ไลฟ์แฮ็ก

แชร์ประสบการณ์ ปัญหาแอร์ DAIKIN เปิด-ปิด เอง พร้อมแนวทางแก้ไข

37.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
 แชร์ประสบการณ์ ปัญหาแอร์ DAIKIN เปิด-ปิด เอง พร้อมแนวทางแก้ไข

สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้ผมไม่ได้จะมาเล่าเรื่องเร้นลับ ”ผีช่องแอร์” แต่อย่างใด แต่จะขอมาแบ่งปันประสบการณ์ การซ่อมแอร์ไดกิ้น ที่พบว่ามีลักษณะอาการเปิด และ ปิดเองโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบด้วยตัวเองในเบื้องต้น ต่อด้วยการโทรแจ้งศูนย์บริการ และ จบด้วยการให้ช่างแอร์เข้ามาดำเนินการซ่อมที่บ้าน


ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ผมใช้แอร์ไดกิ้น 12,000 BTU ตัวนี้มาแล้วกว่า 5 ปี แต่การใช้งานถือว่าไม่ได้หนักอะไร เพราะห้องที่ผมอยู่ไม่ร้อน เลยเปิดแอร์บ้างไม่เปิดบ้าง บางเดือนไม่เปิดเลยก็มี แต่พอมาถึงช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา อากาศบ้านเราร้อนมาก ไม่ไหวจริง ๆ ทำให้ผมกลับมาเปิดใช้แอร์อย่างต่อเนื่องอีกครั้ง แล้วพบว่าแอร์มีอาการผิดปกติ 3 ข้อดังนี้


1. แอร์เปิดและปิดเอง โดยที่เราไม่ได้ทำอะไรกับรีโมทเลย โดยระยะเวลาจากตอนที่เปิดถึงตอนที่ปิดเองไม่แน่นอน เร็วบ้างช้าบ้างสลับกัน

Advertisement

Advertisement


2. แอร์มีแต่ลมออกมา และ บางครั้งไม่มีแม้แต่ลมออกมาเลย

3. คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน และ บางครั้งทำงานแค่ 10-30 วินาทีแล้วก็หยุดทำงานไปเลย


4. ไฟ Timer ที่อยู่ด้านล่างของไฟ Power กระพริบตลอดก่อนแอร์จะดับ (ซึ่งเวลาแอร์ทำงานปกติไฟ Power จะติดดวงเดียว)

ไฟขึ้นเมื่อแอร์ทำงานปกติ เบื้องต้นได้ค้นหาข้อมูลจากในคู่มือการใช้งานก่อนเป็นอันดับแรก จึงได้รู้ว่า ไดกิ้นมีระบบ ERROR CODE ให้เราสามารถตรวจในเบื้องต้นผ่านรีโมทแอร์ โดยให้กดที่ปุ่ม “CANCEL” ค้างเอาไว้ประมาณ 5 วินาที หน้าจอรีโมทจะเปลี่ยนจากเลขอุณหภูมิเป็นเลข 00 เรากดปุ่ม CANCEL ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีเสียงดัง”ปิ๊บ”ยาวดังขึ้น รหัสที่บอกอาการผิดปกติจะโชว์หน้าจอรีโมท เราก็เอารหัสนั้นไปตรวจสอบกับตารางโค้ดในคู่มือหรือตรวจในเวปไซต์ของไดกิ้น ดูว่าปัญหาเกิดจากอะไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อช่างให้เตรียมอะไหล่เข้ามาซ่อม

Advertisement

Advertisement

วิธีเช็ค Error Code
แต่ในกรณีของผมตรวจสอบแล้วไม่พบ ERROR CODE จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการ โทรแจ้งศูนย์ไดกิ้นเพื่อบอกอาการผิดปกติของแอร์ให้ทางพนักงาน Call Center ของไดกิ้นรับข้อมูลเพื่อเอาไปให้ช่างแอร์วิเคราะห์อาการ โดยที่ผมบอกถึงอาการผิดปกติโดยละเอียดตามที่ระบุไว้ 4 ข้อด้านบน ช่างแอร์วิเคราะห์อาการเสร็จจึงให้ Call Center โทรแจ้งสาเหตุที่คาดว่าแอร์เสีย, ราคาประเมินค่าอะไหล่ + ค่าแรง + ค่าตรวจเช็ค (รวมทั้งหมดประมาณ 2,700 บาท) และ นัดวันเข้าซ่อม ผมตอบรับนัดโดยไม่ลังเล ซึ่งขั้นตอนการบอกอาการผิดปกติของแอร์นั้นสำคัญมาก เพราะถ้าเราบอกอาการไม่ละเอียดพอ ช่างอาจวิเคราะห์สาเหตุผิด และ อาจจะทำให้จัดเตรียมอะไหล่ในวันเข้ามาซ่อมผิดหรือเตรียมมาไม่ครบ ซึ่งทำให้เสียเวลากันทั้ง 2 ฝ่าย


ในกรณีของผมช่างแอร์วิเคราะห์เบื้องต้น โดยเขียนไว้ในใบแจ้งซ่อมว่า สาเหตุเกิดจาก คอมเพรสเซอร์ และ แฟนคอยล์ ไม่ทำงาน จึงได้เตรียมอะไหล่มา 2 ชิ้นเพื่อมารองรับการซ่อมคือ แผงคอนโทรลคอยล์เย็น (ราคาประมาณ 1,400 บาท) และ ตัวรับสัญญาณรีโมท (ราคา 216 บาท) ซึ่งผมเองก็เตรียมตัวเตรียมใจที่เสียเงินประมาณ 2,700 บาท ให้กับทางศูนย์ไดกิ้นไว้เรียบร้อย

Advertisement

Advertisement

ตัวรับสัญญาณ
แต่แล้วมันก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ผมเตรียมใจเอาไว้ เพราะหลังจากช่างเข้าเช็คอาการของแอร์อย่างละเอียดผลปรากฏว่า แผงคอนโทรลคอยล์เย็น ของแอร์ยังปกติดีและยังคงใหม่อยู่ พบปัญหาเพียงแค่แฟนคอยล์ไม่ทำงาน จึงแจ้งขอเปลี่ยนแค่ตัวรับสัญญาณรีโมทอย่างเดียว ทำให้ผมประหยัดเงินไปถึง 1,400 บาท แถมแอร์กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งผมขอชื่นชมความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของช่างแอร์ไดกิ้นมาก ๆ ที่เขาไม่เอาเปรียบลูกค้าทั้งที่มีโอกาส ทำให้ผมประทับใจบริการหลังขายของไดกิ้นมาก และ ไม่ลังเลที่จะเรียกใช้บริการในครั้งต่อไป

แกะกล่องนี้แล้วเปลี่ยนตัวรับสัญญาณ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กรณีของผมจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับเพื่อน ๆ ที่แอร์มีอาการในลักษณะเดียวกันกับแอร์ของผม เผื่อเอาไว้เป็นไกด์ไลน์ให้ใครสักคนในวันข้างหน้าได้ เพราะช่างไดกิ้นบอกผมว่า ตัวรับสัญญาณรีโมทมักเสียกันอยู่บ่อย ๆ ครับ

ภาพปก และ ภาพประกอบ  :   ภาพถ่ายของผู้เขียนเองทั้งหมด

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์