อื่นๆ

แนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับสายอาชีพสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าสายศิลปะ และสังคมศาสตร์น้้นสมควรหรือไม่?

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับสายอาชีพสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าสายศิลปะ และสังคมศาสตร์น้้นสมควรหรือไม่?

“มนุษย์เกิดมาก็ต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วยให้สามารถดำรงชีวิตได้และเมื่อมนุษย์2คนขึ้นไปมาอยู่รวมกันก็เป็นสังคม ย่อมเกิดปัญหาขึ้นต้องใช้วิทยาศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหา(สนองความต้องการ)และในทุกๆขั้นตอนมีศิลปะแฝงอยู่เสมอ”

การจะอธิบายคำตอบให้เข้าใจง่ายขึ้นดิฉันเห็นว่าเราต้องเริ่มที่ “การทำความเข้าใจความหมาย”ของแต่ละสาย ต่อมาคือวิวัฒนาการทั้งสามสายที่อยู่ด้วยกันมา  ประการที่สามคือการทำความเข้าใจต่อความสำคัญของการอยูู่ด้วยกันของวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และสังคมศาสตร์   รวมถึงดิฉันจะยกตัวอย่างเรื่อง “คนขายหมูปิ้ง” เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น และสรุปเนื้อหาในตอนท้าย

วิทยาศาสตร์(Science) หมายถึง “ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ” และความรู้ที่มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ที่ “มีขั้นตอนและกระบวนการที่พิสูจน์ได้ด้วยเหตุผล” อันนำสู่ไปการอธิบายปรากฏการณ์ในทาง เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา กลศาสตร์ หรือ วิชาคำนวณ ส่วนสังคมศาสตร์ “Social sciences” หมายถึง “การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์” ในสาย รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  จิตวิทยา และสังคมวิทยา และศิลปะ(Art)คือ สื่อภาษาชนิดหนึ่งไม่มีถูกผิด เป็นตัวกลางที่สามารถชักนำเชื่อมโยงสิ่งต่างๆให้ถึงกัน

Advertisement

Advertisement

กว่า350,000ปีที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้น ก็มีวิทยาศาสตร์และศิลปะเกิดขึ้นตามมา เพราะเมื่อมนุษย์เกิดมาเเล้วต้องพบเจอกับสถานการณ์ที่กระทบต่อร่างกาย และจิตใจ ทำให้รู้สึกไม่พอใจ จนต้องคิดหาวิธีเอาตัวรอดอย่างถูกวิธี(อย่างมีศิลปะ)เพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่พึงพอใจ เช่นเมื่อหิวก็ต้องหาอาหาร หนาวก็ต้องหาเครื่องนุ่งห่ม เจ็บปวดก็ต้องทำให้หาย “จึงเกิดขั้นตอนและวิธีการ” ที่สามารถทำให้ชีวิตกลับมาเป็นปกติได้จริง เพื่อที่จะทำให้มีชีวิตรอดเช่นการคิดค้นเทคโนโลยีเช่น “การสร้างขวานหินเพื่อใช้ล่าสัตว์” เรื่องนี้อาจไม่น่าสนใจเท่าไหร่แต่ถ้ามองดีๆแค่ขวานหินธรรมดาด้ามหนึ่งก็อาจมีความจริงที่ไม่ธรรมดาแฝงอยู่ก็เป็นได้ เช่น การต้องการหาอาหารเพื่อให้มีชีวิตรอดก็ต้องมีเครื่องมือที่สามารถสนองความต้องการได้อย่างขวาน และการจะสร้างขวานต้องใช้ “การคำนวณ” ต่างๆเช่น น้ำหนัก รูปร่าง ความสามารถของขวาน ความคม จะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และศิลปะโดยตรง และแน่นอนความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อสามารถดำรงชีวิตตัวคนเดียวได้แล้ว ก็อยากจะใช้ชีวิตให้สบายกว่านี้โดยการมีบางอย่างมาลดภาระของตน ซึ่งนั่นก็คือการเกิดความคิดที่ว่า “ถ้าอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็น่าจะทำให้มีโอกาสมีชีวิตรอดและอยู่ง่ายได้มากกว่า”  ซึ่งเมื่อไปรวมกันเป็นกลุ่มก็เกิดสังคมตามมา(เล็กใหญ่แล้วแต่หาได้) เมื่อเกิดสังคมก็คือการที่คน2คนขึ้นไปมารวมตัวกันก็มีปัญหาในการใช้ชีวิตเพิ่มมาอย่างแน่นอน จึงเกิดการ “คิดหาวิธี” ที่จะทำให้กลุ่มตนนั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีศิลปะซึ่งก็คือ “การวางกฎระเบียบ” เช่นคนที่แข็งแรงกว่าก็เป็นหัวหน้า และพัฒนาไปเรื่อยๆจนกลายเป็นกฎหมายต่างๆในปัจจุบันเพื่อที่จะควบคุมคนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีศิลปะ

