อื่นๆ

โอนเงินกลับเมืองไทย ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
โอนเงินกลับเมืองไทย ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

โอนเงินกลับเมืองไทย ง่ายๆด้วยตัวเอง  แชร์ประสบการณ์

สำหรับคนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่อาศัย หรือทำงานที่ต่างประเทศ บางครั้งเราก็ยังมีความจำเป็นต้องชำระค่าบริการ และสินค้า หรือช่วยเหลือทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่น้อง ลูก หลาน หรือแม้แต่บางครั้งเราก็อยากโอนเงินไปเก็บไว้เองที่เมืองไทย หลายๆคนอยากทำได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นจากที่ไหน อย่างไร บางคนอาจขอร้องคู่สมรสช่วยโอน บางคนก็ฝากเพื่อนโอน หรือแม้แต่การใช้บริการโอนเงินผ่านคนรู้จัก ซึ่งบางครั้งก็นำมาซึ่งปัญหาการยักยอกเงิน เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง หรือลามไปจนถึงการฟ้องร้องกัน ซึ่งเป็นปัญหาเหล่านี้พบเห็นได้ทั่ว ๆไปสำหรับสังคมไทย ในต่างแดน นอกจากทำให้เสียเวลา เสียเงินแล้ว ยังเสียความรู้สึกอีกด้วย

เพื่อขจัดปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น ผู้เขียนจึงขอแชร์ประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนได้ใช้มาตลอดระยะเวลาที่อาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ และประเทศที่ผู้เขียนอาศัยอยู่เป็นประเทศที่ส่วนใหญ่แล้วทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านอิเล็กโทรนิคเกือบทั้งหมด ซึ่งก็รวมทั้งการโอนเงินด้วย

Advertisement

Advertisement

สำหรับการโอนเงินข้ามประเทศที่ง่าย และปลอดภัย ก็คือการโอนเงินข้ามประเทศผ่านธนาคาร โดยธนาคารที่ผู้เขียนนิยมโอนเข้ามากที่สุดก็คือ ธนาคารไทยพาณิชย์  ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นบัญชีที่ผู้เขียนเคยมีมาก่อนย้ายมาอยู่ต่างประเทศ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนอาจไม่ได้สวยหรู หรือดีเด่น แต่เมื่อบวก ลบ คูณ หารแล้ว อัตราอาจไม่ต่างกันมากนัก

3 สิ่งที่ต้องมีสำหรับการโอนเงินข้ามประเทศด้วยตนเองคือ

1. บัญชีผู้รับเงินปลายทาง
อาจเป็นบัญชีของผู้โอนเอง หรือจะเป็นบัญชีผู้อื่นที่เราต้องการโอนไปให้เค้าก็ได้ นอกจากบัญชีแล้วต้องกรอกรายละเอียดชื่อ สกุล และที่อยู่ของผู้รับโอนด้วย

ภาพถ่ายโดยผู้เขียน และจากเว็บ canva

2. SWIFT CODE ของธนาคาร
อันนี้หมายถึง SWIFT CODE ของธนาคารปลายทางที่เราต้องการโอนไป ตรงนี้เราอาจจะขอผ่านธนาคารโดยตรง หรือโดยการค้นหาจากเว็บของธนาคารโดยตรง หรือเว็บที่รวบรวมข้อมูล SWIFT CODE ซึ่งผู้เขียนแนบลิ้งค์ไว้ให้ส่วนท้ายเรื่อง  ตัวอย่าง SWIFT CODE ของธนาคาร เช่น

Advertisement

Advertisement

ธนาคารกรุงเทพ  SWIFT CODE : BKKBTHBK

ธนาคารกสิกรไทย SWIFT CODE:  KASITHBK

ธนาคารไทยพาณิชย์ SWIFT CODE: SICOTHBK

3. บัญชีต้นทางของผู้โอน
ซึ่งตรงนี้เราอาจใช้วิธีเดินเข้าไปในธนาคารเปิดบัญชี แล้วให้เจ้าหน้าที่ธนาคารช่วยทำการโอนข้ามประเทศเลย แต่สำหรับผู้เขียนชอบทำอะไรด้วยตนเอง จึงทำการเปิดบัญชี พร้อมกับเปิดใช้อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวก และรวดเร็ว การใช้อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ก็จะมีความคล้ายกันทั่วโลก อาจจะมีภาษา และฟังค์ชันต่าง ๆ ที่อาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ซึ่งถ้าใครที่เคยใช้อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งที่เมืองไทยมาก่อนก็อาจจะพอจะเข้าใจวิธีการใช้ แต่สำหรับใครที่ไม่เคยใช้มาก่อน และอ่านภาษานั้น ๆ ไม่ออกก็ควรใช้วิธีไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร

ภาพจากเว็บแคนวา

ปกติแล้วหลังจากทำรายการโอนเงินเสร็จสิ้น ผู้รับโอนจะได้รับเงินหลังจากนั้นประมาณ 3 – 4 วันทำการ

Advertisement

Advertisement

Tips! สำหรับผู้เขียนก่อนทำการโอนเงินระหว่างประเทศ ผู้เขียนจะหาข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละธนาคาร แล้วนำมาเปรียบเทียบกันก่อนตัดสินใจโอนเงิน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้อาจแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับผู้เขียนใช้คติ “ มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ มีน้อยใช้น้อย ค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มาก จะยากนาน“ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีวิธีการอื่นที่ดีกว่า หรือง่ายกว่า แต่สำหรับผู้เขียนเลือกแนวทางที่ตัวเองถนัดที่สุด

ภาพถ่ายโดยผู้เขียน

ภาพปก โดยผู้เขียน และบางส่วนโดยจากเว็บ Canva

ภาพที่ 1 โดยผู้เขียน และบางส่วนโดยจากเว็บ Canva

ภาพที่ 2 ภาพจากเว็บ Canva

ภาพที่ 3 ภาพถ่ายจากผู้เขียน

ค้นหาข้อมูล swift code เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ธนาคารโดยตรง หรือหาข้อมูลที่ https://forexnew.org

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์