อื่นๆ

เมื่อลูกติดเกม และเริ่มคุยกับคนแปลกหน้า

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เมื่อลูกติดเกม และเริ่มคุยกับคนแปลกหน้า

ภาพแอนิเมชั่นผู้ชาย

ในยุคที่โรคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโรน่า 2019 รายล้อม สังคม ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง จากยุคที่เรียกว่า "ไปมาหาสู่กัน" กลับกลายมาเป็นยุค "โลกออนไลน์" ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ สังคมชนบท สังคมเมือง ล้วนแต่ปรับตัวให้เข้ากับมาตรการของภาครัฐต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด จนทำให้คำว่า "โลกออนไลน์" เข้ามาแทนที่พฤติกรรมมนุษย์ส่วนมากเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเรียน การเล่น ล้วนแล้วแต่ผ่านแพลตฟอร์มของโลกออนไลน์ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ล่อตาล่อใจมากที่สุดนั่นคือ "เกมออนไลน์" และกลุ่มคนที่จะถลำลึกได้มากกว่าคนทุกช่วงวัย เป็นช่วงวัยที่ขาดความยับยั้ง ชั่งใจ ความรู้สึกนึกคิดที่น้อยกว่า การตัดสินใจทางอารมณ์ที่ต่ำกว่าทุกช่วงวัย นั่นคือวัยเด็ก หากลูกหรือเด็กในครอบครัวเรามีพฤติกรรมติดโลกออนไลน์กับเพื่อนในชั้นเรียนเดียวกัน หรือช่วงชั้นอายุไล่เรี่ยกันก็คงจะไม่มีปัญหามากเท่าใด เพราะเราอาจจะพูดคุยกับลูกหรือเด็กได้ง่ายยิ่งกว่า แต่เมื่อลูกติดเกม และเริ่มคุยกับคนแปลกหน้ามากขึ้น ซึ่งเป็นใครมาจากไหนก็ไม่รู้ พ่อแม่ หรือคนในครอบครัวจะมีวิธีการรับมืออย่างไรได้บ้าง

Advertisement

Advertisement

ภาพดวงตาของเด็ก

ในยุคของโลกเกมออนไลน์ทุกวันนี้มีความสมจริง และที่สำคัญเชื่อมคนทั่วทุกมุมโลกได้เพียงแค่ผ่านแพลตฟอร์มทางใดทางหนึ่งได้เพียงปลายนิ้ว ซึ่งเกมออนไลน์มีทั้งประโยชน์และโทษได้ในคราวเดียวกัน เราจะไม่กล่าวถึงแต่โทษของเกมออนไลน์เพียงอย่างเดียว เพราะทุกวันนี้ เกมออนไลน์ก็สร้างอาชีพให้กับเด็กยุคออนไลน์นี้อย่างมากมายเช่นกัน เพราะฉะนั้นหากพ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าใจ รับรู้สภาพแวดล้อมการเผชิญหน้าดูจะเป็นวิธีการรับมือที่ดีที่สุด ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าปัญหาเด็กติดเกมออนไลน์แบบนี้คงเกิดขึ้นกับหลาย ๆ ครอบครัว บางครอบครัวอาจห้าม ยึด งด จนสุดท้ายเข้าสู่โหมดทำโทษ อาจจะทำให้ปัญหาที่เจออยู่แย่ลงไปเรื่อย ๆ เด็กจะปิดกั้นคุณจากทุก ๆ สภาพชีวิตที่เขาได้เจอ จนอาจทำให้เกิดภาวะเครียดและเริ่มหันไปคุยกับคนอื่น ๆ แทนคุณ และหากคนแปลกหน้าเข้ามาแทนที่คุณได้ อาจจะดีหรือแย่ ย่อมบอกไม่ได้อีกเช่นกัน ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอยกมุมมองจากการที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณหมอด้านจิตแพทย์เด็ก ดังนี้

Advertisement

Advertisement

ภาพคนกำลังเล่นเกมออนไลน์

1. เมื่อรู้ถึงสภาพแวดล้อมของเด็ก หรือ ลูกแล้ว สิ่งที่ต้องรับมือให้ได้ก่อนคือการยอมรับ และกำหนดขอบเขต เราจะไม่ห้ามให้เด็กหรือลูกหยุดพฤติกรรมที่เขากำลังทำอยู่ เช่น สั่งห้ามไม่ให้เขาได้เล่นเกมอีกเพราะว่าเขากำลังคุยกับคนแปลกหน้าคนนี้อยู่ ซึ่งจะทำให้เด็กต่อต้าน เพราะเขาก็คงจะงงว่า ห้ามทำไม หนูทำอะไรผิด คนแปลกหน้าคนนี้ก็เป็นคนดีนี่ ห้ามเราคุยทำไม ดังนั้น เราจึงต้องปรับจากการห้ามมาเป็นการกำหนดขอบเขตของการเล่นเกมหรือการคุยกันระหว่างลูกและคนแปลกหน้าคนนั้นแทน เช่น การเบี่ยงเบนความสนใจเด็กในช่วงเวลาที่เขากำลังจะได้เล่นเกม แทนที่ช่วงเวลานั้น เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่เค้ามีความสนใจหรือชอบแทน อาจจะเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ภายในครอบครัว เช่น ออกไปทานข้าวนอกบ้าน ดูหนังร่วมกัน เล่นเกมอื่น ๆ ร่วมกัน ก็จะช่วยลดทอนเวลาการเล่นเกมออนไลน์หรือผ่านจอได้น้อยลงด้วย

