อื่นๆ

เมืองที่ดีสำหรับ LGBTQ+ ควรเป็นอย่างไร ?

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เมืองที่ดีสำหรับ LGBTQ+ ควรเป็นอย่างไร ?

จะนิยามเมืองหนึ่งเมืองว่าเป็นเมืองที่ดี อาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับชาวเราที่โหยหา ‘เมืองที่ดี’ มาโดยตลอด แต่เมืองที่ดีของแต่ละคนนั้น อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะต้องการระบบขนส่งมวลชนที่ดี บางกลุ่มต้องการสภาพการจราจรที่ไม่ติดขัด สภาพอากาศที่ดีเหมาะกับการใช้ชีวิต หรือ เมืองที่ปลอดอาชญากรรม ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ทำงานกันอย่างเคร่งครัดและยึดมั่นในกฎมาย ถ้าเมืองไหนที่สามารถตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ได้ ก็คงจะเป็นเมืองที่ดีสำหรับเขา

ถ้าเราลองมองในภาพที่กว้างกว่าเดิมสักเล็กน้อย เมืองหนึ่งเมืองต้องรองรับคนหลากหลายประเภท หลากหลายในความคิด รวมไปถึงหลากหลายในความรักเช่นเดียวกัน

กลุ่ม LGBTQ+, กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายของเพศวิถี, ในสมัยก่อนคนที่แต่งกายและแสดงออกไม่ตรงกับเพศกำเนิดยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม พวกเขาและเธอต้องถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ต้องหลบซ่อนการแสดงออกของตัวเอง หลบซ่อนความรัก

Advertisement

Advertisement

ซึ่งแตกต่างจากสมัยนี้

ปัจจุบัน กลุ่ม LGBTQ+ เรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของตัวเองได้อย่างกว้างขวาง ผู้คนหลายกลุ่มสนับสนุนในการแสดงออกความเป็นมนุษย์ของพวกเขาซึ่งเมืองใหญ่ ๆ หลาย ๆ เมืองก็สนับสนุนเช่นเดียวกัน ได้มีการออกกฎหมายต่าง ๆ นานาเพื่อที่จะให้กลุ่มคนเหล่านี้ มีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกับมนุษย์คนอื่น ๆ ซึ่งหลาย ๆ เมืองทั่วโลกกำลังปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้แล้วอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าจะมีบางความเชื่อ บางศาสนาที่ปฏิเสธการกระทำเช่นนี้  แต่ถ้าไม่ปรับตัวก็อยู่ลำบากเช่นกัน

แล้วการกระทำของเมืองใหญ่ ที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่นี้ ตอบโจทย์ของกลุ่ม LGBTQ+ แล้วหรือยัง ?

https://pixabay.com/th/photos/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%99-%E0%B8%9D%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-438393/ที่มา: pixabay.com

“เมืองที่ดีคือเมืองที่ผู้คนอยากออกไปข้างนอก”

เอนริเก เปญาโลซาอดีตนายกเทศมนตรีเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย ตอบคำถามผู้สื่อข่าวในงาน The San Francisco Bicycle Coalition ว่า

Advertisement

Advertisement

“เมืองที่ยิ่งดีควรเป็นเมืองที่ผู้คนอยากออกจากบ้าน พื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์และไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสร้างความพึงพอใจ เราควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ผลประโยชน์สาธารณะเหนือความสนใจส่วนตัว เมืองที่ยิ่งใหญ่คือเมืองที่เราทุกคนไม่รู้สึกกีดกัน”

ซานฟรานส์ซิสโกเป็นเมืองที่มีประชากรเป็น LGBTQ+ อาศัยเยอะที่สุดในสหรัฐอเมริกา ราว 6.2% นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เที่ยงตรงและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่สุดของประเทศเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย รวมไปถึงการเข้าถึงงานที่ควรจะรองรับผลประโยชน์ และ สวัสดิการอีกด้วย

Gay Village (หมู่บ้านเกย์) คือพื้นที่หรือขอบเขตที่มีเหล่าเพศทางเลือกอาศัยอยู่จำนวนมาก ซึ่งหมู่บ้านเกย์มักมีสถานที่ประกอบการที่มุ่งเน้นเป้าหมายไปยังเหล่าเพศทางเลือก อาทิ ผับ บาร์ ไนต์คลับ ร้านอาหาร หรือ ร้านหนังสือ เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

