อื่นๆ

หมอธรรม ศรัทธาความเชื่อและภูมิปัญญา

301
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
หมอธรรม ศรัทธาความเชื่อและภูมิปัญญา

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

อ.อเวจี  เขียน


เวทย์มนต์  อาคม  อาจเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระของคนยุคปัจจุบัน  แต่ใช่ว่าเป็นศาสตร์ที่ไม่มีอยู่จริง  เพียงแต่วิถีชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน  ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และปฏิบัติ  เนื่องจากผู้ร่ำเรียนวิชาเหล่านี้  มีข้อวัตรปฏิบัติหยุมหยิมเล็กๆน้อยๆ  ทำให้ยากต่อการฝึกฝนปฏิบัติตนให้เป็นเลิศ

เดิมที  ดินแดนอีสานใต้  เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขมรสูง  ซึ่งยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์  มีพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผี  มีผู้ทำพิธีกรรมเพื่อช่วยเหลือคนเจ็บป่วยอันเกิดจากการกระทำของผี  เรียกว่า ‘แม่มด’

ภาพโดย skeeze จาก Pixabayภาพโดย skeeze จาก Pixabay

แม่มดจะเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเกือบทุกเรื่อง  ใครป่วย  วัวควายหาย แม่มดเข้าพิธีช่วยเหลือได้ทั้งสิ้น  เรียกว่าเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ

เวลาต่อมา  มีชาวลาว (ในที่นี้ทั้งเขมรสูงและชาวลาว  หมายถึงคนไทยที่ใช้ภาษาท้องถิ่น) อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากแถวร้อยเอ็ด  ยโสธร  อุบลราชธานี  เข้ามาอยู่ปะปนกับชาวเขมรสูง บางส่วนก็แต่งงานกับคนท้องถิ่นเดิม  จนกระทั่งปัจจุบันนี้  ทั้งชาวลาวและเขมรสูงอาศัยอยู่ปะปนกันหมดแล้ว

Advertisement

Advertisement

กระทั้งชาวท้องถิ่นทั้งสอง  ก็ยังไม่กลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสียทั้งหมด  เพราะประเพณีและความเชื่อบางอย่างยังแตกต่างกัน  ชาวเขมรสูงยังคงให้การนับถือ ‘แม่มด’ ขณะที่ผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในแถบอีสานใต้กลุ่มใหม่นับถือ ‘หมอธรรม’

ภาพโดย S. Hermann & F. Richter จาก Pixabay

ภาพโดย S. Hermann & F. Richter จาก Pixabay

แม่มดและหมอธรรมมีความคล้ายคลึงอยู่อย่างหนึ่ง  คือ  เป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณของชาวบ้าน  ความเหมือนอีกอย่างก็คือ  ทั้งแม่มดและหมอธรรม กำลังจะหมดไปจากสังคมท้องถิ่น  เพราะเป็นการยากที่จะมีคนรุ่นหลังสืบทอด

ในที่นี้จะกล่าวถึง ‘หมอธรรม’

‘หมอธรรม’ เป็น ‘วิชา’ อย่างหนึ่ง  เพื่อรักษาคนเจ็บป่วยอันเกิดจากการรังควาญของภูตผีสัมภเวสีทั้งหลาย  รวมทั้งเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อของชาวไทยอีสาน

ผู้ที่จะเป็นหมอธรรมได้  มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส  หากเป็นฆราวาส  ส่วนใหญ่เป็นผู้เคยผ่านการบวชมาหลายพรรษาถึงขั้นชาวบ้านเรียกขานว่า ‘จารย์’ หรือ ‘อาจารย์’

Advertisement

Advertisement

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

แน่นอนที่สุดว่า  อาจารย์  ย่อมเป็นผู้มีวัตรปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมอันดีงาม  การมีศีลเป็นเบื้องต้น  อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของวิชา ‘หมอธรรม’ นั่นเอง

หมอธรรมเป็นที่พึ่งของชาวบ้านถิ่นอีสานตั้งแต่โบราณมาแล้ว  แต่การจะมีใครสักคนสืบทอดวิชาหมอธรรม  เป็นเรื่องยากมาตั้งแต่ไหนแต่ไร  เนื่องจากคนที่ฝักใฝ่และสามารถประพฤติวัตรปฏิบัติให้ได้อย่างเคร่งครัดนั้น  มีน้อยมาก

การนับถือหมอธรรมของชาวบ้าน  จะยังมีอยู่  และไม่ใช่เรื่องผิดหรือเสียหาย  ตรงกันข้าม ความเป็นคนอยู่ในศีลในธรรม อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของผู้ที่จะเป็นหมอธรรมอาจเป็นการ ‘สอน’ ให้ชาวบ้านเอาอย่างได้  โดยไม่จำเป็นต้องสอน

เชื่อได้ว่า  การนับถือหมอธรรมจะยังไม่จางหายไปกับกาลเวลา  แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ บุคคลที่จะสืบทอดวิชาหมอธรรม  คงหาได้ยากยิ่งเต็มที...

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์