อื่นๆ

“แก้ที่ต้นเหตุ” - Economics

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
“แก้ที่ต้นเหตุ” - Economics

หากกล่าวโดยย่นย่อจุดเริ่มต้นของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เริ่มมีมาตั้งแต่ในยุคสมัย ของนักปราชญ์กรีกโบราณ ณ ช่วงเวลานั้น แนวคิดนี้ ยังไม่ถูกเรียกว่า “เศรษฐศาสตร์” เป็นเพียงการจัดการในครัวเรือนเท่านั้นต่อมาในภายหลังจึงถูกพัฒนาเป็นวิชาเศรษฐศาสตร์

ตัวผมเองหรือผู้ที่ได้ศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ได้รู้จักวิชานี้ในครั้งแรก ตามที่ตำราเรียนกล่าวไว้ว่า “วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) คือ วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด โดยมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด”

e1
คำกล่าวข้างต้นฟังดูดี มีรสนิยม และอุดมการณ์ พวกเราก็เข้าใจและท่องจำตาม ๆ กันมาสั้น ๆ ว่า “อ๋อ...ทรัพยากรมีจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด ดังนั้นเราจึงต้องจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด”

Advertisement

Advertisement

แต่เมื่ออายุเดินทางมาถึงจุด ๆ หนึ่ง วันที่ผมหงอกเริ่มขึ้นมาทีละเส้นสองเส้น วันที่หลังเริ่มปวดเวลานั่งนาน ๆ วันที่การนอนดึกไม่ใช่เรื่องปกติอีกต่อไป และวันที่ “หัวใจ” สามารถ "เข้าใจ" สิ่งต่าง ๆได้ดีขึ้น ด้วยความที่ทำงานคลุกคลีตีโมงกับศาสตร์นี้มานานพอสมควร จึงเกิดคำถามว่า “ทำไม? เราไม่จำกัดความต้องการของมนุษย์แทน”

เรารู้ทั้งรู้ว่า “ทรัพยากรมีจำกัด” - “แต่เราไม่เคยพอ” มันฟังดูย้อนแย้งพิกล...และเรายังเพียรพยายามจะไปจัดสรรมัน ต้องจัดสรรอย่างไรมันถึงจะเพียงพอ ทำอย่างไรมันถึงจะสำเร็จ และหากแม้ว่า (ดูเหมือน) จะทำสำเร็จก็แค่เพียงชั่วครั้ง ชั่วคราว เพราะ "ความไม่เคยพอ" สุดท้ายมันก็ล้างผลาญทุกสิ่ง ไม่ใช่ความผิดของนักปราชญ์ยุคกรีกหรือความผิดของนักเศรษฐศาสตร์ในยุคต่อ ๆ มา...

หากแต่เนื่องด้วยบริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ในช่วงเวลานั้นโลกยังคงสมบูรณ์และอุดมไปด้วยทรัพยากร ถึงแม้รู้ว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ภาพที่ปรากฏตรงหน้ามันอาจไม่ได้ทำให้เขารู้สึกเช่นนั้นหรือเกิดการ “ตระหนักรู้” เช่นนั้นจริง ๆ

Advertisement

Advertisement

e2
ในยุคสมัยของการล่าอาณานิคมในยุคที่ทรัพยากรเช่น ไม้บางชนิด สัตว์ป่า ไขวาฬ และทองคำ เป็นสิ่งมีค่า (ตอนนี้ทองคำก็ยังมีค่า) ในยุคที่แนวคิดบอกไว้ว่า “เฮ้ย!!! ทรัพยากรมีจำกัดนะ” แต่เรายังไม่ตระหนักถึงมัน (และแม้เดี๋ยวนี้เราหลายคนก็ยังไม่ตระหนักถึงมันอยู่ดี)

นักเศรษฐศาสตร์พยายามมาหลายศตวรรษที่จะจัดการสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ อาจดูมองโลกในแง่ร้ายไปหน่อย แต่เคยมีสักครั้งไหม? ที่การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเท่าเทียมจริง ๆ ระยะห่างระหว่าง “คนมี” กับ “คนไม่มี” ดูเหมือนจะถ่างและห่างออกจากกันมากขึ้นกว่าเดิม หากมองเชิงตรรกะเป็นเหตุเป็นผล ในเมื่อของมันมีเท่านี้แต่คนอยากได้มากกว่านี้มันจะไปจัดสรรให้พอได้อย่างไรได้

e4
กลับไปมองดูที่ต้นเหตุกันดีไหม? จำกัดความต้องการลง จำกัดความอยากให้น้อยลง จำกัดขอบเขตของ “กิเลส” ให้เบาบางลงบ้าง มันอาจไม่ได้ง่ายดายนักในการที่มนุษย์จะจำกัดสิ่งเหล่านี้ จำกัดความต้องการเพียงแค่เพื่อมีชีวิตอยู่ เพราะเราเคยชินเสียแล้วกับวิถีชีวิตประจำวัน สุดท้ายการจัดการความอยากเหมือนจะยากกว่าการจัดการกับทรัพยากรเสียอีก แต่หากลองกลับมามองที่ตนเอง ในปลายทางหากเราไม่รู้จักการจำกัดความอยากได้ อยากมี และเรียนรู้ที่จะพอเพียง ตัวเราเองนั่นแหละที่จะเป็น “ทุกข์”

Advertisement

Advertisement

มิใช่ไม่ต้องใช้จ่ายสิ่งใด ๆ เลย เรายังสามารถใช้ทรัพยากรได้ ยังหาซื้อสิ่งต่าง ๆ ได้ตามแต่ฐานะและความเหมาะสมเฉพาะตน เพียงแค่ต้องรู้จัก "ความพอเพียง" ตามที่เรามีและเราเป็น (ตามอัตภาพ)

"ความทุกข์" ในชีวิตของเราจะลดน้อยลง ทรัพยากรต่าง ๆ จะมีอายุมากขึ้น เชื่อไหม?...หากไม่เชื่อ...ลองทำดู.


ภาพประกอบโดย: Thanit S. East Side (ผู้เขียน)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ThanitSEastSide
ThanitSEastSide
อ่านบทความอื่นจาก ThanitSEastSide

นักเศรษฐศาสตร์ ผู้ไม่ใช่แค่นักเศรษฐศาสตร์... แต่เพียรหาความหมายอันจริงแท้ของชีวิต ผ่านมุมมองชีวิตและ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์