ไลฟ์แฮ็ก

สร้าง Character ตัวละคร ให้สมบูรณ์เหมือนมีชีวิตจริงด้วย 7 ขั้นตอน

38.9k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สร้าง Character ตัวละคร ให้สมบูรณ์เหมือนมีชีวิตจริงด้วย 7 ขั้นตอน

Character ตัวละคร

7 ขั้นตอนการออกแบบตัวละครการออกแบบ Character Profile ให้ตัวละครสมบูรณ์เหมือนมีชีวิตจริง

  1. ลักษณะภายนอก (Appearance)
    เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก สีผิว ผม ดวงตา จุดเด่นหรือจุดสังเกตภายนอก เช่น หนุ่ม อายุ 32 ปี สูง 185 ซม. น้ำหนัก 75 ผิวขาว ดวงตาสีน้ำตาล
  2. ลักษณะนิสัย (Characteristic)
    บุคลิกเฉพาะของตัวละครตัวนี้ หรือบุคลิกภาพที่แสดงให้เห็นว่าเป็นคนอย่างไร
    เทคนิคส่วนตัว : วิธีการวิธีเคราะห์ลักษณะนิสัยง่าย ๆ คือ การใช้ Key Word คำว่า ลุค แล้วนำลุคที่เลือกให้กับตัวละครไปขยายความเป็นลักษณะนิสัย เช่น หนุ่มลุคเนี้ยบ ดูเข้มขรึม ความเป็นผู้ใหญ่ มีมาดความเป็นผู้นำและดูจริงจังใส่ใจรายละเอียด ผู้ชายคนนี้ถ้าหากได้มีของสำคัญที่ชอบหรือรักเขาจะดูแลของสิ่งนั้นเป็นอย่างดี แอบมีมุมที่โรแมนติกและอ่อนโยน
  3. ทัศนคติ (Attitude)
    ลักษณะภายใน ความรู้สึกนึกคิด วิธีการมองโลกของตัวละคร มุมมองการตัดสินใจของตัวละคร ปฏิกิริยาการนึกคิดที่มีต่อสถานการที่ตัวละครกำลังเผชิญ เช่น เป็คนมองโลกในแง่ดีบนพื้นฐานความเป็นจริง มีความยุติธรรม ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เก่งบริหารงาน ตัดสินใจเร็ว และในบางครั้งก็แอบมีมุมที่ชอบเบ่งอำนาจจนคนรอบตัวรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยสบายใจ
  4. คำพูด (Speech)
    เรื่องของลักษณะของการพูดนั้น จำเป็นต้องกำหนดขึ้นมาเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ตัวละครมีความเด่น ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รสนิยมการพูด จังหวะ ยกตัวอย่างการภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของตัวละคร เช่น ตัวละครสาวใช้ภาษาวัยรุ่น พูดจาแป๊ว เสียงขึ้นจมูก จังหวะช้าเร็วสลับไปมา, ตัวละครหนุ่มมาดเท่ ใช้ภาษาสุภาพเป็นทางการ น้ำเสียงชัดเจน ลักษณะการพูดเป็นคนที่กำหนดจังหวะการพูดได้เข้ากับเรื่องที่กำลังพูดถึง ทำให้ผู้ฟังสนใจและตื่นเต้นกับเรื่องราวที่กำลังฟัง หรือ มนุษย์ลุงชอบพูดจาเสียดสีผู้อื่น พูดจาเหมือนมะนาวไม่มีน้ำ จังหวะเร็ว เป็นต้นภูมิหลังตัวละคร
  5. ภูมิหลัง (Background)
    ภูมิหลังของตัวละคร เกิดที่ไหน อดีตเคยเป็นใคร สภาพชีวิต ปม เกิดอะไรขึ้นทำไหมถึงได้ปรากฏตัวในเรื่องราว เช่น เกิดในครอบครัวช่างทำร้องเท้า ได้ทุนไปเรียนมหาลังชื่อดัง เรียนจบได้เข้าทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งด้วยความสามารถในการทำงานที่มุ่งมั่นทำให้เขาได้ขึ้นเป็นระดับรองผู้บริหาร แต่ด้วยเหตุการณ์ที่คู่แข่งซึ่งทำงานในบริษัทเดียวกันใส่ความยัดคดีเท็จ โดยแท้ที่จริงแล้วเขาบริสุทธิ์ ถูกไล่ออกพร้อมถูกฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทำให้เขาต้องกลับมาหาพ่อที่บ้านเกิด และช่วยดูแลกิจการช่างทำร้องเท้าของพ่อ
  6. บทบาทสำคัญ (Role)
    บทบาทหลักๆ ในเรื่อง พระเอก นางเอก เพื่อนพระเอก ผู้ร้าย และหน้าที่สำคัญที่ต้องทำในเรื่อง มีเป้าหมายอะไรในเรื่อง  เช่น เป็นพระเอก เก่งบริหารแต่ต้องมาเป็นช่างทำรองเท้า  เป้าหมายต้องการสร้างธุรกิจรองเท้าชื่อดังให้เทียบเท่ากับบริษัทเดิมตัวละครของคุณคือใคร
  7. ความสัมพันธ์กัน (Associate)
    ตัวละครมีความสัมพันธ์กับใครบาง จะช่วยในเรื่องของแรงจุงใจของตัวละคร ความรู้สึกของตัวละครเมื่อต้องสนทนากับตัวละครแต่ละตัว เช่น พระเอก →  มีผู้ช่วยเป็นพ่อที่ยังดูกระชับกระเฉ่งช่วยสอนงาน หรือ พระเอก → คู่กรณี → นางเอก เป็นน้องสาวคู่กรณี

Advertisement

Advertisement

สุดท้ายในเรื่องของการสร้างตัวละคร ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กลับผู้ที่กำลังสนใจสร้างตัวละคร ให้มีความสมบูรณ์เหมือนมีชีวิตจริงนะคะ
เป็นกำลังใจให้พี่น้องนักเขียนทุกคนค่ะ

ศิรา..ขอบคุณค่ะ Love LoveCr.สร้างผลงานภาพสวย ๆ ได้ที่ https://www.canva.com/ นะคะ

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
SIRA
SIRA
อ่านบทความอื่นจาก SIRA

สวัสดีนะคะ แวะมาอ่านบทความเป็นกำลังใจให้นักเขียนตัดน้อยๆ ด้วยนะคะ 🌻

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์