อื่นๆ

หลวมตัวได้ซิ่วอยู่บ้านทำไงดี!!! ข้อปฏิบัติและสิ่งที่พึงระวัง

643
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
หลวมตัวได้ซิ่วอยู่บ้านทำไงดี!!! ข้อปฏิบัติและสิ่งที่พึงระวัง

เราจะได้ยินคำว่า “ซิ่ว” บ่อยๆในแวดวงการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือการเรียนต่อต่างๆ  ซึ่งหลายๆคนอาจจะคิดว่าการซิ่วนั้นเป็นการเสียเวลาและเสียโอกาสในชีวิตหลายๆอย่าง เรียกได้ว่ามุมมองที่มีต่อเด็กซิ่วนั้นแทบจะไม่ค่อยดูดีเท่าไหร่ แต่หากมองในอีกมุมนึงว่าหากเราฝืนเรียนในสิ่งที่เราไม่ได้ชอบนั้น เราก็ต้องทนเรียนกับสิ่งๆนั้นไปหลายปีจนกว่าจะเรียนจบ ซ้ำร้ายที่สุดอาจจะกระทบไปจนถึงอาชีพการงานในอนาคต ดังนั้นการที่เราตัดสินใจซิ่วนั้นก็ไม่ใช่ทางเลือกที่แย่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนอยู่อีกคณะนึงแล้วซิ่วออกมาเพื่อเปลี่ยนขณะ หรือ การที่สอบไม่ติดในคณะและมหาวิทยาลัยที่หวังไว้จึงซิ่ว มาเก็บตัวอยู่บ้านเพื่อเตรียมพร้อมในการสอบปีถัดไป  ซี่งในบทความนี้จะขอนำเสนอข้อปฏิบัติและสิ่งที่พึงระวังต่างๆ  ในกรณีที่พี่ๆเพื่อนๆน้องๆนักเรียน นักศึกษาทุกท่านที่ได้ซิ่วมาเตรียมสอบอ่านหนังสืออยู่บ้าน ได้นำไปปรับใช้ดังนี้

Advertisement

Advertisement

1. คำนวณเวลาให้ดี อย่าประมาทเวลาเด็ดขาด!

ภาพหนังสือเวลาในการเตรียมสอบ 1 ปี หรือก็คือ 12 เดือน ในการอ่านหนังสืออยู่บ้านเพื่อเตรียมสอบในปีถัดไป แค่คำนวณก็รู้สึกได้เลยว่าช่างมีเวลาในการเตรียมตัวนานเหลือเกิน ยังไงก็ติดแน่นอน ซึ่งในจุดนี้จะทำให้เด็กซิ่วหลายๆคนเกิด “ความประมาท” ขึ้นมาเพราะเห็นว่ามีเวลาอีกตั้งหลายเดือนกว่าจะสอบ กว่าจะเริ่มอ่านหนังสือเพื่อสอบใหม่ ก็อาจจะเสียเวลาไปกับสิ่งต่างๆไปหลายเดือน ซึ่งมาตั้งใจจริงๆในไม่กี่เดือนสุดท้ายก็อาจจะไม่ทันเสียแล้ว จนต้องวนลูปซ้ำมาซิ่วเตรียมสอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ปล่อยให้เกิดขึ้น

"ซึ่งในข้อนี้ก็มาจากประสบการณ์การซิ่วของผู้เขียนเองที่คิดว่าเหลือเวลาในการเตรียมสอบเยอะแต่ไม่คำนึงถึงความยากและเวลาในการเตรียมตัวแต่ละวิชาให้ดีพอ ประมาทปล่อยปละเวลาให้เสียไปหลายเดือน จนต้องซิ่วมาอ่านเตรียมสอบใหม่ถึง 2 ครั้ง" ดังนั้น ผู้เขียนขอแนะนำว่า หากตั้งใจว่าจะซิ่วแล้วขอให้เริ่มตั้งใจอ่านตั้งแต่เดือนแรกหลังจากตัดสินใจเลย จะได้ไม่ไฟลนก้น และไม่รู้สึกเสียดายเวลาและโอกาสในภายหลัง

Advertisement

Advertisement

2. วางแผนดี มีชัยไปเกือบเต็ม!!