Advertisement

Advertisement

มีขวานหินแล้ว

จากย่อหน้าที่่ผ่านมาที่ดิฉันพาย้อนไปถึง350,000ก่อนตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น มีการดิ้นรนที่จะมีชีวิตรอดโดยการคิดค้นเครื่องมือมาช่วยหาอาหารไปจนถึงการหาพรรคพวกหรือกลุ่มเพื่ออยู่รวมกันเพื่อที่จะได้ลดภาระในการดำรงชีวิตจนเกิดเป็นสังคม เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องหาวิธีมาจัดการจนกลายมาเป็นกฎของการอยู่ร่วมกัน และพัฒนามาเป็นกฎหมายในปัจจุบัน ในทุกๆช่วงของยุคสมัย วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะเป็นสิ่งที่อยู่ด้วยกันมาเสมอ เพราะการอยู่รวมกันทำให้เกิดปัญหาเราจึงต้องคิดวิธี หรือคิดค้นเครื่องมีอุปกรณ์มาใช้แก้ปัญหาอย่างมีศิลปะ รวมถึงการจะคิดค้นอะไรได้ก็ต้องดูบริบทสังคมประกอบด้วย เช่นกฎหมาย วัฒนธรรม ศีลธรรม เราจะไม่ผลิตหรือสร้างอะไรก็ตามที่ไม่ถูกคำนึงถึงผลประโยชน์สังคมเพื่อเป็นการไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย กล่าวคือในทุกๆนาที วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะเป็นของอยู่ร่วมกันมาตลอดโดยที่เรารู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

