ไลฟ์แฮ็ก

หลักการ "สร้างพล็อตนิยาย" แบบเข้าใจง่ายๆ

3.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
หลักการ "สร้างพล็อตนิยาย" แบบเข้าใจง่ายๆ

สำหรับนักเขียนมือใหม่ที่กำลังสับสนและไม่รู้ว่าจะสร้างเนื้อเรื่องของนิยายอย่างไร ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งการเขียนนิยายหนึ่งเรื่องต้องประกอบไปด้วยโครงสร้างต่างๆ เหมือนกับการสร้างบ้าน ที่เราต้องมีแบบบ้าน และโครงสร้างก่อน ถึงจะได้บ้านที่เราชื่นชอบมาหนึ่งหลัง นิยายก็เหมือนกันที่จะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดต่างๆดังนี้

หนังสือ

องค์ประกอบของนิยาย


การสร้างพล็อตเรื่อง


คือ การสร้างโครงเรื่องเป็นการเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีเหตุการณ์ที่จัดเรียงตามลำดับและเป็นเหตุเป็นผลกัน เหตุการณ์หนึ่งสามารถเป็นผลให้เกิดเหตุการณ์หนึ่งได้

งาน

การวางพล็อตนิยาย


เทคนิค โครงสร้างองก์สามองก์ (Three Act Structure)


โครงสร้าง

จุดเริ่มเรื่อง (Starting Point) 


การเริ่มเรื่อง คือการเล่าเรื่องให้เป็นส่วนที่กระตุ้นแรงจูงใจ สร้างความสนใจให้ผู้อ่านโดยการสร้างข้อมูลของตัวละคร ความสัมพันธ์ต่อกัน รวมถึงสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่พลิกผัน เพื่อที่จะได้รู้ว่าตัวละครอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน มีความคิดความอ่านอย่างไร และมีความต้องการในเรื่องใด  ซึ่งจะเป็นการสร้างเส้นเรื่อง ปูมหลัง ความเป็นมาของตัวละคร เพื่อให้รู้ถึงเรื่องราวของตัวละครก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อไปข้างหน้า อาจจะยกประเด็นความขัดแย้ง ปัญหาให้กับตัวละคร เพื่อที่จะเป็นประเด็นในการสร้างความอยากอ่านของผู้อ่าน

Advertisement

Advertisement

เช่น นางเอก เป็นนักศึกษา อายุ 22 ปี ได้ไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ระหว่างการเดินทางมีการสลับกระเป๋ากับ พระเอก เป็นนักธุรกิจ อายุ 30 ปี ซึ่งนางเอกเป็นแฟนกับเพื่อนของพระเอก แฟนของนางเอกเจ้าชู้ชอบเที่ยวผู้หญิง เลยคิดว่านางเอกก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่หารู้ไม่ว่า นางเอกนี้แหละกำลังจะเป็นคู่หมั้นที่พ่อแม่กำลังจะทำการคลุมถุงชน เพราะพ่อแม่ของนางเอกมีบุญคุณกับครอบครัวพระเอกตอนที่ธุรกิจทางบ้านจะล้มละลาย

บทย่อยหรือตอนย่อย (Subplots)


สร้างทรีตเมนต์


นอกจากพล็อตหลักที่ตัวละครต้องพบเจอ เพื่อดำเนินไปให้ถึงเป้าหมายแล้ว พล็อตย่อยคือสิ่งสำคัญที่จะแสดงความเป็นตัวตน และสภาพแวดล้อมที่ตัวละครต้องเผชิญ และต้องต้องคอยฝ่าฟัน แก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตระหว่างเดินทางไปสู่เป้าหมาย ทั้งหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ และอื่นๆ ทั้งเป็นเรื่องในแง่ดี และแง่ร้าย เพื่อสร้างความน่าดึงดูดแก่นักอ่าน

Advertisement

Advertisement

เป็นการเขียนขยายความในเรื่องย่อแต่ละบท ที่อยู่ในช่วงกลางเรื่อง เป็นช่วงมี่สามารถแทรกรายละเอียดของปมและปัญหา อุปสรรคต่าง ๆเข้าไปได้ เพื่อที่จะทำให้รู้ว่าฉากนั้นทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กับใคร เป็นสิ่งที่ตัวละครจะต้องเผชิญ อาจจะเป็นการเล่าเรื่องถึงการเดินทางของตัวละครหลักว่าไปในทิศทางใด มีเป้าหมายอย่างไร สามารถไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร หรืออาจจะสร้างใจความสำคัญเป็นตอน มีกี่ตอน ตอนละกี่เหตุการณ์ ฉากใดบ้าง ตามลำดับตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