กระดานงานอ่านไม่ผิดครับ!! หากเราเตรียมพร้อมและวางแผนการอ่านหนังสือให้ดี ไม่ใช่แค่มีชัยไปกว่าครึ่งแต่มีชัยไปเกือบเต็มเลยแหละ  เริ่มจากดูว่าคณะและมหาวิทยาลัยที่เราอยากเข้า สามารถใช้คะแนนจากรอบการสอบไหนได้บ้าง ต้องใช้วิชาไหนไปสอบ จากนั้นเริ่มวางแผน แบ่งวัน แบ่งเดือนเลยครับ ว่าเดือนนี้จะอ่านวิชาอะไรบ้าง เรียงลำดับความสำคัญของแต่ละวิชาให้ดีเพราะบางคณะบางมหาวิทยาลัย ใช้เกณฑ์คะแนนบางวิชาไม่เท่ากัน และต้องวางแผนการอ่านให้พอดีพอเหมาะกับเรา อย่าอัดความรู้ในแต่ละวันมากเกินไป  เพราะเราจะใช้ประโยชน์จากการที่มีเวลาเตรียมตัวเยอะ ฝึกทำโจทย์และท่องจำวิชาต่างๆทุกวันสะสมไปอย่างเป็นระบบ

ในข้อนี้มาจากประสบการณ์ช่วงที่ผู้เขียนได้ซิ่วในปีแรกและได้อ่านหนังสือโดยไม่ได้กำหนดแบบแผนซึ่ง ข้อสอบที่ต้องสอบคือ ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ซึ่งต้องอ่านทั้ง 7 วิชาให้พอดีกับเวลา12 เดือน การที่ไม่วางแผนเลยนั้นส่งผลให้ไม่สามารถบาลานซ์จำนวนวิชากับจำนวนเวลาที่เหลือได้ จึงทำให้เกิดการ "อ่านไม่ทัน" ในที่สุด ดังนั้นผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ทำตารางอ่านหนังสือให้เป็นไปตามกำหนดการ บาลานซ์วิชาที่ถนัดและไม่ถนัดให้พอดีกับเวลาที่เหลือ มีวินัยในการอ่านอย่างเคร่งครัด และ อย่าลืมว่ายิ่งเริ่มไวเราก็ยิ่งเป็นผลดีต่อตัวเองในอนาคตเช่นกัน

Advertisement

Advertisement

3. ฝึกทำโจทย์และจำลองการสอบอย่างสม่ำเสมอ

เขียนงานสิ่งที่จะทำให้เราพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ก็คงไม่พ้นการพัฒนาจากความผิดพลาดของตนเอง ดังนั้น สิ่งที่จะแก้ปัญหาตรงนี้ได้คือการฝึกทำโจทย์นั่นเอง  ในช่วงฝึกนั้นผิดเยอะผิดน้อยไม่เป็นไร แต่เราต้องเก็บข้อผิดพลาดจุดบกพร่องในแต่ละวิชาให้ได้มากที่สุด การทำโจทย์อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้อง “จับเวลา” จากประสบบการณ์ในช่วงที่ซิ่วของผู้เขียนนั้นทั้งตัวผู้เขียนและเพื่อนๆที่ซิ่วด้วยกันนั้นทำข้อสอบแบบจับเวลาน้อยครั้งมากส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การอ่านและทำแบบฝึกหัดตามที่เรียนพิเศษเท่านั้น ซึ่งมาฝึกทำข้อสอบจับเวลาอย่างจริงจังในช่วงที่เหลือไม่กี่เดือนแล้ว แน่นอนว่าฝึกไม่กี่เดือนนั้นไม่มีทางทันครับ การฝึกทำข้อสอบนั้นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับเด็กซิ่วนั้นผู้เขียนแนะนำให้ทำทุกวันอย่างน้อย 2 ชุดๆละวิชาและเผื่อเวลาที่เหลือในการเฉลย เนื่องจากว่าข้อสอบในปัจจุบันนั้นแทบจะเป็นแนว speed test ทั้งหมด แค่ทำให้ทันก็แทบจะใช้เวลาทั้งหมดแล้ว ไหนจะต้องเผื่อเวลาตรวจทาน หากทำข้อใดข้อหนึ่งนานเกินก็ไม่มีทางทำข้อสอบข้ออื่นๆทันแน่นอน ดังนั้นผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ฝึกจับเวลาทำข้อสอบเพื่อจำลองสถานการณ์ในตอนสอบ เมื่อถึงคราวที่ต้องสอบจริงๆจะได้ลดความเกร็ง ความตื้นเต้นลงได้ และสามารถบริหารเวลาในแต่ละข้อได้ “อย่าลืมนะครับ...ฝึกทำโจทย์นี่แหละที่เป็นหัวใจสำคัญที่จะนำพาเราเข้าคณะที่หวังได้...ยิ่งทำเยอะยิ่งได้เปรียบนะครับ”

