อื่นๆ
สูตรปุ๋ยเพิ่มผลผลิตสำหรับยางพารา
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการส่งออกยางพารามูลค่ากว่า 175,978 ล้านบาท เติบโตกว่า 61% ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งโดยส่วนมากการปลูกยางพาราจะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศไทยกว่า 22 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศไทย ผลผลิตรวม 4,500,000 ตัน โดยมีพื้นที่ที่เปิดกรีดแล้ว 19 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 86 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมดในประเทศ
แต่การที่จะเก็บเกี่ยวได้ในปริมาณมากในทุก ๆ ปี การใส่ปุ๋ยจึงจำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิตเป็นอย่างมาก แต่การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง ควรคำนึงถึงสภาพดินของเราเสียก่อน บางที่ดินเป็นกรดมาก ด่างมาก การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้ก็ไม่ค่อยได้ประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เนื่องจากดินยังไม่พร้อมกับการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช หรือพูดง่าย ๆ คือ ดินยังป่วยอยู่ครับ ดังนั้นต้องรักษาดินให้หายป่วยก่อน โดยการใช้ปูนขาว กรณีดินเป็นกรด ใช้แอมโมเนียซัลเฟต กรณีดินเป็นด่าง เมื่อค่า pH อยู่ในสภาวะปกติ ประมาณ 5.5-7
Advertisement
Advertisement
การเก็บเกี่ยวผลิตผลิตของยางพาราจะอยู่ในรูปน้ำยาง เป็นของเหลว โดยกรีดออกตามลำต้น ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจริญเติบโตของลำต้น ดังนั้นสูตรปุ๋ยสำหรับยางพารากรีดแล้วจะใช้ไนโตรเจนเยอะ เพื่อบำรุงใบและลำต้น รองลงมาจะเป็นเป็นโพแทสเซียม และฟอสฟอรัส โดยจากงานวิจัย ดินที่ปลูกยางพาราส่วนมากจะขาดไนโตรเจนเยอะ รองลงมาจะเป็นเป็นโพแทสเซียม และฟอสฟอรัส เช่นเดียวกัน ซึ่งขาดในปริมาณตามสูตร 20-5-15 อัตราการใส่ 600 กรัม/ ต้นใส่ช่วงต้น-ปลาย ฤดูฝน จะเห็นได้ว่าฟอสฟอรัสมีการสูญเสียค่อนข้างน้อย ส่วนไนโตรเจนสูญเสียเยอะสุด ซึ่งเกษตรกรสามารถนำตัวอย่างดินในแปลงของท่านไปตรวจธาตุอาหารกับกรมพัฒนาที่ดิน แล้วเขาจะรายงานผลว่าเราควรปรับปรุงดินยังไง ต้องเพิ่มธาตุอาหารในปริมาณเท่าไหร่
ดังนั้น การใส่ปุ๋ยควรคำนึงถึงหลาย ๆ อย่างด้วยกัน ทั้งสภาพความเป็นกรด-ด่างในดิน ปริมาณธาตุอาหารที่ขาด เพื่อให้สามารถใส่ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Advertisement
Advertisement
ภาพปก: เจ้าของบทความ
ภาพที่ 1-4 : เจ้าของบทความ
*STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"*
ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`
คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkq
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQ
ร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 11 สิงหาคม 2565
เล่าเรื่องราวประสบการณ์ ท่องเที่ยว ทำอาหาร และการเกษตร
ความคิดเห็น