Advertisement

Advertisement

คนสองคนมารวมกันเป็นสังคม

ดิฉันจะยกตัวอย่างให้ง่ายขึ้น สมมติคุณเป็น “พ่อค้าขายข้าวเหนียวกับหมูปิ้ง” ข้อแรกคุณขายหมูปิ้งเพราะอะไร? ทำง่าย กินง่าย คนนิยม ไม่ผิดกฎหมาย สอดคล้องกับบริบทสังคมไทยพุทธที่ไม่ได้ห้ามกินเนื้อหมู และคุณมีทุน(ต่อให้กู้มาก็ตาม) จะเห็นได้ว่าเพียงข้อแรกก็เกี่ยวข้องกับสายสังคมและศิลปะในการดำรงชีวิตแล้ว ไปต่อกันที่ข้อสอง คุณจะสร้างหมูปิ้งกับข้าวเหนียวได้ยังไง? เริ่มตั้งแต่การเลือกสูตรน้ำหมักหมูปิ้ง การเลือกชิ้นส่วนร่างกายของหมูที่สามารถทำให้น้ำหมักหมูปิ้งซึมเข้าไปในเนื้อหมูได้ในเวลาสั้น การเลือกวัสดุที่จะนำมาเป็นด้ามจับหมูปิ้งเช่นไม้หรือสแตนเลส หรือการเลือกว่าจะเอาด้านปลายแหลมหรือมนของด้ามจับเสียบเข้าไปในชิ้นเนื้อ การเลือกข้าวที่จะเสิร์ฟพร้อมกับหมูปิ้งอย่างข้าวเหนียว คุณอาจจะเลือกข้าวเหนียวที่ถูกขัดสีมาออย่างดีที่ราคาสูงกว่าข้าวเหนียวหัก(ข้าวที่หักระหว่างการขัดสี)ที่มีราคาถูกกว่าแค่เวลาหุงออกมาจะไม่สวยเท่าไหร่แต่อร่อยเหมือนกัน และการควบคุมอุณหภูมิทั้งร้อนเย็นตลอดขั้นตอนการสร้างหมูปิ้งกับข้าวเหนียว ข้อที่สองนี้จะเห็นได้ว่ามีการใช้การคำนวณ(คิดถึงราคาต้นทุน) พลังงาน(อุณหภูมิระหว่างการสร้างหมูปิ้ง) สรีรวิทยาของสัตว์ เช่น การคำนึงส่วนของร่างกายหมูหรือการเลือกข้าวเหนียว(เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง) เคมี เช่น การออสโมซิส(osmosis)ของน้ำหมักเข้าไปในเนื้อหมู(น้ำซึมเข้าเนื้อ)  และการเลือกวัสดุด้ามจับหรือลักษณะการเสียบชิ้นเนื้อกับด้ามก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งข้อสองนี้เห็นได้เลยว่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และศิลปะชัดเจน(ในความเป็นจริงคงไม่มีใครมาคิดขนาดนี้) ข้อที่สามคือคุณจะขายยังไง? เริ่มตั้งแต่การตั้งร้านซึ่งคุณคงจะไม่ไปขายหมูปิ้งหน้ามัสยิดหรือสุเหร่า(ศาสนสถานของชาวมุสลิม)อย่างแน่นอน การจะตั้งร้ายต้องคำนึงถึงถิ่นหรือกลุ่มลูกค้าของคุณเช่น มนุษย์เงินเดือน นักเรียน นักศึกษาที่เร่งรีบ มีเวลาจำกัด และต้องการอาหารที่กินง่ายอิ่มนาน คุณอาจจะไปขายแถวสี่แยกไฟแดงเพื่อให้เป็นจุดสังเกต หรือหน้าหน่วยงานหรือสถานศึกษาที่ไม่ล้ำออกไปบนเขตถนนมากเกินไปเพื่อให้ลูกค้ามาซื้อง่ายขึ้น การรักษาความสะอาดภายในบริเวณที่ขาย หรือถ้าคุณมีแฟนคุณก็อาจจะให้แฟนคุณมาช่วยขายเพื่อที่คุณจะได้ลดภาระในการขายลง ที่กล่าวไปในข้อสามนี้มีทั้งเรื่องเกี่ยวกับสายวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ เช่นความเหมาะสมของพิกัดร้านอย่างการคำนึงถึงความเชื่อทางศาสนา(เข้าข่ายวิชาสังคมและศิลปะการอยู่ในสังคม) กลุ่มลูกค้า(บทบาทหน้าที่และความน่าจะเป็น) การไม่ตั้งร้านล้ำไปยังถนน(เกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง กฎหมาย และการเคารพสิทธิ์บนถนน) การรักษาความสะอาดถูกหลักอนามัย( ชีววิทยา หรือวิทยาศาสตร์นั่นเอง) และการจะนำแฟนของคุณมาช่วยขายนั้นก็ต้องมีข้อตกลงร่วมกันคือใครทำหน้าที่อะไรจึงจะเป็นการแบ่งเบาภาระไม่ใช่เอาแฟนมานั่งเฉยโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร(เกิดสังคมเล็กคือคนสองคนมารวมกัน เกิดกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เกิดบทบาทหน้าที่ และต้องใช้ศิลปะในการพูดคุยเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งเกี่ยวกับสายสังคมและศิลปะ)

ข้าวเหนียวหมูปิ้ง

จากเรื่องทั้งหมดที่ได้กล่าวไปดิฉันมีความเห็นว่าการจะให้ความสำคัญกับสายวิทยาศาสตร์มากกว่าสายสังคมศาสตร์และศิลปะเป็นเรื่องที่ดิฉันไม่เห็นด้วย เพราะทั้งสามสายนี้อยู่ร่วมกันมากว่า350,000ปีมาแล้วกระทั่งในปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้นและจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ดั่งตัวอย่างคนขายหมูปิ้งที่เหมือนจะเป็นเรื่องรรมดาไม่น่ามีอะไรมากมายแต่ถ้าได้ลองมองให้ลึกจะรู้ว่าเพียงแค่การขายหมูปิ้งก็มีคุณค่ามากมายแล้ว และแม้สายวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างนวัตกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศได้ แต่สายวิทยาศาสตร์เองถ้าต้องการจะผลิตอะไรหรือวิจัยอะไรก็ต้องอาศัยบริบทของสังคมและศิลปะร่วมกันไป เพื่อให้สิ่งที่ทำออกมานั้นตอบโจทย์สังคมให้ได้มากที่สุด ไม่ผิดระเบียบสังคม และไม่ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยมากจนเกินไป

ร่วมเสพบทความ หนัง เพลง และซีรีส์ใหม่ ๆ สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์