ไลฟ์แฮ็ก

เทคนิคพรีเซนต์ ที่ไม่เริ่มด้วยคำว่า "สวัสดี"

893
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เทคนิคพรีเซนต์ ที่ไม่เริ่มด้วยคำว่า "สวัสดี"

การพรีเซนต์ เป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องผ่านมาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับการศึกษามัธยม ไปจนถึงมหาวิทยาลัย การนำเสนอรายงานหน้าห้องเป็นเรื่องที่พบเจอได้เป็นประจำ อีกทั้งยังหนีไม่พ้นในวัยทำงาน ด้วยการนำเสนองานให้ลูกค้า ไปจนถึงการนำเสนอไอเดียให้กับเจ้านาย เป็นสิ่งที่หลายคนอาจเผชิญหน้ากับสมรภูมิของความกดดันเช่นนี้มาแล้วไม่มากก็น้อย

นอกเนื่องจากข้อมูลที่อัดแน่นไปด้วยความรู้จากรายงานหรือการวิจัย ที่ไม่ว่าคุณจะมีไอเดียดีแค่ไหน หากไม่สามารถมัดใจผู้ฟังได้ในทันทีที่เอ่ยปาก ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่จะปล่อยให้โอกาสของความประทับใจได้หลุดลอยไป เนื่องจากการนำเสนอ จำเป็นที่จะต้องดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้ได้มากที่สุด นับตั้งแต่เริ่มต้นภายใน 20-30 วินาที โดยประมาณ ซึ่งจะดีกว่าหรือไม่? ถ้าเราจะพัฒนาลูกเล่นต่างๆของระดับการนำเสนอ ให้สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจภายในครั้งแรกที่พบเจอ 

Advertisement

Advertisement

ผู้คนกำลังเตรียมเนื้อหานำเสนอ

เรามาดูกันดีกว่าครับว่ารูปแบบการนำเสนอ ที่ไม่ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “สวัสดี” จะเริ่มต้นออย่างไรได้บ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านทุกท่านนำไปปรับประยุกต์ใช้กันครับ

1.เปิดด้วยข้อมูลหลักที่น่าสนใจ

การเปิดวิธีนำเสนอด้วยภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด อาจเรียกได้ว่าเป็นการ “กระตุก” ความสนใจได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ฟังจะสามารถรู้เรื่องราวได้เลยว่าเราต้องการจะนำเสนออะไร เป็นการชิงโอกาสเพื่อคว้าวินาทีทอง ที่ผู้ฟังยังให้ความสนใจในการเสริฟข้อมูลที่จะผู้นำเสนอจะต้องเรียงลำดับการนำเสนอด้วยเช่นกันว่า น้ำหนักของข้อมูลเหล่านั้นจะทำให้ผู้ฟังเพิ่มระดับความสนใจต่อเรื่อยๆในทุกจังหวะที่ฟังเราได้อย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น “เป็นเรื่องที่น่าตกใจครับว่า สิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจสามาราถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 120% คือการเลือกจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์หรือกับผู้ให้บริการแอพพิเคชั่นต่างๆ...เราจะมาทำความรู้จักกับข้อมูลงานวิจัยชุดนี้กันนะครับว่ามีรายละเอียดอย่างไร ...กระผมนาย(แนะนำตัว) ”

Advertisement

Advertisement

2.ตั้งคำถามกับผู้ฟัง

เปิดด้วยวิธีการโยนคำถาม จะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังเริ่มใช้กระบวนการความคิดและเริ่มหาเหตุผล เป็นการดึงความสนใจทางหนึ่งได้อย่างอยู่หมัด แม้ว่าในบางครั้งเราจะไม่ได้พบผู้ฟังที่ตั้งใจฟังจริงๆ แต่อย่างน้อย การถามคำถามจะเป็นสิ่งที่เข้าไปอยู่ในความสนใจอย่างอัตโนมัติ โดยส่วนหนึ่งจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วมตามไปด้วย

 ยกตัวอย่างเช่น “ในที่นี้มีใครทำธุรกิจกิจเกี่ยวกับการทำอาหารหรือไม่ครับ....รู้หรือไม่ครับ ว่าในยุคปัจจุบัน มีกี่แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้เราสามารถโปรโมทหน้าร้านของเราได้...กระผมนาย(แนะนำตัว) จะมาแนะนำแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการในประเทศไทย ที่จะช่วยให้ร้านของท่าน กลายเป็นที่รู้จักกันนะครับ”

3.ชวนดึงดูดให้สงสัย

ความสงสัยเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง หากเราใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งหลักการใช้ที่ต่างจากการตั้งคำถามก็คือ ผู้นำเสนอต้องจำหน่ายข้อมูลที่ถูกแบ่งไว้ในสัดส่วนที่เหมาะสม เนื่องจากสมองของมนุษย์จะชอบการทำภารกิจให้เสร็จ สังเกตได้จากการประทานอาหารที่เมื่อเราทานไม่หมด แต่ยังเหลืออยู่จานอีกเล็กน้อย เราก็จะพยายามรับประทานให้หมด ซึ่งการบริโภคข้อมูลเองก็เช่นกันดังนั้นผู้เสนอต้องออกแบบเนื่องหาให้เชื่อมโยงกันเป็นจังหวะและค่อยๆเปิดเผยข้อมูลไปจนถึงช่วงท้ายให้ได้จึงจะประคองความสนใจของผู้ฟังได้

Advertisement

Advertisement

ยกตัวอย่างเช่น “ธุรกิจ A มีการเติบโตทางผลกำไรถึง 150% ได้อย่างไร ในระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น และในวันนี้กระผม(แนะนำตัว)...มีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอเช่นนี้ครับ...”

