อื่นๆ

เมื่อเกิดโรคระบาดบนเรือสำราญ

375
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เมื่อเกิดโรคระบาดบนเรือสำราญ

เครดิตภาพปกจากpixabay

สมัยที่ผู้เขียนไปทำงานเรือสำราญ..บริษัทเรือของอเมริกัน..สิ่งแรกที่ถูกปลูกฝังแทบจะล้างสมองกันเลยคือเรื่องความสะอาด..ให้ล้างมือบ่อยด้วยน้ำสบู่ประมาณ 20 วินาที หรือล้างไปแล้วร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ธเดทูยูไปด้วยหนึ่งจบ..ล้างเสร็จแล้วก็เช็ดด้วยกระดาษชำระให้มือแห้ง..กระดาษที่เช็ดมือต้องเป็นแบบที่ใช้แล้วทิ้งไปเลย

เมื่อไปตามจุดต่างต่างในเรือก็ให้ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือให้บ่อย โดยเฉพาะตรงประตูหน้าห้องอาหารก่อนเข้าไลน์บุฟเฟต์หรือก่อนเข้าเรือ นิสัยล้างมือบ่อยนี้ติดตัวผู้เขียนมายันบัดนี้ บนเรือสำราญ..ถ้าใครมีอาการป่วยด้วยไวรัสจะถูกจับแยกกักตัวทันที..โดยเฉพาะถ้ามีอาการอ้วกหรืออาเจียน..ไอ้ไวรัสตัวนี้ชื่อโนโร ไวรัส (Noro Virus)..ถ้าเป็นคนนึงมันจะแพร่กระจายไปในเรืออย่างรวดเร็ว

หมอจะจับขังไว้ในห้องดูอาการ 72 ชั่วโมง..ก็ไม่รู้ว่าเค้ารีฟันด์เงินคืนให้ยังไงนะ..ใครมาเที่ยวแล้วเจอแบบนี้ก็คงเซ็ง..เพราะบางคนอาจจะแค่เวียนหัวเมาเรือหรือแฮงก์เหล้ามา..แต่ดันมาอ้วกให้เห็นก็โดนจับกักตัวทันท ที่เล่ามาเนี่ย..อยากบอกว่า..การกักตัวดูอาการนี่สำคัญนะ..ไม่ให้เชื้อมันแพร่กระจาย..ล้างมือบ่อยให้สะอาดเพราะว่าเราเราต้องใช้มือสัมผัสโน่นนี่นั่นตลอดเวลา..โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อเลยผู้เขียนกับเรือซันปริ๊นเซส

Advertisement

Advertisement

เครดิตภาพ..ผู้เขียนกับเรือซันปริ๊นเซสที่ญี่ปุ่น

มีระเบียบปฏิบัติของลูกเรืออยู่ข้อนึงเวลาเจ็บป่วย ถ้ารู้สึกตัวว่าไม่สบายให้แจ้งหัวหน้า แล้วรีบกลับลงไปห้องพักของตัวเองทันที ห้ามเพ่นพ่านไปไหน หลังจากนั้นให้โทรไปแจ้งเมดิคอลเซ็นเตอร์ หมอก็จะซักไซร้อาการเบื้องต้นแล้วจะบอกว่าต้องทำไงต่อ ซึ่งโดยมากก็จะถูกย้ายไปที่ห้องกักตัว

ส่วนห้องพักของเราก็จะมีทีมเจ้าหน้าที่มาทำความสะอาดฆ่าเชื้อกันยกใหญ่ เพื่อนร่วมห้องออกเวรกลับมาบางทีก็ยังเข้าห้องไม่ได้ เค้ามีเวลาในการฆ่าเชื้ออยู่ (ห้องพักลูกเรือ 1 ห้องอยู่กัน 2 คน) การกักตัวนี้ก็ห้ามออกจากห้องเด็ดขาด รู้สึกว่าจะมีคนนั่งเฝ้าหน้าห้องด้วย เมื่อถึงเวลากินให้โทรไปสั่งเจ้าหน้าที่รูมเซอร์วิส คุณเอ๊ย อาหารคนป่วยโคตรจะไม่อร่อย แต่นี่คือมาตรการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปทั่วเรือ ถ้าเรือต้องหยุดวิ่งเพราะมีเชื้อแพร่กระจายทำให้มีคนป่วยมาก จะเกิดความเสียหายต่อบริษัทประมาณสองล้านดอลลาร์สหรัฐ ตรงนี้จึงเข้มงวดมาก

