสถาบันอย่างเดียว แต่มันคือโครงสร้างปัญหาที่มีที่มาที่ไปและต้องการศาสตร์เพื่ออธิบาย วิพากษ์ตีความหมาย เพื่อให้มันสามารถถ่ายทอดองค์ประกอบให้เรารับทราบผ่านปัญหาเหล่านั้นได้ ฉะนั้นแล้ว “ศาลเตี้ย” จึงเป็นองค์ประธานนึงที่ผลิตสร้างความหมายใหม่ต่อสังคม มากกว่าเป็นองค์ประกอบนึงในสังคมที่เป็นตัวแทนเสียงของคนกลุ่มๆนึงที่สนับสนุน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามศาลเตี้ยนั้นมีความไม่ยุติธรรมในตัวเองอยู่แล้วในฐานะที่เป็นองค์ประธานที่มีคุณสมบัติแบบนั้น แต่ไม่ใช่ว่าการนำเสนอข้อเท็จจริงบางอย่างมันจะไม่ถูกต้องเสมอไป(ให้เข้าใจง่ายกว่านั้นก็คือ “มันเชื่อถือไม่ได้” เพราะ บรรทัดฐานของมันไม่ได้มีความเป็นทางการในแง่ของความเป็นกฏเกณฑ์ของสังคมคนส่วนใหญ่)

Advertisement

Advertisement

ภาพโดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์