อื่นๆ

หนังสือเล่มเก่า "นักอ่านผู้ยิ่งเล็ก"มาสู่ "ความสุขของกะทิ"

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
หนังสือเล่มเก่า "นักอ่านผู้ยิ่งเล็ก"มาสู่ "ความสุขของกะทิ"

ในวันที่เราหยิบหนังสือเล่มเดิมจากตู้หนังสือกลับมาอ่านอีกครั้งนึง ตอนนี้ปรับตารางเวลาตัวเอง เนื่องจากเวลากลางวันต้องเรียนออนไลน์กับเด็กๆ

และทำงานบ้าน งานเตรียมอาหารให้กับเจ้าแฝด ดังนั้นเวลาสงบๆ ที่เหลือคือ หลังจากลูกเข้านอนหรือไม่ก็ช่วงเช้าราวๆ ตี 5 แต่ตอนนี้หลังจากอ่านนิทานก่อนนอนให้เด็กๆฟัง ปิดโคมไฟ รอเด็กๆหลับหรือไม่ก็หลับก่อนเด็กๆ ดังนั้น จึงเปิดช่วงเวลาอ่านหนังสือไว้ 2 ช่วงเพื่อความสะดวกในการอ่านหนังสือ

หลังจากยืนเลือกหนังสือเล่มเดิมที่เคยอ่านจากตู้หนังสือ คล้ายๆกับเจอเพื่อนเก่า การได้อ่านต่างเวลาต่างวาระ ความรู้สึกมันไม่เหมือนกันเลย แต่ก็ยินดีที่ได้เจอเพื่อนเก่าเสมอ ยังเป็นคนที่ไม่ชินกับการอ่านผ่าน E-Book ยังคงชอบหนังสือเล่มไหนก็หยิบแล้วจ่ายเงิน ทันสมัยหน่อยก็ซื้อผ่านเว็บไซต์

รอบนี้เลือกเล่มบางๆ ขนาดกะทัดรัดมาก “นักอ่านผู้ยิ่งเล็ก”ของฟรีฟอร์มสำนักพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2558 ก็นับอายุหนังสือเล่มนี้ก็ 6 ปีกว่าแล้ว จำได้ว่า ซื้อมาเพราะชอบคำนำ และหนังสือเล่มนี้ เป็นการเล่าประสบการณ์การอ่านของนักเขียน ทั้ง 11 คน

Advertisement

Advertisement


นักอ่านผู้ยิ่งเล็ก “หนังสือบางเล่มยังเคยเปลี่ยนชีวิตบางคน หนำซ้ำบางคนก็มี “หนังสือ”นำพาชีวิตให้ผ่านวิกฤต อีกหลายๆคนไม่ยอมทิ้งหนังสือเล่มเก่า ยังหยิบมาอ่านเสมอๆ

แล้วค้นพบความสุขเล็กๆในอดีต” เป็นความรู้สึกที่ตรงกับตอนนี้ของตัวเองมาก ๆ ความเปลี่ยนแปลง ความผันผวนในห้วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่โลกใบนี้เผชิญกับโควิด-19 ชีวิตที่เปลี่ยนไป ความรู้สึกด้านลบต่างๆถาโถม การที่เราต้องเก็บตัวมากกว่าปรกติ บางช่วงเวลามีการล็อคดาวน์

การต้องอยู่ในบ้าน การรักษาระยะห่างทางสังคม การได้หลีกหนีโลกปัจจุบันแล้วกลับไปรำลึกถึงอดีต เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเยียวยาความเจ็บปวดของตัวเอง

หลังจากอ่านหนังสือเล่มกะทัดรัดเล่มแรกจบ แต่พลังการอ่าน ความสุข พลังบวกมันเอ่อล้นขึ้นมา หนังสือเล่มต่อไปที่เราเลือก ยังเป็นเล่มเล็กๆ เช่นเดิม ราวๆ 100 ถึง 200 หน้า แต่รอบนี้หยิบมาพร้อมกัน 3 เล่ม
ความสุขของกะทิ 3 เล่ม

Advertisement

Advertisement


“ความสุขของกะทิ” จากแพรวสำนักพิมพ์ เป็นนวนิยายขนาดสั้นของคุณงามพรรณ เวชชาชีวะ เล่มนี้พิมพ์ครั้งที่ 34 เดือนมกราคม 2550 ได้รับวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ของประเทศไทยประจำปี 2549
ความสุขของกะทิคำนำ “เรื่องราวของกะทิ เด็กหญิงวัย ๙ ขวบที่ต้องผ่านประสบการณ์การสูญเสียครั้งสำคัญที่สุด เมื่อแม่ต้องจากไปก่อนวัยอันควร กะทิได้ผ่านขั้นตอนความสุขและทุกข์

ความผูกพันและการพลัดพราก ความสมหวังและความสูญเสีย ถึงกระนั้น กะทิได้เรียนรู้ว่า ความทุกข์จากการสูญเสียไม่อาจพรากความสุข ความรักและความผูกพันของ    แม่กับเธอได้ เด็กน้อยเติบโตขึ้นจากประสบการณ์นี้ด้วยความเชื่อมั่นและกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปจากบุคคลใกล้ชิด ผู้ที่เธอรักและรักเธอ”

หนังสือเล่มนี้เราอ่านครั้งแรกคือปี 2550 สมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ ยังไม่มีครอบครัว แต่พอกลับมาอ่านในวันนี้ วันที่มีลูกสาวฝาแฝด 2 คน ในความรู้สึกของคนเป็นแม่ที่ต้องจากลูกสาวไป มันช่างปวดร้าวหัวใจ และในสถานการณ์ตอนนี้ที่มีโรคระบาด การจากลากันอย่างกะทันหันโดยไม่ได้เฝ้าไข้ ไม่ได้บอกลา มันจะปวดทรมานปานใด แต่นั่นแหละ การดำเนินชีวิตต้องผ่านการสูญเสีย ผ่านความทุกข์ มีความสุขกับสิ่งรอบตัวให้ได้ ทำให้เราอินกับหนังสือเล่มนี้มาก เพลิดเพลินกับการเล่าเรื่องของกะทิ

Advertisement

Advertisement

คุณตาคุณยาย แม่ของกะทิ พี่ทอง น้าฎา น้ากันต์ ลุงตอง บ้านริมคลอง บ้านชายทะเล บ้านกลางเมือง แต่ละบทสั้นๆ แต่ติดตามทุกตัวอักษร เหมือนอยู่ในเหตุการณ์

"ทิ้งอดีตไว้ให้เป็นเพียงเงา"  "อดีตเหมือนเงาบางครั้งทอดนำทางอนาคต" บางส่วนจากหนังสือ “ความสุขของกะทิ” ปฐมบทของอีก 2 เล่มที่ตามมา

แนะนำอยากให้ทุกท่านอ่าน เสมือนเราได้ไปนั่งๆข้างกะทิ เอาใจช่วย อยากจะกอดปลอบใจกะทิ อยากจะนั่งดูกะทิคุยกับแม่เขา อยากจะหัวเราะไปกับกะทิ

กะทิ เด็กหญิงผู้มีคนที่รักและเอาใจช่วยให้เธอเติบโตขึ้นมาอย่างเข้มแข็งเหมือนกับแม่ที่จากลาไป


พิมพ์ครั้งที่ 100


เครดิตภาพ

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
AomMantana
AomMantana
อ่านบทความอื่นจาก AomMantana

แม่ของหญิงแฝด ผู้รักการอ่านมาก และติดกลิ่นชากาแฟ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์