อื่นๆ
สร้างโลกใหม่ ไร้พลาสติกย่อยยาก ด้วยพลาสติกชีวภาพ

ในปี 2020 นี้ นอกเหนือจากเทคโนโลยีแล้ว อีกอย่างที่กำลังมาแรงก็คือ “กระแสรักษ์โลก” หรือ “เทรนด์รักษ์โลก” ส่งผลให้หลาย ๆ ประเทศ และหลายองค์กรต้องออกมาตรการมาปรับตัวเพื่อให้เข้ากับเทรนด์รักษ์โลก โดยที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก หรือการลดการใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างที่ทราบกันดีว่าพลาสติกหลายประเภท ใช้ง่าย ทิ้งก็ง่าย แต่ข้อเสียที่โดดเด่นของพลาสติกคือไม่สามารถย่อยสลายได้ หรืออาจจะใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีกว่าจะย่อยสลายไปเองได้ ดังนั้น ผลกระทบจึงไม่ใช่แค่ทำลายสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่หากมีการกำจัดพลาสติกเหล่านี้ด้วยการเผาทำลาย ก็จะเท่ากับเราได้ปล่อยสารเคมีไปสู่อากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้พลาสติกเหล่านี้ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้อีกด้วย อย่างที่เคยได้ยินข่าวบ่อย ๆ คือ สัตว์น้ำบางชนิด ได้กินพวกพลาสติกนี้เข้าไป ทำให้เสียชีวิตได้
Advertisement
Advertisement
จากเทรนด์รักษ์โลกนี้เอง ส่งผลให้พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) มีความต้องการขยายตัวมาก โดยเฉพาะตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีอัตราความต้องการขยายตัวขึ้นเป็นอย่างมาก
พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) คืออะไร
พลาสติกชีวภาพ คือ พลาสติกที่ผลิตหรือใช้ส่วนผสมในการผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรหรือจากธรรมชาติ ซึ่งพลาสติกเหล่านี้สามารถย่อยสลายตัวได้ในทางชีวภาพ
ปัจจุบันการผลิตพลาสติกมักจะนำส่วนประกอบจากธรรมชาติมาร่วมด้วย เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย แป้ง ข้าวสาลี เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีคล้ายโพลิเมอร์ และทำให้พลาสติกมีคุณสมบัติในการย่อยสลายทางชีวภาพได้
ตอนนี้ในบ้านเรา ก็มีการนำ Bioplastic มาใช้กันบ้างแล้ว แต่การนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศมาฉีดขึ้นรูป จะมีราคาแพงกว่าเม็ดพลาสติกที่ได้จากปิโตรเคมี 5-6 เท่า ด้วยเหตุที่ราคาต้นทุนสูง พลาสติกชีวภาพจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ขณะนี้จึงมีหน่วยงานที่พยายามลงทุนทำ Bioplastic แบบครบวงจรใช้เอง เพราะวัตถุดิบที่ใช้ผลิตในบ้านเราก็มีพร้อม
Advertisement
Advertisement
Bioplastic ที่ผลิตได้นั้น สามารถนำไปผลิตสินค้าได้ทุกอย่าง เหมือนกับพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ช้อน ชาม แก้วน้ำ แก้วกาแฟ ถุงใส่ของ เป็นต้น และทั้งหมดนี้สามารถย่อยสลายได้เมื่อนำไปฝังดิน หรือการทำให้โดนแสงยูวีในระยะเวลานาน พลาสติกชีวภาพบางอย่าง เช่น ถุงพลาสติก ก็อาจใช้เวลาเพียง 3-6 เดือน ก็สามารถย่อยสลายได้
ในอนาตต การผลิตพลาสติกชีวภาพ จะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผลทางการเกษตร ช่วยลดก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ทำให้โลกร้อนลงไปได้ และยังเป็นทางออกที่ทำให้ขยะพลาสติกหายไปจากโลกของเรา ในอนาคตพลาสติก หรือขยะจากพลาสติกจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป เพราะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติเช่นเดียวกับวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะมาร่วมมือกันลดการใช้พลาสติกจากปิโตรเคมี และหันมาใช้พลาสติกทางเลือกประเภทพลาสติกชีวภาพแทน เพื่อที่เราทุกคนจะเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์รักษ์โลก
Advertisement
Advertisement
ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
ข้อตกลงและเงื่อนไข|Copyright © True Digital & Media Platform Company Limited. All rights reserved