Advertisement

Advertisement

ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ครั้งหนึ่ง รู้สึกเป็นไข้ไม่สบาย ตัวร้อนมาก หมอส่งไปห้องกักตัวทันทีหนึ่งคืน พอตอนเช้าไปเช็กใหม่ หมอบอกว่าเป็นไข้ธรรมดากินยาสองวันก็ทำงานต่อได้ กินยานอนพักสองวันก็หายจริงจริง ถ้าหมอสั่งให้ต้องหยุดงานกักตัวนี้ ลูกเรือจะได้ค่าจ้างตามปรกติไม่ถูกหักเงินแต่อย่างใด

ในห้องอาหาร

เครดิตภาพ..ผู้เขียนขณะทำงานในห้องอาหารบนเรือสำราญ

เมื่อมีการแพร่ระบาดบนเรือ

ในแต่ละครูซ (Cruise) ที่รับผู้โดยสารขึ้นมาใหม่ ถ้ามีเคสผู้โดยสารป่วยทีมคุณหมอก็จะทำการบันทึกไว้ โดยเฉพาะเคสโนโรไวรัส ไวรัสตัวนี้เป็นไวรัสเกี่ยวกับทางเดินอาหาร จะมีอาการหลักๆ คือท้องเสีย อ้วกอาเจียน แล้วรายงานให้กัปตันทราบ ถ้ามากถึงในระดับหนึ่ง กัปตันจะประกาศให้ลูกเรือทราบว่า ตอนนี้เรามีการแจ้งเตือนโรคระบาดในระดับเหลือง (Yellow alert) และถ้าตัวเลขผู้ป่วยยังไม่หยุด กัปตันก็จะประกาศเรด อเลิร์ท (Red alert) ทีนี้ล่ะ นรกเลยสำหรับพนักงานห้องอาหารอย่างเรา

Advertisement

Advertisement

งานจะหนักขึ้นเป็นสองสามเท่า เพราะต้องดูแลระวังเรื่องความสะอาด เช่น.

1..เข้มงวดขึ้นเรื่องการใช้แอลกอฮอล์ก่อนเข้าห้องอาหาร..

2..ที่ห้องบุฟเฟต์จานอาหารเปลี่ยนมาใช้เป็นจานกระดาษ..ช้อนส้อมพลาสติก

3..ห้ามลูกค้าตักอาหารบนไลน์บุฟเฟต์เอง..ต้องจัดพนักงานไปยืนตักให้..

4..พนักงานที่ทำงานในไลน์บุฟเฟต์ห้ามสวมแหวน..นาฬิกา..

5..บนโต๊ะอาหารก็ไม่มีการเซ็ตอัพอะไร..แม้แต่เกลือพริกไทย..ลูกค้าขอทีก็เอาไปเหยาะให้ที..หรือใช้แบบที่บรรจุในซองกระดาษ

6..เมื่อลูกค้าลุกไปแล้วก็ต้องเช็ดโต๊ะทำความสะอาดด้วยน้ำยาหรือคลอลีนแบบสูตรเข้มข้น

7..หลังจากนำถ้วยจานไปเคลียร์ที่ล้างจาน..ก็ต้องล้างมือให้สะอาด..บางครั้งถึงกับต้องจัดคนมายืนเฝ้า..เมื่อล้างมือเสร็จแล้วให้เดินออกอีกประตูด้านหนึ่ง..ห้ามเดินย้อนทางเข้า

8..ถาดที่ใส่จานสกปรกยกมาก็ให้ล้างไปด้วยเลย..ก่อนนำมาใช้อีก..บางทีเสิร์ฟน้ำแค่แก้วเดียวก็ต้องเอาถาดใส่เครื่องล้างจานไปด้วยเลย

พอจะมองเห็นถึงความยุ่งยากในการทำงานหรือยัง??

เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อห้องอาหารปิดตอนกลางคืน ต้องนำเครื่องมือช้อนส้อม มีด จิปาถะมากมาย ออกมาล้างแล้วเช็ดทำความสะอาดให้แห้ง กว่าจะได้เข้านอน เฮ้อ เมื่อจบครู้ซ ผู้โดยสารชุดนี้ลงเรือไปแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราต้องทำความสะอาด ซานิไทซ์ (sanitize) กันยกใหญ่ ก่อนที่ผู้โดยสารชุดใหม่จะขึ้นมา

เชื่อว่าลูกเรือหลายคนติดนิสัยอนามัยจัดกลับมาบ้านโดยไม่รู้ตัว ผู้เขียนก็เช่นกัน

ในห้องอาหารเครดิตภาพ ผู้เขียนในห้องอาหารบนเรือสำราญ

ลูกเรือบนเรือสำราญเครดิตภาพ ภาพจากเพจ Princess Cruises


คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์