ข้อดีของการสร้างทรีตเมนต์

1.สามารถบรรยายเนื้อเรื่องสำคัญในแต่ละฉากหรือตอนได้ดี

2.สามารถดำเนินเนื้อเรื่องได้มากกว่าอารมณ์ของตัวละคร โดยเป็นการสร้างฉาก สถานการณ์ สถานที่ที่ตัวละครอยู่ รวมถึงการบรรยายความรู้สึกของตัวละคร ได้ตามลำดับ

3.สามารถควบคุมทิศทางของเนื้อเรื่องได้ มีรายละเอียดมากกว่าพล็อต

Advertisement

Advertisement

4.มีรูปแบบการเขียนเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ มีความละเอียด ทำให้นักเขียนทำงานได้ง่าย


สร้างจุดกึ่งกลางเรื่อง ( Midpoint )


เป็นจุดที่สร้างจุดหักมุมของเรื่อง เพื่อที่จะทำให้เนื้อเรื่องไม่ดูน่าเบื่อเกินไป โดยเป็นการสร้างความน่าดึงดูด ความน่าสนใจให้แก่ผู้อ่านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานการณ์ปัญหาให้กับตัวละคร ให้ตัวละครออกจากเซฟโซนของตนเอง แสดงให้เห็นพฤติกรรมใหม่ๆ และแสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาของตัวละคร ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความอยากติดตามอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ตัวเอกประสบกับปัญหาการทำงาน โดยโดนคู่ค้าทำการหักหลัง เป็นต้น

งาน

จุดชนวนปม (Pre Climax)


การสร้างเหตุการณ์ที่เป็นความขัดแย้ง ปัญหาอุปสรรค์ การผูกปมปัญหา เพื่อที่จะให้ตัวละครหลักและรองมีบทบาทมากขึ้น เพราะจะแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาต่อปัญหา การดำเนินเรื่องของตัวละครโดยทิ้งผลกระทบไว้ให้เกิดความค้างคาใจแก่ผู้อ่าน ในแต่ละฉากหรือเหตุการณ์ ให้มีความน่าสนใจแถมยังช่วยรักษาระดับความน่าสนใจได้ดี ทั้งการหักมุม การวางเนื้อเรื่องสู่ความซับซ้อนและทำให้วางเนื้อเรื่องไปสู่ตอนใหม่ตามลำดับเหตุการณ์ ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเส้นเรื่องให้น่าสนใจมากขึ้น ท้าทายความรู้สึกและอารมณ์ของผู้อ่านได้ดี

จุดสุดยอด (Climax)


การสร้างเหตุการณ์ปัญหาใหญ่ให้แก่เนื้อเรื่องที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและปฎิกริยาของตัวละคร เป็นจุดเข้มข้นของปัญหาเหตุการณ์ สร้างเงื่อนงำ ความสนใจ ความตื่นเต้นเร้าใจให้กับผู้อ่าน เป็นการดำเนินเรื่องจุดสูงสุด เป็นการหักมุมที่เกิดผลกระทบกับตัวละคร

เช่น การตายของตัวละครหลัก การแก้แค้น การสร้างความขัดแย้งในครอบครัว

พิมพ์

การคลายปม (Denovement)


การคลายปัญหาและการแก้ไขปัญหาใหญ่ที่สร้างไว้ โดยการขยายความลับหรือการคลี่คลายของปัญหาของเรื่องให้เข้าใจถึงฉากและเหตุการณ์ต่างๆอย่างสมเหตุสมผล อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง แสดงถึงความซับซ้อนทางความคิด หลักความคิดและทัศนคติของของตัวละครที่ใช้แก้ไขปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การจบเรื่องของนิยาย ที่หลังจากคลี่คลายปัญหาทุกอย่างแล้ว ตัวละครมีผลกระทบอย่างไร ตัวละครกลับไปใช้ชีวิตอย่างไร ซึ่งจะเป็นการสร้างความประทับใจและความประหลาดใจให้แก่ผู้อ่านได้ โดยอาจจะจบแบบธรรมดา ปิดแบบหักมุม หรือปิดเรื่องแบบทิ้งปัญหาให้ผู้อ่านได้คิดต่อ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ของการเขียนนิยายเหมือนกัน

เครดิต ภาพปกประกอบ โดย ผู้เขียนบทความ

เครดิต ภาพที่ 1 โดย congerdesign

เครดิต ภาพที่ 2 โดย Darkmoon_Art

เครดิต ภาพที่ 3 โดย PIX1861

เครดิต ภาพที่ 4 โดย 6689062

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
JJKK89
JJKK89
อ่านบทความอื่นจาก JJKK89

สาวกต้นไม้ คลังเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน ซีรีย์ ความบันเทิง น้องแมว

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์