ไลฟ์แฮ็ก

เทคนิคการอ่านให้มีประสิทธิภาพ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เทคนิคการอ่านให้มีประสิทธิภาพ

สวัสดีค่ะผู้อ่านที่น่ารักทุกคน วันนี้ผู้เขียนอยากจะมาแชร์ประสบการณ์สมัยช่วงวัยเรียนของตัวเองเกี่ยวกับเทคนิคในการอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพค่ะ เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยประสบปัญหาคล้าย ๆ กันบ้าง คือ อ่านหนังสือได้แป๊บ ๆ ก็หมดสมาธิจะอ่านต่อแล้ว หรือเหมือนจะอ่านได้ทน อ่านได้นาน แต่พอถามเนื้อหาที่อ่านไปกลับตอบไม่ได้เลย กลายเป็นว่าที่นั่งอ่านมาตั้งนานแทบไม่ได้ประโยชน์และกึ่ง ๆ จะเป็นการเสียเวลาเปล่าเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น วันนี้ผู้เขียนเลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์และเทคนิคการอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประสบการณ์และเทคนิคที่จะมาแชร์ในวันนี้รวบรวมมาจากทั้งของตัวเองและเพื่อน ๆ รอบตัวซึ่งก็มีดีกรีเป็นเด็กเรียนทั้งนั้นค่ะ มีทั้งเด็กที่เรียนห้องคิงมาตลอดชีวิต และนักเรียนทุนค่ะ จึงเชื่อได้ว่าเทคนิคเหล่านี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อยค่ะ มาเริ่มที่เทคนิคแรกกันเลยค่ะ

Advertisement

Advertisement


1. การจัดสภาพแวดล้อมในการอ่าน

ผู้เขียนขอเริ่มด้วยสิ่งนี้นะคะ เพราะไม่ว่าจะอ่านหนังสือที่ใดก็ตาม สภาพแวดล้อมในการอ่านสำคัญอย่างมากค่ะ ซึ่งสภาพแวดล้อมในที่นี้ครอบคลุมหลายอย่างนะคะ เช่น ความดังของเสียงรอบตัว ซึ่งแต่ละคนมีสภาพแวดล้อมที่ชอบไม่เหมือนกันค่ะ บางคนอาจจะชอบที่ที่เงียบมาก ๆ เรียกได้ว่า ไม่มีคนอยู่ใกล้ ๆ จะอ่านได้ดี แบบนี้ก็ควรที่จะอ่านในห้องส่วนตัว หรือใส่หูฟังแบบตัดเสียงค่ะ หรือบางคนอาจจะชอบแบบสภาวะแบบที่มีคนอยู่รอบ ๆ แต่ไม่ส่งเสียงดังมาก ก็อาจจะอ่านที่ห้องสมุดหรือ co-working space ค่ะ นอกจากนี้ ความสะอาดของพื้นที่อ่านก็สำคัญนะคะ การจัดโต๊ะอ่านหนังสือให้โล่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเหลือไว้เพียงหนังสือและอุปกรณ์เครื่องเขียนเล็กน้อย เท่านี้ก็จะช่วยให้เราอ่านได้ดีขึ้นค่ะ เพราะสภาพโต๊ะหนังสือที่รกจะทำให้สภาพจิตใจเราไม่พร้อมในการอ่านเท่าที่ควรค่ะ

Advertisement

Advertisement


2. การอาบน้ำก่อนอ่านหนังสือ

อาจจะฟังดูแปลกนะคะ แต่ผู้เขียนและเพื่อน ๆ หลายคนก็ทำแบบนี้ค่ะ การอาบน้ำไม่ใช่แค่ช่วยให้ร่างกายสะอาดนะคะ แต่เป็นเหมือนการเตรียมจิตใจเราให้พร้อมกับกิจกรรมใหม่ ๆ ด้วยค่ะ สังเกตกับตัวเองค่ะว่าทุกครั้งที่อาบน้ำก่อนอ่านหนังสือจะทำให้อ่านอย่างมีสมาธิและมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ


