ไลฟ์แฮ็ก

เพาะต้นอ่อนทานตะวัน พลิกวิกฤติเป็นโอกาส สร้างแหล่งอาหารด้วยตนเอง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เพาะต้นอ่อนทานตะวัน พลิกวิกฤติเป็นโอกาส สร้างแหล่งอาหารด้วยตนเอง

"เพาะต้นอ่อนทานตะวัน"

พลิกวิกฤติเป็นโอกาส สร้างแหล่งอาหารด้วยตนเอง

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

สวัสดีค่ะรอบนี้เป็นการนำวิชาความรู้เก่ามารื้อฟื้นกันใหม่ในเวลาที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม!!! หมายความเช่นไร?? เนื่องจากผู้เขียนเคยได้มีประสบการณ์ในการทำสิ่งนี้มาก่อน ด้วยความอยากรู้อยากลอง เมื่อทำแล้วเห็นผลก็พับเก็บผลงานเข้ากรุซะอย่างนั้น (นิสัยไม่ดี 555) ร่ายมาก็ยาวหลายท่านคงอยากรู้แล้วที่ว่ามาคือเรื่องอะไร?? เรื่องที่จะพูดถึงนี้คือ การเพาะต้นอ่อนทานตะวันนั่นเองค่ะ

ซึ่งช่วงเวลานี้ได้กลับมาเพาะใหม่เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเอามาก ๆ อีกทั้งเป็นการนำเอาความรู้นั้นมาฝ่าวิกฤติไปให้ได้ ช่วงที่เราต้องระวังรักษาตนเองและครอบครัวให้พ้นจากเชื้อไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่ส่งผลกระทบกันไปทั่วโลก รวมถึงกระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชนทุกประเทศ การรัดเข็มขัดทุกวิถีทาง(การประหยัดค่าใช้จ่าย)ในเวลานี้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เราฝ่าวิกฤติความเป็นอยู่ในช่วงนี้ได้อย่างไม่ลำบาก ก็ด้วยการเพาะหรือปลูกผักกินได้คู่บ้านเพื่อตัวเราเองและครอบครัว นอกจากนี้ยังเป็นการใช้เวลาในการอยู่บ้านหรือคำฮิตติดเทรนกันคือการกักตัวอยู่บ้านกันคร๊า!! 555

Advertisement

Advertisement

การเพาะต้นอ่อนทานตะวันไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราต้องทำความเข้าใจและศึกษาวิธีกันสักนิด หรือเรียกง่าย ๆ คือการเตรียมความพร้อมในการลงมือ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเมล็ดที่จะเพาะ รวมถึงอุปกรณ์ที่จะใช้ในการลงมือ เอาเป็นว่าเรามาดูกันค่ะว่าต้องใช้อะไรกันบ้าง

สิ่งที่ต้องเตรียมประกอบด้วย

  1. ถาดสำหรับปลูก เช่น ถาด หรือภาชนะอะไรก็ได้ที่สามารถนำมาเพาะต้นอ่อนได้
  2. ดินสำหรับต้นอ่อน หรือดินผสมที่ขายตามร้านขายต้นไม้
  3. เมล็ดทานตะวัน
  4. ผ้าสำหรับบ่มเมล็ดทานตะวัน
  5. เครื่องฉีดน้ำฝอยละออง หรือจะเป็นกระบอกสเปรย์ฉีดน้ำ

เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้วเรามาเข้าสู่กระบวนการเพาะต้นอ่อนทานตะวันกันได้เลยค่ะ

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

ขั้นตอนแรก นำเมล็ดทานตะวันที่เตรียมไว้ ล้างและแช่น้ำไว้สัก 4-6 ชม. จากนั้นให้เทน้ำออก

ขั้นตอนที่สอง นำเมล็ดทานตะวันที่แช่น้ำแล้วมาบ่มในผ้าหนา ๆ ที่ชุ่มน้ำ ประมาณ 1-2 วัน และถ้าจะให้ดีทุก ๆ 5 ชั่วโมง ให้คนกลับเมล็ดที่บ่มไว้แบบเบามือ ซึ่งระหว่างนั้นเมล็ดจะเริ่มงอกเป็นตุ่ม ๆ สามารถนำมาเพาะได้แล้ว