คนกำลังนั่งดูการนำเสนอ

4.เปิดด้วยการเล่าเรื่องด้วยภาพ

เราสามารถใช้ภาพเป็นตัวเปิดการนำเสนอได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่เราจำเป็นต้องเลือกภาพที่ดูแล้วมีความหมายไปจนถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราจะพูดด้วย ไม่ว่าจะเป็น ภาพทางสถิติ ภาพถ่ายที่บอกเล่าเรื่องราวในตัวเอง หรือภาพข้อมุลอื่นๆที่น่าสนใจ โดยวิธีการนี้ไม่ใช่วิธีการที่แปลกใหม่ แต่จะทรงพลังอย่างมากหากเรานำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและสร้างน้ำหนักได้มากพอ

ยกตัวอย่างเช่น “ยกภาพพื้นที่ผู้ใช้บริการขนส่งอาหารเดลิเวอร์รี่ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลความถี่ของผู้ใช้งานในพื้นที่ของกทม. เพื่อใช้อธิบายหัวข้อ ‘พื้นที่ใดมีผู้สั่งอาหารเดลิเวอร์รี่...มากที่สุด’ ”

5.เปิดเผยด้วยข้อมูลภาพรวมว่าผู้ฟังจะได้อะไรจากการฟัง

อาจเรียกได้ว่าเป็นการทำให้ผู้ฟังได้เห็นเนื้อหาโดยสรุปและภาพใหญ่ก่อนเพื่อที่จะเจาะลึกลงไปในแต่ละด้าน โดยวิธีการนี้มีข้อควรระวังคือ “ต้องมีเนื้อหาที่ผู้นำเสนอคิดว่ามัดใจผู้ฟังได้อยู่หมัด” เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ก็เปรียบเสมือนเราทุ่มหน้าตักการนำเสนอทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อเรียกความสนใจ ยกเว้นว่าการนำเสนอของเรา จะมีความกระชับและสั้นพอให้ความสนใจของผู้ฟังยังคงอยู่

ยกตัวอย่างเช่น “จากทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้จาก แอพพลิเคชั่น A นะครับว่ามีผู้ใช้งาน ตามมาด้วยแอพพลิเคชั่น B (ไล่ไปจนถึงสุดท้าย) ทั้งหมดนี้คือสัดส่วนผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นสำหรับเดลิเวอร์รี่ทั้งหมดในประเทศไทยครับ และในวันนี้กระผม(แนะนำตัว) จะอธิบายให้ฟังนะครับว่าความโดดเด่นของผู้ให้บริการที่ทำให้เกิดตัวเลขเหล่านี้ มีเบื้องหลังทางการตลาดอย่างไรบ้าง”

6.เปิดด้วยเรื่องเล่าที่มาของการนำเสนออย่างสั้นๆ

บ่อยครั้งการเล่าถึงที่มาล้วนแล้วแต่กระตุกความสนใจของผู้ฟังได้ว่า “ทำไม” เราจึงต้องพูดเรื่องเหล่านี้ให้พวกเขาฟัง ไม่ว่าใครหลายคนจะมองหัวข้อการนำเสนอว่ามีความน่าเบื่อหน่ายอย่างไร แต่อย่างน้อย หากเราได้ฟังต้นกำเนิดหรือวิธีการคิด ที่ตั้งอยู่ในพื้นฐานของความสนใจสำหรับมนุษย์คนหนึ่ง(อย่างน้อยก็คือผู้นำเสนอ) มันย่อมจะมีส่วนผสมบางอย่างที่ชวนให้ผู้ฟังได้สัมผัสถึงแรงบันดาลใจเหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อย

ยกตัวอย่างเช่น “สาเหตุที่ผมเลือกหัวข้อ…ขึ้นมานำเสนอในวันนนี้ เนื่องจาก…(บอกที่มาโดยรวม) เป็นสาเหตุให้ผมได้เตรียมข้อมูลเพื่อมาบรรยายให้ท่านได้ฟัง …กระผม(แนะนำตัว)”

คนกำลังนั่งดูการนำเสนอ

สังเกตได้ว่าการพูดที่มีเสน่และน่าสนใจจะทำให้เนื้อหามีความน่าติดตามเพิ่มขึ้นไปด้วย ไม่ว่าเราจะบอกเล่าอย่างไรต่อไปก็จะเป็นเรื่องง่าย เพราะเราได้เปิด “ประตูความสนใจ” ของผู้ฟังเอาไว้แล้ว โดยทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเทคนิคทั้งหมดจะเหมาะสมกับเรื่องราวทุกเรื่อง และไม่ใช่เพียงแค่การนำเสนอหนึ่งครั้งเท่านั้นที่จะใช้ได้เพียงเทคนิคเดียว แต่เรายังสามารถนำมาผสมและปรับใช้ได้หลากหลายตามความเหมาะสม เรียกได้ว่าการพรีเซนต์ของคุณ จะสร้างความแตกต่างได้อย่างแน่นอนครับเมื่อฝึกใช้จนเชี่ยวชาญ


ขอบคุณรูปภาพจาก : pixabay

รูปภาพปกบทความ/ภาพประกอบที่1/ภาพประกอบที่2/ภาพประกอบที่3

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

Advertisement

Advertisement

ติดกระแส

Advertisement

Advertisement

Advertisement

ข้อตกลงและเงื่อนไข|Copyright © True Digital & Media Platform Company Limited. All rights reserved