3. การตั้งเป้าหมายก่อนอ่าน

การอ่านหนังสือโดยไม่มีเป้าหมาย ก็เหมือนการทำกิจกรรมอื่น ๆ แบบไม่มีเป้าหมายค่ะ ซึ่งมันจะขาดแรงจูงใจและแรงผลักดันเป็นอย่างมาก ดังนั้น หากเราตั้งเป้าหมายเอาไว้ก็จะช่วยให้อ่านได้ดีขึ้น เป้าหมายในที่นี้อาจจะเป็นสิ่งที่เราอยากหาคำตอบให้ได้จากการอ่าน เช่น หากอ่านเรื่องนี้จบ ฉันจะต้องรู้เรื่องอะไร หรืออาจจะตั้งเป็นรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น อ่านจบ 5 หน้า จะสามารถกินขนมได้ 1 ชิ้น เป็นต้นค่ะ

Advertisement

Advertisement


4. การกำหนดระยะเวลาในการอ่าน

การอ่านติดต่อกันนาน ๆ ก็อาจทำให้ล้าได้ค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วธรรมชาติของสมองเราไม่สามารถโฟกัสอะไรได้นานเกินไป ดังนั้น หากเรากำหนดระยะเวลาการอ่านเป็นช่วง ๆ เช่น อ่าน 20 นาที พัก 5 นาที ก็จะช่วยให้เราเหนื่อยล้าจากการอ่านน้อยลง และอ่านได้ดีขึ้นค่ะ


5. การเล่าสรุปเนื้อหาให้ตัวเองฟัง

ข้อนี้ถือเป็นข้อที่สำคัญที่สุดในมุมของผู้เขียนเลยค่ะ เพราะไม่ว่าเราจะอ่านหนังสือได้นานหรือมากแค่ไหน แต่ถ้าเราจับใจความสำคัญของสิ่งที่เราอ่านไม่ได้เลย หรือได้น้อยมากจนไม่คุ้มกับเวลาที่อ่านไป ก็ถือได้ว่าเป็นการเสียเวลาไปโดยแทบไม่เกิดประโยชน์เลยค่ะ และสิ่งที่จะช่วยตรวจสอบว่าเราเข้าใจในสิ่งที่เราอ่านจริงหรือไม่ ก็คือการพูดสรุปเนื้อหาให้ตัวเองฟังค่ะ หรือถ้าใครถนัดเขียนจะเขียนเป็นสรุปออกมาก็ได้นะคะ เพราะหากเราไม่สามารถพูดหรือเขียนในสิ่งที่อ่านไปแล้วออกมาได้ ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเราเข้าใจสิ่งนั้นจริง ๆ นอกจากนี้ หากเรารู้อยู่แล้วว่าจบบทนี้เราจะต้องพูดสรุปเนื้อหากับตัวเอง เราก็จะโฟกัสกับการอ่านมากขึ้นค่ะ เพราะสมองเราก็จะต้องทำงานเต็มที่เพื่อเตรียมรับกับภารกิจในตอนที่อ่านจบ จะว่าไปก็คล้าย ๆ กับการที่เราติวให้เพื่อนเลยค่ะ สมัยเรียนผู้เขียนก็ชอบติวชอบสอนเพื่อนเหมือนกันค่ะ เพราะก่อนที่เราจะสามารถพูดอธิบายคนอื่นได้ เราก็ต้องเข้าใจเนื้อหานั้นจริง ๆ ยิ่งถ้าตอบคำถามที่เพื่อนถามได้ทุกมุม ยิ่งแปลว่า หัวข้อนี้เราเคลียร์แล้ว เทคนิคนี้จึงเป็นเทคนิคที่ผู้เขียนนำมาใช้เสมอ ๆ ค่ะ


เครดิตภาพประกอบ

ภาพปกบทความ

ภาพที่ 1 : โต๊ะหนังสือ

ภาพที่ 2 : ฝักบัวอาบน้ำ

ภาพที่ 3 : เป้าหมาย

ภาพที่ 4 : นาฬิกา

ภาพที่ 5 : นำเสนองาน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์