Advertisement

Advertisement

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

ขั้นตอนที่สาม ให้นำดินที่เตรียมไว้ใส่ภาชนะสำหรับเพาะ โดยเกลี่ยดินเบา ๆ ให้เรียบเสมอกัน มีความหนาของดินประมาณไม่เกิน 1 นิ้ว

ขั้นตอนที่สี่ โรยเมล็ดทานตะวันที่ผ่านการบ่มแล้วลงหน้าดินที่เตรียมไว้ ที่สำคัญคือต้องกระจายเมล็ดให้ทั่วและอย่าให้หนาจนเกินไป

ขั้นตอนที่ห้า จากนั้นโรยดินบาง ๆ กลบทับเมล็ดทานตะวันอีกครั้ง เพื่อไม่ให้รากเมล็ดทานตะวันนั้นลอยเหนือผิวดิน

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

ขั้นตอนที่หก รดน้ำให้ชุ่มสิ่งสำคัญในการรดน้ำคือไม่รดน้อยไป หรือเปียกจนเกินไป เพราะจะมีผลกับการเจริญเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน หากรดน้ำน้อยไปต้นอ่อนจะแคระแกร็น รดน้ำมากไปมีโอกาสต้นอ่อนเน่าสูง

ขั้นตอนที่เจ็ด นำถาดภาชนะปลูกมาซ้อนกันประมาณ 1 คืน หลังจากนั้นให้นำถาดเพาะแยกออกมารดน้ำเช้า และเย็นตามปกติ

ขั้นตอนที่แปด วางถาดเพาะไว้ในที่ร่ม และรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงเช้าและเย็น

Advertisement

Advertisement

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

ขั้นตอนที่เก้า เมื่อเข้าสู่วันที่ 4 ของการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน วันนี้ให้รดน้ำบาง ๆ เพื่อให้ดินปลูกหลุดจากใบ และช่วงนี้สามารถเริ่มเก็บเปลือกเมล็ดที่ติดใบออกได้แล้ว ส่วนการรดน้ำยังต้องรด 2 เวลา ทั้งเช้าและเย็นอย่างสม่ำเสมอนะคะ

ขั้นตอนที่สิบ เข้าสู่วันที่ 7 ให้นำต้นอ่อนทานตะวันออกมารับแสง ต้นอ่อนจะเริ่มเขียว ซึ่งสามารถตัดได้ในวันที่ 7 หรือมากกว่านั้นก็ได้  แล้วแต่ความยาวของต้นค่ะ

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

เทคนิคในการตัดต้นอ่อนทานตะวันนั้นคือ ใช้มือรวบโคนต้นเป็นกระจุก แล้วนำกรรไกร หรือคัตเตอร์คม ๆ ตัดที่โคนต้น เพื่อป้องกันโคนต้นช้ำ จากนั้นนำไปล้างในกะละมังสัก 2 น้ำ พร้อมกับการเก็บเศษดิน เศษราก และเมล็ดเปลือกที่ติดมาออกให้เกลี้ยงแล้วนำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นพร้อมนำมารับประทานสด ๆ หรือจะนำมาปรุงเป็นเมนูต่าง ๆ ตามชอบใจได้เลยค่ะ หรือจะแพ็คใส่ถุงเก็บเข้าตู้เย็น โดยมัดปากถุงให้แน่นไม่ต้องเจาะรูนะคะ จะสามารถเก็บไว้ได้ถึง 5-7 วันเลยทีเดียว เห็นไหมคะเราสามารถลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควรเลยทีเดียว หรือหากใครเพาะไว้เยอะหน่อยก็สามารถนำมาแบ่งปันคนอื่น ๆ ในช่วงภาวะวิกฤติแบบนี้ จะอิ่มบุญอิ่มใจกันเลยทีเดียวและยังถือเป็นการเก็บประสบการณ์ความชำนาญเพื่อสร้างอาชีพในวันข้างหน้าได้อีกด้วย ต่อไปไม่ต้องกลัวแล้วไม่ว่าจะเจอวิกฤติอะไรก็ตาม เมื่อเรามีความรู้ความชำนาญในการผลิตอาหารเองได้ก็ไม่ลำบากค่ะ สู้ ๆ กันนะคะทุกครอบครัวเราจะผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้อย่างมีความสุขกัน แล้วติดตามเรื่องราวดีๆที่จะนำมาฝากกันเรื่อย ๆ นะคะ

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

ภาพ/เขียน โดยผู้เขียน : ดวงฤดี แก้ววิศิษฏ์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์