อื่นๆ
เรียนรู้เทคนิค Output จากเอกลัพธ์สุดยอดนักยิงธนูมหาภารตะยุทธ
ในตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนชอบอ่านการ์ตูนเรื่องสั้น สาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่ ของพี่เฟน สตูดิโอ โดยเฉพาะเรื่อง "ศึกมหาภารตะ" เป็นเรื่องราวการต่อสู้รบระหว่างพี่น้องสองตระกูล มีเนื้อเรื่องพิศดาร เต็มไปด้วยอภินิหารที่เกิดจากแรงอธิฐานต่อองค์เทพต่าง ๆ ที่ได้อวยพรอวยชัยให้ตัวละครมีฤทธิ์มีเดช บ้างก็มีอาวุธวิเศษ บ้างก็ได้พรให้เป็นอมตะ แต่โดยส่วนตัวผู้เขียนชื่นชอบตัวละครนามว่า "เอกลัพธ์" ซึ่งไม่ได้เกิดมามีพลังวิเศษเป็นเพียงลูกชายของราชาพรานป่าและมีความฝันว่าอยากเป็นสุดยอดนักยิงธนู และแน่นอนว่าในมหาภารตะมีสุดยอดอาจารย์ก็คือ โทรณาจารย์ เอกลัพธ์จึงเดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์แต่โดนปฏิเสธ เพราะโทรณาจารย์รับสอนเฉพาะผู้ที่มีวรรณะกษัตย์
ถึงแม้จะผิดหวังแต่ด้วยแรงศรัทธา เอกลัพธ์ปั้นรูปเคารพเสมือนโทรณาจารย์ขึ้นมา โดยในทุก ๆ เช้าก่อนจะฝึกยิงธนูเอกลัพธ์จะบูชารูปปั้น และมุ่งมั่นในการฝึกด้วยตัวเองอย่างแข็งขันฝีมือจึงเริ่มพัฒนาจนเรียกได้ว่าเก่งกาจและพิศดารหาตัวจับได้ยาก
Advertisement
Advertisement
แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่ง อรชุนผู้หล่อเหล่าและเป็นศิษย์รักของโทรณาจารย์ได้เห็นฝีมือยิงธนูของเอกลัพธ์จึงไถ่ถามถึงอาจารย์ เอกลัพธ์ตอบไปว่าอาจารย์ของตนนั้นคือ โทรณาจารย์ อรชุนจึงกลับไปต่อว่าผู้เป็นอาจารย์ว่าไม่รักษาสัญญาที่บอกว่าจะฝึกตนให้เป็นสุดยอดนักยิงธนูที่เก่งที่สุดในแผ่นดิน โทรณาจารย์เห็นท่าไม่ดีจึงเดินทางไปหาเอกลัพธ์พร้อมอรชุน พร้อมกับแก้ปัญหาด้วยวิธีการตัดไฟเสียต้นล้มด้วยการขอคุรุทักษิณา ค่าตอบแทนบุญคุณครูผู้ให้ความรู้ เป็นนิ้วหัวแม่มือข้างขวา ด้วยความศรัทธาในอาจารย์เอกลัพธ์จึงยอมตัดนิ้วมือบูชาครู ดับฝันเอกลัพธ์ที่จะกลายเป็นสุดยอดนักยิงธนู
สิ่งที่ผู้เขียนสนใจไม่ใช่ตอนจบของเอกลัพธ์ แต่คือข้อสังเกตว่าคนเราสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองแบบไม่ต้องมีครูมานั่งสอนเป็นตัวเป็นตนก็ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่เก่งขึ้นได้ ข้อสังเกตต่อมาก็คือการลองผิดลองถูกในการเรียนรู้สิ่งสำคัญคือการลงมือปฏิบัติ แสดงว่าหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเอกลัพธ์คือการปล่อยลูกธนู แล้วกลับมาทบทวนว่าในการยิงแต่ละครั้งนั้นมีข้อผิดพลาดที่ควรแก้ไขอย่างไร และจะพัฒนาอย่างไรให้ดีขึ้น การฝึกยิงธนูครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้ผู้เขียนนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า "The Power Of Output พลังแห่งการปล่อยของ" โดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจว่าต่อให้เราอ่านหนังสือ หรือนำเข้าข้อมูลมากขนาดไหนก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเข้าใจสิ่งนั้นอย่างแท้จริงเป็นเพียงการ Input เพื่อตอบสนองความพึงพอใจและหลงคิดไปว่ารู้สิ่งนั้นแล้ว หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ผู้เขียนรู้สึกอึ้งมาก เพราะโดยส่วนตัวก็เป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แต่พอจะถ่ายทอดออกไปกลับพบว่าไม่รู้จะอธิบายอย่างไรดี จึงได้รู้ว่าตนเองนั้นมีปัญหาในการ Output อ่อนด้อยในการแสดงผลลัพธ์ ทั้งๆที่มีไอเดียแต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้งานได้
Advertisement
Advertisement
คำถามสำคัญคือ "แล้วเราจะเริ่มพัฒนาการ Output ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตการทำงานได้อย่างไร"
ถ้าเอกลัพธ์ Output ด้วยการยิงธนู ลูกศรคือตัวแสดงผลลัพธ์ ผู้เขียนคิดว่าเราสามารถใช้วิธีเดียวกันได้ด้วยการใช้ปากกา หรือดินสอ ส่วนวิธีการคือเขียน To-Do-List ก่อนไปทำงานเพื่อใช้เป็นดาวเหนือของเราในแต่ละวัน ในภาพจะเห็นว่าหากเป็นงานที่ติดท้ายว่า Input ขอให้พึงระลึกเอาไว้ว่าจะต้องทำการ Output ออกมาด้วย ยกตัวอย่าง(การประชุมภัยออนไลน์ Input ) ก็ให้ทำการ Output สรุปประเด็นที่น่าสนใจลงในโปรแกรม Word หรือ สมุดโน๊ต แต่กระบวนการ Output ยังไม่จบแค่เพียงจดลงไปที่สมุดโน๊ต เพราะต่อจากนี้ต่างหากคือขั้นตอนที่สำคัญมากนั้นคือ การโต้ตอบกับประเด็นที่คุณสนใจ คุณคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไร จากนั้นค่อย ๆ Output ออกมาให้กลายเป็นภาษาของคุณเอง สุดท้ายนี้การคุรุทักษิณาเอกลัพธ์ที่เป็นแรงบันดาลใจของบทความชิ้นนี้คงไม่มีอะไรดีัเท่าการฝึกฝนด้วยตัวเองอย่างมุ่งมั่นและพยายาม Output ออกมาในเวอร์ชั่นที่เหมาะสมกับตัวเราก็ถือว่าดีที่สุดแล้วค่ะ
Advertisement
Advertisement
หมายเหตุ : เป็นเพียงการวิเคราะห์ตามความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้เขียน หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพ
- หน้าปก แต่งภาพโดยใช้โปรแกรม CANVA โดยผู้เขียน
- รูปภาพประกอบที่ 1 / แต่งภาพโดยใช้โปรแกรม CANVA โดยผู้เขียน
- รูปภาพประกอบที่ 2 /แต่งภาพโดยใช้โปรแกรม CANVA โดยผู้เขียน
- รูปภาพประกอบที่ 3 /แต่งภาพโดยใช้โปรแกรม CANVA โดยผู้เขียน
- รูปภาพประกอบที่ 4 /แต่งภาพโดยใช้โปรแกรม CANVA โดยผู้เขียน
- รูปภาพประกอบที่ 5 /แต่งภาพโดยใช้โปรแกรม CANVA โดยผู้เขียน
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น