Advertisement

Advertisement

2. ไต่ถามด้วยคำถามเชิงบวก ไม่ใช่จี้ถามเพื่ออยากได้คำตอบที่เราต้องการ เช่น เล่นกับคนแปลกหน้าคนนั้นอีกแล้วใช่มั้ย แต่ลองเปลี่ยนมาเป็นคำถามที่ลูกสบายใจมากกว่า เช่น "คนเมื่อวานที่หนูเล่นเกมด้วย แพ้หรือชนะกันล่ะ" แล้ววันนี้จับทีมเดียวกันอีกมั้ย" "สนุกมากเลยสิท่า" ทั้งนี้ เพื่อชวนลูกคุย และลูกอาจจะยอมเปิดใจพูดคุยกับพ่อแม่หรือผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น

3. สอนวิธีรับมือให้ลูกหรือเด็กรู้จักระวังตัวกับการคุยกับคนแปลกหน้า ในเมื่อลูกหรือเด็กเริ่มคุยกับคนแปลกหน้าไปแล้ว การห้ามอาจจะยิ่งลำบาก แต่การพูดคุยเชิงสอนให้รู้จักรับมือ ป้องกันตนเองจากคนแปลกหน้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เช่น หากเป็นเพียงการเล่นเกมออนไลน์ การบอกข้อมูลส่วนตัว หรือการบอกข้อมูลภายในครอบครัวล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ข้อมูลของคนภายในบ้านต้องบอกกับลูกว่า "หนูรู้มั้ย แม่ดูจากข่าว ทุกวันนี้โลกออนไลน์น่ากลัวมากเลย ข้อมูลส่วนตัวแม้เพียงเล็กน้อย ทำให้คนโดนหลอกหมดเนื้อหมดตัว มันจะแย่แค่ไหนกันถ้ามันเกิดขึ้นกับครอบครัวของเรา" เป็นต้น

ภาพเด็กกำลังปลอบใจกันแบ่งกันการเล่นของเล่น

4. อีกหนึ่งประการที่สำคัญมาก ๆ นอกเหนือจากการสอนให้รู้จักระวังตัวแล้ว การสอนให้ลูกไม่เบียดเบียน หรือสอนให้รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วย คือสิ่งที่สำคัญด้วยเช่นกัน เพราะคำว่าไม่เบียดเบียน นั่นรวมถึงการที่ลูกหรือเด็กของเราจะรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่รังแกผู้อื่นทั้งทางวาจา กาย และจิตใจ การถากถาง การเอารัดเอาเปรียบ หรือการก่อการทุจริตต่อผู้อื่นเป็นเรื่องที่ผิดและไม่เป็นที่ยอมรับ จึงต้องสอนให้เขารู้จักว่า หากลูกหรือเด็กทำผิดย่อมต้องถูกลงโทษ หากเกิดขึ้นภายในครอบครัว แน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองย่อมสามารถทำโทษลูกได้ในสถานต่าง ๆ อาจจะเบา หรือหนัก หรือแล้วแต่สถานการณ์ แต่หากลูกหรือเด็กได้เบียดเบียนผู้อื่นมากเกินไปจากครอบครัวแล้วละก็ แน่นอนว่า การได้รับการลงโทษย่อมมากกว่าคนในครอบครัวเช่นกัน ดังนั้น การสอนให้ลูกรู้จักผิด ชอบ ชั่วดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญและควรเน้นย้ำเช่นกัน

ภาพการ์ตูนพ่อและลูกเล่นเกมด้วยกัน

ท้ายที่สุดแล้ว การรับมือหรือการแก้ปัญหาจะประสบผลสำเร็จไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือทั้งสองฝ่าย หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองบังคับขู่เข็ญแต่เพียงฝ่ายเดียวย่อมอาจจะเกิดความเครียดขึ้นได้ทั้งสองฝ่าย ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ ภายในครอบครัว เพราะเราก็เคยเป็นเด็กมาก่อน หากแต่เด็กในยุคนี้ วัยนี้ มีความคิดที่แตกต่างจากคนยุคเรา ซึ่งไม่ว่าเค้าจะคิดหรือตัดสินใจกระทำการสิ่งใด ผู้ใหญ่ยุคเราได้แค่มองสิ่งที่เขาทำ หากแม้เพียงชี้นำเล็กน้อยหากความคิดเห็นไม่ตรงกันเขาก็อาจจะเข้าใจเจตนาของคนยุคเราต่างไปได้ ดังนั้น การรับฟังคงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดอีกด้วยเช่นกัน เมื่อเค้าต้องการคำชี้แนะจึงเสนอดู แต่หากเขาไม่ได้ลองทำตาม พ่อแม่หรือผู้ปกครองก็ไม่ต้องน้อยใจ หากมองเป็นมุมบวกว่า ดีแค่ไหนแล้วที่ลูกหรือเด็กของเราให้ความสำคัญกับเราอย่างจริงใจ

ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพจาก www.canva.com

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ChatnapaB
ChatnapaB
อ่านบทความอื่นจาก ChatnapaB

นักสร้างคอนเทนต์ที่อยากติดเทรนด์

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์