อื่นๆ

แคนโต้ไทย style กล่อมกวี

150
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แคนโต้ไทย style กล่อมกวี

ทักทายคุณผู้อ่านทุกท่านห่างหายกันไปนานพอสมควรกับการเขียนบทความร่วมกับทางทรูไอดีอินเทรนด์นั่นก็เป็นเพราะช่วงนี้ผู้เขียนไม่ค่อยมีเวลาสักเท่าไหร่หลังจากสถานการณ์โควิด19ในบ้านเราเริ่มคลี่คลายผู้เขียนเองก็น่าจะเหมือนกับใครหลายๆคนที่เป็นพนักงานประจำก็ต้องกลับไปทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเองเช่นเดิมพอดีช่วงนี้งานเริ่มซาลงมาบ้างพอมีเวลาว่างก็เลยอยากจะแวะมาทักทายกันเสียหน่อยพอได้หายคิดถึงกันภาพท้องฟ้าสดใส

ก่อนหน้านั้นผู้เขียนได้เคยเขียนบทความเรื่อง "เหงาเมื่อไหร่ให้แต่งกลอน" เอาไว้จนมีใครหลายคนก็ทักทายถามถึงกันมาบ้างพอประปรายผ่านทางเฟสบุคส่วนตัวบ้าง ทาง"เพจกล่อมกวี"บ้าง ลืมแนะนำไปว่าผู้เขียนเองก็มีเพจเล็กๆของตนเองเอาไว้นำเสนอผลงานจำพวกงานเขียนต่างๆ เช่น บทกลอน เรื่องสั้น และบทกวี แนวอื่นๆรวมอยู่ด้วยนะครับหากสนใจก็สามารถเข้าไปติดตามอ่านกันได้ที่เฟสบุค"เพจกล่อมกวี" ครับ คราวนี้เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าจากการที่ทำกลุ่ม ทำเพจและเขียนบทความเกี่ยวกับการแต่งกลอนมาได้สักระยะหนึ่งผู้เขียนก็เริ่มที่จะหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเกี่ยวกับงานที่เขียนอันนี้เรียกได้ว่าเริ่มจากความสนใจส่วนตัวก่อนเลยก็ว่าได้ซึ่งก็แปลกดีที่พอได้ศึกษาอะไรเพิ่มมากขึ้นรู้มากขึ้นเราก็จะเริ่มมองหาอะไรที่มันมักจะต่างออกไปเพื่อหลีกหนีความจำเจการเขียนหรือการแต่งกลอนก็เช่นกัน จากปกติที่ผู้เขียนจะเขียนกลอนแปด กลอนสุภาพ และโคลงไทย ที่มีหลักการกำหนดฉันทลักษณ์ที่ชัดเจนแบบดั้งเดิมในช่วงหลังผู้เขียนก็เริ่มหันมาสนใจที่จะเขียนกลอนแนวประเภท กลอนเปล่า กวีสามบรรทัด แคนโต้ และไฮกุแบบญี่ปุ่นมากขึ้น ภาพแคคตัสพร้อมบทกวีแคนโต้

Advertisement

Advertisement

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลยอันที่จริงจากที่ได้ศึกษามาพอสมควรผู้เขียนก็ได้ทราบว่าบทกวีประเภทนี้ได้เข้ามาอยู่ในแวดวงวรรณกรรมของบ้านเรานานแล้วคร่าวๆน่าจะตั้งแต่ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมากันเลยทีเดียว เสน่ห์ของกลอนเปล่าจำพวกไฮกุของญี่ปุ่นซึ่งพอเปลี่ยนมาเป็นเวอร์ชั่นภาษาไทยก็จะเป็นแนวร่วมสมัยเรียกว่า "แคนโต้" ซึ่งเมื่อค้นลึกลงไปอีกก็จะพบว่าระหว่าง "ไฮกุ" กับ "แคนโต้" ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้างในแง่ของวิธีคิดซึ่งไฮกุจะเน้นสื่อไปในทางการแสวงหาทางหลุดพ้น แสวงหาความสงบเรียบง่าย ตามแบบของลัทธิเต๋า หรือกวีเซน ส่วนแคนโต้นั้นไม่แน่นอนบ้างก็ดีบ้างก็สื่อถึงอารมณ์ร้าย ในด้านของการกำหนดพยางค์ก็เช่นกันไฮกุจะกำหนดที่สิบเจ็ดพยางค์คือหนึ่งบทมีสามบาทบาทละหนึ่งวรรคเป็นสามบรรทัดได้รูปแบบ 5-7-5 ส่วนแคนโต้เน้นแค่กระชับหนึ่งบทมีสามบาทเช่นกันหากแต่ไม่จำกัดพยางค์ในแต่ละวรรคภาพใยแมงมุมพร้อมแคนโต้ประกอบ เสน่ห์ของไฮกุและแคนโต้นั้นยังพบได้อีกว่าเป็นความเรียบง่ายในบทกวีเป็นการสื่อถึงความรู้สึกนึกคิดที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พบเห็นขณะนั้นแล้วนำมาเรียงร้อยด้วยถ้อยคำที่ประหยัดกระชับและตรงไปตรงมา หากแต่เมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้วกลับจะรับรู้ได้ถึงพลังแห่งความรู้สึก เข้าถึงอารมณ์ร่วมในเหตุการณ์ หรือเข้าถึงแม้กระทั่งจิตวิญญาณของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่แฝงอยู่มากมายในโลกใบนี้กันเลยทีเดียวภาพกบพร้อมแคนโต้ประกอบ

Advertisement

Advertisement

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับบทกวีสามบรรทัดในแบบฉบับที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปอย่างที่บอกเนื่องจากบทกลอนหรือกวีแนวนี้เป็นการนำเอาเหตุการณ์หรือสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้ามานำเสนอผ่านกลุ่มคำ ซึ่งนอกจากจะให้ความสดใหม่ในเชิงของอารมณ์แล้วในความเรียบง่ายของวิธีคิดที่ส่วนใหญ่ก็จะมาจากวิถีชีวิตของทุกคนที่ต้องเจออยู่แล้วประโยชน์อีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้เขียนที่อยากจะเพิ่มเติมลงไปก็คือ เป็นการฝึกจิตและสมาธิไปในตัวด้วยแหละครับ มาถึงตรงนี้หากคุณผู้อ่านต้องการอ่านผลงานแคนโต้ไทยสไตย์กล่อมกวีเพิ่มเติมก็สมารถติดตามผลงานของผู้เขียนได้ที่ "เพจกล่อมกวี" ได้เลยจ้าคุณๆ😁😁😁

บทความและแคนโต้ประกอบโดย : กล่อมกวี

ขอบคุณภาพประกอบจาก : pixabay

ภาพปก by Katzenfree50, ภาพที่1 by stux,ภาพที่2 by sweetlouise ,ภาพที่3 by kareni และภาพที่4 by FrankWinkler

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
กล่อมกวี
กล่อมกวี
อ่านบทความอื่นจาก กล่อมกวี

รีวิวเกี่ยวกับหนังสือ ท่องเที่ยว และอาหาร

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์