หมู่บ้านเกย์เหล่านี้ได้กระจายอยู่หลายแห่งทั่วโลก ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นตัวแทนที่เป็นมิตรแก่ชาว LGBTQ สามารถใช้พื้นที่ของพวกเขาเป็นวิธีในกาสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมและสามารถตอบสนองความต้องการพิเศษได้

https://pixabay.com/th/photos/csd-%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%94-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87-2735009/ที่มา: pixabay.com

จากหลายมุมมองของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกที่พยายามผลักดันให้ชาว LGBTQ+ มีสิทธิมีเสียงมากขึ้น ทำให้สงสัยว่า แล้วกรุงเทพมหานครของประเทศไทยล่ะ?

กรุงเทพมหานครได้รับการยกย่องจากหลายคนในต่างแดนว่า เป็นสวรรค์ของ LGBTQ+ เป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นมิตรกับเพศทางเลือกมากที่สุดในโลก แน่นอนว่ายังแฝงสิ่งที่ไม่น่าดูชมด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์เมื่อตะวันตกดิน ความอดทนอดกลั้นของผู้ที่ไม่กล้าแสดงออก และกฎหมายที่ยังไม่รองรับและไม่ครอบคลุม อนึ่ง กรุงเทพมหานครเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของเหล่าเพศทางเลือกจากทั่วโลก

วิธีการเปิดรับเรื่องเพศของประเทศไทยนั้นอาจจะเป็นเรื่องราวที่ดีที่สุดและแน่นอนเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่อง “เพศที่สาม” ที่พบเห็นได้อย่างปกติ แลดูเป็นเรื่องธรรมดา ความจริงแล้ว ประชากรเพศที่สามทำงานได้เกือบทุกรูปแบบของอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับประชากรเพศปกติและใช้ชีวิตที่ไม่มีอุปสรรคที่สาหัสสากรรจ์นัก

ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีรอยด่างในประเทศที่ “ดูเหมือน” จะมีอิสระในการแสดงออกให้เห็นอยู่เหมือนกัน

สิ่งที่น่าสังเกตคือ “เลสเบี้ยน” หรือ “เกย์ผู้หญิง”

ดูเหมือนว่าสถานที่บริการเพศทางเลือกในกรุงเทพมหานคร หรือ เมืองหลัก ๆ ในประเทศไทยจะพุ่งเป้าไปที่ “ผู้ชาย” เสียมากกว่า ชาวเลสเบี้ยนก็พบเห็นได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเพศทางเลือกอื่น ๆ ในสถานที่สาธาณะ รวมไปถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงด้วยเช่นกัน เหมือนจะมีเหตุผลบางอย่างที่หลาย ๆ เพศทางเลือกยังเลือกที่จะไม่แสดงตัวตนออกมาให้ชัดเจน อาจเป็นเพราะที่พวกเขาไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้าในการถูกตัดสินก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมคนใกล้ตัว หรือ ญาติพี่น้อง เพื่อน พ่อแม่

https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99-1822487/ที่มา: pixabay.com

กรุงเทพมหานครอาจจะไม่ใช่จุดหมายปลายทางในการลงหลักปักฐานใช้ชีวิตสำหรับเหล่าชาว LGBTQ บางท่าน แต่บางท่านก็เรียกสถานที่นี้ว่า บ้าน บางท่านอาจจะเหมาะที่จะเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการมาท่องเที่ยว เพิ่มประสบการณ์ หรือ พบเพื่อนใหม่ได้สำหรับทุกคน

เมืองต่าง ๆ ก็เช่นกัน ‘เมืองที่ดี’ สำหรับชาว LGBTQ+ อาจจะเป็นเมืองไหนก็ได้ตราบใดที่คน ๆ นั้นพึงพอใจที่จะอยู่ อยู่แล้วมีความสุข สุขภาพกายสุขภาพจิตดี และมีความรักให้แก่กัน

ภาพปก: pixabay.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์