เพลง

แชร์เรื่องราว คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์กับดนตรีร็อก

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แชร์เรื่องราว คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์กับดนตรีร็อก

นอกจากเพลงลูกทุ่ง, เพลงลูกกรุง, และเพลงสตริงของไทยเราแล้ว คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ยุคปลายอย่างผู้เขียนก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไปในสมัยนั้นที่ชอบฟังดนตรีสากล ความจริงดนตรีสากลเริ่มเข้ามาได้รับความนิยมในบ้านเราตั้งแต่ยุคทศวรรษ 60 แล้ว อันเป็นยุคที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ของผู้เขียนยังเป็นหนุ่มเป็นสาวกันอยู่ ศิลปินที่เป็นที่นิยมที่สุดในช่วงเวลานั้นคือ Elvis Presley, Cliff Richard และ The Beatles ซึ่งถือว่าเป็นตำนานของวงดนตรีร็อกจากอังกฤษที่ส่งอิทธิพลไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็มีวงดนตรี The Rolling Stones ที่เรียกว่าเป็นร็อกแบบดิบๆ ในสมัยนั้นและโด่งดังขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน

คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์

ตัวผู้เขียนเองเริ่มฟังดนตรีสากลมาตั้งแต่ประมาณกลางทศวรรษที่ 70s ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่นพอดี ความจริงดนตรีสากลที่เข้ามาสู่ความนิยมในยุคนั้นส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมีรายการเพลงทางวิทยุ นักจัดรายการเพลงสากลที่เป็นที่นิยมเท่าที่พอจำได้ก็ เช่น อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ, สวัสดิ์ ศิริมงคล, วาสนา วีรชาติพลี, วิฑูรย์ วทัญญู, วิทยา ศุภพรโอภาส เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

โดยเฉพาะคุณวิฑูรย์ วทัญญูนี่เป็นดีเจที่ผู้เขียนนิยมชมชอบมากที่สุด เพราะแกเป็นต้นตำรับในการนำเพลง Hard Rock หรือที่เรียกกันว่าเพลง Heavy Metal มาเปิดในรายการและก็ตั้งฉายาให้วงต่างๆเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวง

คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์

คุณวิฑูรย์แกเป็นผู้จัดรายการเพลงชื่อ “Top Teen Talent” โดยแกจะต้องเปิดรายการด้วยเพลง “Heodown” ของ Emerson Lake & Palmer เป็นสัญลักษณ์ของรายการเลยก็ว่าได้ โดยวงดนตรีร็อกที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นมีมากมายและเป็นเจ้าของเพลงอมตะที่นักฟังเพลงรุ่นผู้เขียนชื่นชอบกันมาก

จุดเริ่มต้นของความนิยมในดนตรีสากลน่าจะมาจากเทศกาลดนตรี “Woodstock” ที่ทำให้เราเริ่มจะนิยมวงดนตรีอย่าง CCR, Jimi Hendrix , Jefferson Airplane ที่ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น Jefferson Starship, Blood Sweat & Tears และ Ten Years After เป็นต้น

ตัวอย่างของวงดนตรี Hard Rock ที่เรารู้จักกันดี เช่น วง Deep Purple มีเพลง “Highway Star” และ “Child in Time” , วง Uriah Heep กับเพลง “July Morning”, วง Led Zeppelin เจ้าของเพลง “Stairway to Heaven”, วง Mountain กับเพลง “Theme from Imaginary Western” , วง Lynyrd Skynyrd กับเพลง “Free Bird”, “Simple Man”, วง Queen กับเพลง “Bohemian Rapsody”, วง Black Sabbath กับเพลง “Paranoid” และ “Changes” วง Grand Funk Railroad กับเพลง “I am your captain” และ “Bad Time”, นอกจากนั้นก็มีวง Free , วง UFO, วง The Doors, วง Bad Company และวง Rush  ส่วนวง Hard Rock ที่ดังขึ้นมาในยุคหลังอย่าง Angel, Aerosmith, Boston, Van Halen, Scorpion และ Bon Jovi เป็นต้น รวมถึงดนตรี Rock ในแนว Blues ที่เรานิยมไม่น้อยคือวง Cream ที่มี Eric Clapton เป็นมือกีตาร์

Advertisement

Advertisement

คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์

ต่อมาผู้เขียนก็หันมาสนใจดนตรีแนว Progressive Rock โดยมีวงดนตรีที่ชอบอย่าง Emerson, Lake & Palmer, King Crimson, Pink Floyd และ Yes เป็นต้น วงเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตำนานทั้งสิ้น โดยเฉพาะวง Pink Floyd ซึ่งเป็นวงที่ผู้เขียนชื่นชอบที่สุดถึงขนาดมีแผ่น CD ทุกอัลบั้มของ Pink Floyd เป็นของตัวเอง นี่คือเพลง "Wish You Were Here" ที่ Pink Floyd กล่าวถึง Syd Barret ผู้ร่วมก่อตั้งวงแต่ต้องจากวงไปเพราะความผิดปกติทางจิตใจอันเกิดจากยาเสพติด

นอกจากดนตรีร็อกแล้วคนหนุ่มสาวในยุคนั้นยังนิยมเพลงสากลที่เป็น Pop, Country และ Soul หรือ Rhythm & Blues ส่วนดนตรีเป็นเพลงของคนผิวดำอย่าง Blues แบบเก่าและ Jazz นั้นเป็นที่นิยมน้อยกว่าและฟังกันเฉพาะกลุ่ม

ในยุค 70s – 80s น่าจะเป็นยุคที่เพลงสากลรุ่งเรืองที่สุดในบ้านเรา แต่ละคนก็จะมีวงโปรดและเพลงโปรดของตัวเอง เรื่องดนตรีและเรื่องเพลงเป็นหัวข้อสำคัญที่พวกเรานิยมนำมาคุยกัน แม้แต่ในปัจจุบันพวกเบบี้บูมเมอร์ยุคปลายอย่างเราก็ยังฟังดนตรีพวกนี้กันอยู่ เพราะมันเป็นยุคที่ดนตรีเป็นดนตรีจริงๆและมีความเป็นอมตะสำหรับพวกเรา ส่วนวงดนตรีที่โด่งดังในยุค 90 ที่ผู้เขียนชอบน่าจะมี Cold Play, Oasis, U2 และ Dream Theater เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์

ตั้งแต่ปี 2,000 เป็นต้นมาด้วยหน้าที่การงานทำให้ผู้เขียนห่างเหินจากดนตรีและเพลงไปมาก เลยไม่ค่อยรู้จักวงดนตรีและเพลงยุคนี้เท่าใด ส่วนวัยรุ่นสมัยนี้ที่นิยมเพลงพวก Rap หรือ K-Pop, J-Pop นั้นไม่อยู่ในความสนใจของผู้เขียนเลย ชีวิตนี้คงยึดติดอยู่กับเพลงไทยสากล, เพลงลูกทุ่ง, เพลงสตริงเก่าๆ ตลอดจน Rock, Pop, Soul ในยุค 70 – 80 ไปจนกว่าจะจากโลกนี้ไป

ขอบคุณภาพประกอบ

จะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์