อื่นๆ

เปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้า ไทย vs ต่างประเทศ

1.8k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้า ไทย vs ต่างประเทศ

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ทุกคน วันนี้เราจะมาเปิดประเด็นกันในเรื่องของ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าของประเทศไทยเรากันค่ะ หลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยขึ้นรถไฟฟ้า หรือว่า รถไฟใต้ดิน เพราะว่าเป็นคมนาคมการขนส่งที่ถือว่ารวดเร็วและสะดวกสบาย แต่ในความสบายก็คือเงินที่เราต้องจ่ายให้ความสบายนั่นเองรถไฟ

เครคิตรูปภาพ : "Empty MRT" by Jun Acullador

ต้องบอกก่อนเลยว่าในเรื่องของราคาค่าโดยสารรภไฟฟ้าของประเทศเราก็ถือได้ว่า เป็นราคาที่สูงเหมือนกันนะคะ ถ้าเรานำไปเปรียบเทียบกับการขนส่งในด้านอื่น ๆ อย่างรถโดยสารประจำทาง ที่ราคาจะอยู่ที่ 10 – 25 บาท เท่านั้น แต่ว่าเราสามารถที่จะนั่งได้ตลอดสาย หรือนั่นหมายความว่า เราอาจจะสามารถนั่งรถข้ามจังหวัดได้เลยที่เดียวค่ะ ในราคาเพียงแค่ 10 กว่าบาทนั่นเองถือว่าคุ้มค่าค่ะ แต่ว่าก็อาจจะใช้เวลาหน่อยเพราะอาจจะมีรถติด หรือการจราจรติดขัดต่าง ๆ ทำให้การจราจรของเราช้าขึ้นไปอีกบีทีเอส

Advertisement

Advertisement

เครคิตรูปภาพ : "MRT mark_Yeachan" by nist6ss

ดังนั้น รถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดินก็ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่คนทำงานในเมืองหลวง อย่างกรุงเทพมหานคร ต้องเลือกใช้ โดยจากการสำรวจและตรวจดูตามเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้ว องค์ประกอบหลาย ๆ อย่างแปรเปลี่ยนไปตามค่าครองชีพและอัตราแลกเปลี่ยนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าบ้านไม่ได้ถูกอย่างที่คิดกันไว้ ปัจจุบัน รถไฟฟ้าในบ้านเราถือว่าเป็นการขนส่งที่มีความสำคัญสำหรับคนในกรุงเทพเป็นอย่างมาก อัตราค่าโดยสารจึงเป็นที่ถกเถียงกันมาหลายต่อหลายครั้งว่า มันมากหรือน้อย คุ้มค่าแก่การเดินทางของเราในแต่ละวันหรือไม่

แต่ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถที่จะไปวัดกับทุกประเทศได้ว่า ค่าโดยสารเราแพงหรือว่าถูก เพราะกิจการการรถไฟของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันค่อนข้างมาก ในเรื่องของเศรษฐกิจเราก็ต่างกันมาก ทั้งในเชิงด้านเทคนิคและการให้บริการของรัฐ เช่น ความยาวของรถไฟฟ้า ชนิดของรถไฟฟ้า ระยะห่างระหว่างสถานี หรือการใช้บริการของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ เพราะว่าถ้าหากมีผู้ใช้บริการเยอะ ๆ ราคาต่อหน่วยก็ควรจะถูกกว่าเดิม

Advertisement

Advertisement

รถ

เครคิตรูปภาพ : Image by 見つける!Oresa.C

ในการคิดราคาค่าโดยสาร คิดเป็นราคาต่อระยะทาง ตั้งแต่สถานีเริ่มต้นจนถึงสถานีสุดท้าย ใช้ราคาตั๋วเที่ยวเดียวสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อทำการคำนวณราคารถไฟฟ้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางแล้ว พบว่ารถไฟฟ้าแต่ละประเทศมีราคาเฉลี่ยดังนี้

ญี่ปุ่น : เฉลี่ยเที่ยวละ 62 บาท

เกาหลี : เฉลี่ยเที่ยวละ 47 บาท

ไทย  : เฉลี่ยเที่ยวละ 45 บาท

สิงคโปร์  : เฉลี่ยเที่ยวละ 36 บาท

มาเลเซีย  : เฉลี่ยเที่ยวละ 33 บาท

ฮ่องกง  : เฉลี่ยเที่ยวละ  32 บาท

ถ้าเราดูจากค่าเฉลี่ย พบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีราคาค่าโดยสารเมื่อแปลงเป็นค่าเงินบาทแล้วสูงที่สุด แต่อย่าลืมว่า แต่ละประเทศมีรายได้และค่าครองชีพที่แตกต่างกัน ประเทศที่ค่าโดยสารแพงอาจจะมีรายได้สูง ประเทศที่มีค่าโดยสารถูกอาจจะมีรายได้น้อยมากก็ได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละประเทศหรือเมืองที่เรานำมาเปรียบเทียบ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเมื่อเทียบเป็นเงินบาทเท่าไหร่กันบ้าง

