อื่นๆ

เช็คลิสต์ ! เตรียมตัวคุณแม่มือใหม่ สำหรับการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์

2.3k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เช็คลิสต์ ! เตรียมตัวคุณแม่มือใหม่ สำหรับการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์

หนูแฮมสเตอร์ เป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงอยู่มาก โดยคนส่วนใหญ่จะคิดว่าหนูแฮมสเตอร์นั้น ตัวเล็ก ใช้พื้นที่การเลี้ยงน้อย เลี้ยงง่าย แต่ใครจะรู้ว่า หนูแฮมสเตอร์ ต้องการการดูแล พื้นที่ และเอาใจใส่มากกว่าที่คิด

หนูแฮมสเตอร์

อย่างที่ทราบกันดี หากเราได้ไปเลือกซื้อหนูแฮมสเตอร์ด้วยตนเองในร้านที่ไม่ได้มาตรฐาน เขามักจะแนะนำว่า หนูแฮมสเตอร์เลี้ยงง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย น่ารัก ไม่เน้นพื้นที่การใช้งาน ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ เขาจะแนะนำให้เราซื้อหนูแฮมสเตอร์เป็นคู่ชาย-หญิง แล้วบอกว่าน้องจะ 'เหงา'

หนูแฮมสเตอร์ไม่ควรเลี้ยงคู่กันเด็ดขาด การเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์นั้นควรจะเลี้ยง 1 ตัว ต่อ 1 กรงเท่านั้น ยกเว้นในหนูแฮมสเตอร์บางสายพันธุ์เช่น โรโบรอฟสกี้
โดยสาเหตุที่ไม่แนะนำให้เลี้ยงน้องคู่กันเพราะ
1. น้องเป็นสัตว์หวงถิ่นฐาน น้องต้องการสร้างอาณาเขตสำหรับตัวเองเท่านั้น จะทำให้น้องกัดกันจนตายได้
2. น้องอาจจะผสมพันธุ์กันในวัยเด็ก ซึ่งจะเกิดปัญหา แม่กินลูก เพราะเลี้ยงไม่เป็นได้

Advertisement

Advertisement

สิ่งที่ควรเตรียมไว้ก่อนเลี้ยงน้องคือ

- กรงหนูแฮมสเตอร์ ควรจะมีขนาดขั้นต่ำคือ 60x40x40 เซนติเมตรขึ้นไป ซี่กรงเล็กห่างกัน 1 เซนติเมตร หรือจะเป็นตู้กระจก/ตู้อะคิริคก็ได้ แต่ควรจะมีอากาศถ่ายเทมากพอ ไม่อับ ขนาดกรงควรจะใหญ่มากพอ น้องจะได้ไม่เครียด และอึดอัดจนเกินไป

- ลู่วิ่ง ลู่วิ่งที่ดีสำหรับหนูแฮมสเตอร์นั้นควรจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวหนู น้องต้องวิ่งบนลู่วิ่งได้โดยที่หลังไม่งอ ขนาดแนะนำคือ ขั้นต่ำ 19 เซนติเมตรขึ้นไป ลู่วิ่งสำคัญกับน้องหนูแฮมสเตอร์มากเช่นกัน เพื่อให้น้องได้ออกกำลังกาย ได้วิ่งเหมือนเวลาน้องหาอาหารตอนกลางคืน

- ขวดน้ำ ขวดน้ำของน้องต้องเป็นขวดน้ำที่จุกดี ไม่รั่ว ควรเปลี่ยนน้ำสะอาดทุก 3-4 วัน

- รองกรง โดยวัสดุรองกรงที่ดีนั้น ไม่ควรเป็นขี้เลื่อยไม้ เนื่องจากมีฝุ่นเยอะ และขี้เลื่อยเกรดต่ำจะแหลมมาก สามารถบาดผิวน้องได้ แนะนำให้ใช้เป็นก้านปอ หรือพวกเยื่อไฟเบอร์ดีกว่า เนื่องจากมีฝุ่นน้อย และนุ่ม แฮมสเตอร์สามารถใช้ทำรังได้

Advertisement

Advertisement

- ทรายอาบน้ำ ไม่ควรใช้เป็นทรายสีแบบที่เห็นกันตามร้านทั่วไป เนื่องจากเนื้อทรายเป็นเม็ดเล็ก ทำให้น้องสูดดมเข้าไปเยอะ และอาจจะเข้าตาน้องได้ ควรใช้เป็นจำพวกทรายอนามัยเพราะมีเม็ดใหญ่กว่า

ลักษณะขี้เลื่อยที่ไม่ควรใช้ เป็นขี้เลื่อยไม้หยาบ สามารถบาดผิดแฮมสเตอร์ได้

รองกรงที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์ นิ่ม ดูดซับน้ำได้ดี และสามารถขุดทำรังได้

- อาหาร ไม่ควรใช้อาหารจำพวกเม็ดทานตะวันอย่างเดียว หรือพวกเม็ดทานตะวันที่ผสมอาหารนก (ลูกกลมๆสีเขียวใหญ่ๆ) เด็ดขาด นอกจากน้องจะไม่ได้รับสารอาหารแล้ว นั่นอาจจะส่งผลอันตรายต่อชีวิตน้องหนูแฮมสเตอร์ของเราด้วย อาหารของน้องควรมีโปรตีน ไขมัน และไฟเบอร์ ในปริมาณที่พอเหมาะต่อวัน ในจุดนี้แนะนำให้ซื้ออาหารหลายๆยี่ห้อมาผสมกันเองหรือหาซื้อตามเพจที่เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์ก็ได้

- บ้านหนูแฮมสเตอร์ มีไว้เพื่อเป็นจุดเซฟโซนสำหรับหนูแฮมสเตอร์ เพื่อให้เขาได้เข้าไปหลบอันตรายหรือพักผ่อนก็ได้ (อาจจะใช้เป็นบ้านโอ่งดินเผาก็ได้ เนื่องจากเมืองไทยอากาศร้อน โอ่งดินเผากักเก็บความเย็นให้น้องนอนได้อย่างสบาย)

Advertisement

Advertisement

- สิ่งของต่างๆ เช่น ถ้วยเซรามิคขนาดเล็กสำหรับใส่อาหาร ถ้วยสำหรับใช้ทำเป็นห้องน้ำหนูแฮมสเตอร์ ไม้ลับฟัน หรือของเล่นสำหรับน้อง

ทั้งนี้พื้นที่สำหรับวางกรงหนูก็สำคัญเช่นกัน โดยจุดที่เลี้ยงน้องไม่ควรเป็นพื้นที่ๆร้อนมาก หรือเป็นพื้นที่ๆแอร์ตกโดยตรง เนื่องจากแฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่รับอุณหภูมิได้ไว อาจทำให้น้องป่วยหรือตายได้ และควรเป็นจุดที่ปลอดภัยห่างไกลจากสัตว์ชนิดอื่น

สำหรับการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์นั้น เราควรจะมีความพร้อมในการเลี้ยงมากๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมโดยรอบ เงิน หรือครอบครัวของเราเอง และสิ่งที่สำคัญสำหรับแฮมสเตอร์อีกหนึ่งอย่างคือความรัก ความอดทนของเจ้าของ หากเราชนะใจเจ้าแฮมสเตอร์ตัวน้อยแล้ว เราจะได้สัตว์เลี้ยงที่น่ารักและเพลินตามากๆเลยล่ะ

ขอบคุณรูปภาพปกจาก Canva
รูปประกอบที่ 1 จาก Pixabay
รูปประกอบที่ 2 จาก Pixabay
รูปประกอบที่ 3 จาก ร้าน Taily buddy

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์