อื่นๆ

"เมย์เมียว" ดอกไม้ของของมวลมนุษยชาติ

412
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"เมย์เมียว" ดอกไม้ของของมวลมนุษยชาติ

เป็นชื่อเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งของพม่า ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไม่ไกลนัก ใช้เวลานั่งรถยนต์ราวสองชั่วโมงครึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยใหญ่ สภาพภูมิอากาศหนาวเย็นสบายตลอดปี

เมืองนี้มีชื่อในภาษาพม่าว่าเมือง “ปินอูลวิน”
แต่ที่ถูกเรียกว่า “เมย์เมียว” ก็เนื่องมาจากในสมัยที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

พันเอกเมย์ ฟลาวเวอร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบอังกฤษ ได้รับแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่ปราบปรามและคอยดูแลความสงบเรียบร้อยในประเทศพม่า

ผู้พันเมย์จัดตั้งสถานีรบและบ้านพักอยู่ที่เมืองปินอูลวินเพราะเหตุว่าเมืองมัณฑะเลย์นั้นอากาศร้อนอบอ้าว ต่อๆมาพวกนายทหารและข้าราชการอังกฤษที่เข้ามาปกครองเมืองพม่าก็ไปตั้งหลักปักฐานกันอยู่ที่นั่นเพราะมีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศของตน

ภาพจาก บทความ พินอูลวิน เมืองตากอากาศพม่า บรรยากาศสวยงาม :oporshady

ผู้พันเมย์นอกจากจะเป็นนักรบแล้ว
ยังเป็นคนชอบดอกไม้ เขาจึงนำพันธุ์ดอกไม้ในเมืองหนาวเข้ามาปลูกที่เมืองนี้ และต่อมาเมืองปินอูลวินก็ถูกเรียกว่าเมืองเมย์เมียว ซึ่งหมายถึงเมืองของผู้พันเมย์ แม้ว่าผู้พันเมย์จะจากไปแล้วแต่ชื่อของเขาก็ได้กลายเป็นชื่อเมืองและชื่อดอกไม้

Advertisement

Advertisement

ดอกเมย์เมียวหรือที่บางคนเรียกว่า ดอกเมียวดี หรือดอกเมียวเมียว ในช่วงฤดูหนาว หากใครไปเดินเที่ยวแถวตลาดสดยามเช้า จะเห็น "ดอกเมย์เมียว" ที่เป็นดอกไม้ดอกเล็กๆ สีขาวและสีชมพูอ่อน กลีบดอกและก้านใบดูบอบบาง ถูกมัดรวมกันเป็นช่อมาวางขายให้แก่ผู้สนใจ

ดอกเมย์เมียว

ชาวเมืองปายนิยมนำดอกเมย์เมียวไปไหว้พระ แล้วยังนิยมนำดอกเมย์เมียวไปไหว้สักการะ
ที่เจดีย์อนุสรณ์สถานพระสุพรรณกัลยา พระเชษฐภคินีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในบริเวณวัดน้ำฮูอีกด้วย เพราะเชื่อว่า เป็นดอกไม้ที่พระสุพรรณกัลยาทรงชื่นชอบ

เพื่อนชาวเหนือคนหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินชื่อดังของภาคเหนือ ก็มีความประทับใจดอกไม้ชนิดนี้มาก จนนำไปแต่งเป็นบทเพลงส่งเสริมให้กำลังใจผู้ฟัง ชื่อว่า เมียวเมียว มู...มู ซึ่ง จรัล มโนเพ็ชร ขับร้องเพลงนี้ร่วมกับ สุนทรี เวชานนท์ ในอัลบั้มชุด ฉันมีความรักมาให้ บันทึกเสียงเมื่อปี 2531

Advertisement

Advertisement

ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทยใหญ่เชื่อว่า เมื่อเห็นดอกเมย์เมียวผลิบาน ก็ถึงเวลาที่ต้องตัดดอกไม้ชนิดนี้ไปไหว้บูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ป้าแหลงเล่าเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปดอกไม้มงคลในความเชื่อของคนไทยใหญ่ มี 2 ชนิด คือ ดอกเมย์เมียว และดอกแก้วเมืองอินทร์ ที่มักจะผลิบานในช่วงเทศกาลออกพรรษา ไม้ดอกชนิดนี้ในท้องถิ่นเมืองปายก็หายาก ใกล้สูญพันธุ์แล้ว

ดอกแก้วเมืองอินทร์ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า จิงจูฉ่าย คนจีนนิยมเอายอดไปใส่ในเมนูต้มเลือดหมู แต่ชาวไทยใหญ่มีความเชื่อว่า หากนำดอกแก้วเมืองอินทร์มาบูชาพระ
ในช่วงเทศกาลออกพรรษา จะได้บุญมาก เมื่อตายไปแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์

ดอกแก้วเมืองอินทร์

--------------------------

ดอกเมย์เมียวเดินทางไกลจากอังกฤษมาถึงพม่าและขยายพันธุ์ต่อๆมาได้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะเดินทางจากเมืองพม่า
มาถึงเมืองไทย

Advertisement

Advertisement

ดอกไม้ที่มีชื่อเรียกว่าเมย์เมียวคงไม่ใช่ดอกไม้ชนิดนี้ชนิดเดียวเท่านั้น เพราะดอกไม้ที่แม่ค้าที่แม่ฮ่องสอนบอกว่าเป็นดอกเมย์เมียวนั้นมีลักษณะต่างจากดอกเมย์เมียว
ซึ่งมีลักษณะคล้ายดอกเบญจมาศเล็กๆที่ไกด์ไทยใหญ่ในพม่าชี้ให้ดู

คิดว่าชื่อเมย์เมียวอาจจะใช้เรียกดอกไม้ชนิดต่างๆที่ผู้พันเมย์นำมาจากบ้านเกิดเพื่อมาปลูกที่พม่า และต่อมาจึงพากันเรียกชื่อดอกไม้ตามชื่อเมืองที่มันจากมาก็เป็นได้

--------------------

แม้ครั้งหนึ่งประเทศพม่าเคยตกเป็นเมืองขึ้น
ของประเทศอังกฤษ แต่ดอกเมย์เมียวก็ไม่ได้เป็นดอกไม้ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ พม่า หรือไทย หากแต่เป็นดอกไม้ของมวลมนุษยชาติ เพราะดอกไม้มีอิสระเสรีที่จะเติบโตและแพร่พันธุ์ ดอกไม้ไม่เคยหวงความงามไว้เฉพาะสำหรับผู้ปลูกเท่านั้น

แต่มันเบ่งบานเพื่อเผยความงาม
ให้แก่ทุกคนที่ได้พบเห็น

--------------

เอกสารอ้างอิง :

-มติชน เทคโนโลยีชาวบ้าน
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 26 ฉบับที่ 567

-เก็บมาเล่า ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์
"เมย์เมียว" ไม้ดอกนำโชค ที่เมืองปาย

-พ่อเพยีย : เมย์เมียวในสายหมอก

-ดอกหญ้า โดย โดม วุฒิชัย

เครดิตรูปภาพ

-พ่อเพยีย : เมย์เมียวในสายหมอก

-พินอูลวิน เมืองตากอากาศพม่า บรรยากาศสวยงาม oporshady

- รูปถ่ายดอกไม้ของตัวเองจร้า

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
MODAMOM
MODAMOM
อ่านบทความอื่นจาก MODAMOM

จบ ประวิติศาสตร์ โบราณคดี

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์