4. โทรศัพท์ หนัง เกมส์ ลด ละ เลิกซะ ถ้าอยากสอบติด

คีย์บอร์ด

สื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ หนัง เกมส์ นั้นต่างก็มีประโยชน์ของมัน  แต่ถ้าหากจัดเวลาไม่ดีพอสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงที่จะดูดเวลาชีวิตและเวลาในการอ่านหนังสือของเหล่าผู้เตรียมสอบไปอย่างมหาศาล “ในช่วงที่ผู้เขียนซิ่ว ผู้เขียนเองก็เป็นเด็กซิ่วที่ไม่สามารถตัดใจไปจากเกมส์ หนัง การแชทได้ ซึ่งการที่เราเสียเวลาไปกับสิ่งเหล่านี้ไปหลายๆชั่วโมงแทนที่จะได้มานั่งอ่านหนังสือเตรียมสอบนั้นไม่คุ้มค่ากับเวลาที่อุตส่าห์ตั้งใจซิ่วไปเลยครับ จนในช่วงท้ายปีของการซิ่วนั้นถึงคิดได้ว่าหากเอาเวลาที่เล่นเกมส์ไปอ่านหนังสือ คะแนนในการสอบคงจะดีไม่น้อย  ดังนั้น หากตัดสินใจซิ่วแล้ว ผู้เขียนขอแนะนำว่าให้ตัดใจจากสิ่งเหล่านี้ ลดเวลาการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวันละ 30 นาทีพอ ให้คิดเสมอว่าใน 1 ปี สามารถเล่นเกมส์ตอนไหนก็ได้ แต่การสอบใน 1 ปีมีครั้งเดียว และการประกาศคะแนนสอบก็มีครั้งเดียว หากไม่ยากที่จะพลาดจนต้องซิ่วหลายครั้ง ต้องลดการเล่นเกมส์ได้แล้วนะครับ

5. ไม่มีใครรู้ใจเราและไม่มีใครรู้ว่าเรากำลังอะไรเท่าตัวเราเอง

ผู้หญิงถูกว่าหนทางในการซิ่วนั้นบางทีก็ต้องโดดเดี่ยว(เพื่อนคนอื่นสอบติดไปหมดแล้ว) ผู้ใหญ่หลายๆคนอาจจะไม่เห็นด้วย อาจจะถูกกระทบกระแทกด้วยคำพูดจากหลายๆคน แต่ขอให้จำไว้ว่าตอนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยจริงๆนั้น คนเหล่านั้นไม่ได้ไปนั่งเรียนกับคุณ ไม่ได้มานั่งเครียดกับเนื้อหาวิชา ไม่ได้มานั่งสอบกับคุณ ดังนั้นพวกเขาจะพูดอะไรก็ได้ ซึ่งบางคนเองก็ไม่ได้รู้ถึงความยากของมันด้วยซ้ำ สักเพียงแต่จะว่าใส่เท่านั้น ฉะนั้นจงอย่าได้ใส่ใจ จงเชื่อมั่นในเส้นทางที่ตัวเองเลือก และเลือกที่จะฟังคนที่คอยสนับสนุนการตัดสินใจอย่างบุพการีเสียจะดีกว่า

จากทุกข้อที่กล่าวมานั้นนำมาจากประสบการณ์การซิ่วถึง2ปีของผู้เขียน ในแต่ละข้อที่กล่าวมานั้นผู้เขียนได้ตระหนักและนำมาปรับใช้ในการซิ่วปีที่ 2 ซึ่งสามารถทำให้คะแนนเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจนในการสอบแต่ละวิชาและสามารถเข้าคณะที่ต้องการได้ในที่สุด ซึ่งผู้อ่านทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ เนื่องจากวิธีการอ่านหนังสือของแต่ละคนนั้นต่างกันแต่จุดหมายปลายทางคือการสอบติดเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากตั้งใจที่จะซิ่วแล้วก็ขอให้ทุกท่านดำเนินการอ่านหนังสือไปตามแผน ไม่หลุดโฟกัสไปกับโทรศัพท์ หนัง เกมส์ และฝึกทำโจทย์สม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถซิ่วได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าคณะที่หวังได้ในที่สุด

เครดิตภาพ :

ภาพปก / congerdesign : Pixabay

ภาพที่ 1 / image4you : Pixabay

ภาพที่ 2 / Startup Stock Photos :Pexels

ภาพที่ 3, ภาพที่ 5 / Monstera :Pexels

ภาพที่ 4 / Soumil Kumar : Pexels

อัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน  App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์