Advertisement

Advertisement

สิงคโปร์ : รายได้เฉลี่ย 221,830 บาท/เดือน

ฮ่องกง : รายได้เฉลี่ย 155,177 บาท/เดือน

โตเกียว : รายได้เฉลี่ย 100,218 บาท/เดือน

โซล : รายได้เฉลี่ย 94,554 บาท/เดือน

กัวลาลัมเปอร์ : รายได้เฉลี่ย 66,081 บาท/เดือน

ไทย : รายได้เฉลี่ย 38,474 บาท/เดือน

*รายได้เฉลี่ยของกรุงเทพ คิดจากรายได้เฉลี่ยของกลุ่มอาชีพพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามากที่สุด

แต่!!! รายได้ก็ยังไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดที่ยุติธรรมสำหรับทุกประเทศได้ Baania จึงใช้การคำนวณด้วยหลักการคิดลดค่าครองชีพของแต่ละประเทศ เพราะต่อให้ได้เงินเดือนมากแค่ไหน ถ้าต้องจ่ายค่าครองชีพมหาศาล ก็ไม่เหลือเงินไว้ให้ใช้อยู่ดี คราวนี้มาดูกันว่าเมื่อนำรายได้ต่อเดือนแต่ละประเทศมาคำนวณการคิดลดค่าครองชีพแล้ว แต่ละประเทศจะมีเหลือเงินเดือนเท่าไหร่กันบ้าง

สิงคโปร์ : รายได้เฉลี่ย 139,490 บาท/เดือน

ฮ่องกง : รายได้เฉลี่ย 144,989 บาท/เดือน

โตเกียว : รายได้เฉลี่ย 92,231 บาท/เดือน

โซล : รายได้เฉลี่ย 79,445 บาท/เดือน

กัวลาลัมเปอร์ : รายได้เฉลี่ย 23,820 บาท/เดือน

ไทย : รายได้เฉลี่ย 14,871 บาท/เดือน

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อ 25 มีนาคม 2563)
รถ

เครคิตรูปภาพ : "MRTS" by ashwin kumar

ทุกประเทศมีรายได้หลังคิดลดค่าครองชีพลดลงทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าค่าครองชีพแต่ละประเทศมีค่าสูงขึ้น สำหรับคนกรุงเทพที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 38,500 บาท กลับมีเงินเดือนหลังคิดลดค่าครองชีพเพียงประมาณ 15,000 บาทเท่านั้น แล้วค่ารถไฟฟ้าที่จ่ายกันอยู่ทุกวัน เมื่อเทียบกับเงินเดือน เราจ่ายเฉลี่ยเป็นร้อยละเท่าไหร่ต่อเดือนกัน

เกาหลีใต้ คิดเป็น 7.8%

ไทย คิดเป็น 4.8%
มาเลเซีย คิดเป็น 2.2%
ญี่ปุ่น คิดเป็น 2.2%
ฮ่องกง คิดเป็น 0.9%
สิงคโปร์ คิดเป็น 0.7%

จำนวนวันเดินทางคิดจากวันทำงานต่อเดือน ราคาค่าโดยสารเฉลี่ยของแต่ละประเทศทั้งขาไปและขากลับ ปรากฎว่ามีเพียงประเทศเกาหลีใต้ รถไฟฟ้า Seoul Subway Line 4 เท่านั้น ที่ค่าโดยสารเมื่อเปรียบเทียบกับอำนาจซื้อ มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 มากกว่าประเทศไทย ซึ่งคงไม่แปลกเท่าไหร่นัก เพราะมีระยะทางการให้บริการมากกว่าของไทยถึง 3 เท่า ตามมาด้วยระบบขนส่งมวลชนที่คนกรุงเทพรักมากที่สุด รถไฟฟ้า BTS ที่มีค่าโดยสารสัดส่วนเทียบกับเงินเดือนถึง 4.8% และรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ในอัตราเทียบอำนาจซื้อที่เท่ากัน อยู่ที่ 3.8%

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อ 25 มีนาคม 2563)สถานี

เครคิตรูปภาพ : "Rushing home" by Chuwa (Francis)

นอกจากนี้ในบางประเทศยังมีการคิดราคาค่าโดยสารไม่เหมือนกันด้วย เพราะว่าความแตกต่างในหลาย ๆ อย่าง เช่นในเมืองบางเมืองจะคิดค่าโดยสารเป็นโซนที่กำหนดไว้ นั่นก็คือกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ในบางเมืองคิดแบบเหมาจ่าย ราคาเดียวตลอดแต่กำหนดระยะเวลาการใช้งาน นั่นก็คือ นิวยอร์ก ในขณะบ้านเราคิดค่าโดยสารตามระยะทางและจำนวนสถานีที่เราเดินทางไป

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์