ไลฟ์แฮ็ก
ใช้ Internet Banking ให้ปลอดภัย ทำไงอะ
ในปัจจุบัน Internet Banking หรือการทำธุระกรรมทางการเงินผ่านทาง Internet นั้น ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะธนาคารต่าง ๆ ได้ออกแบบ Application ที่ใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ เบิก ถอน โอน จ่าย ก็ทำได้ง่าย ๆ โดยเราไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง เสียเวลาไปนั่งรอคิวที่ธนาคาร และที่สำคัญเราจะทำธุระกรรมทางการเงินที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ที่มี Internet เข้าถึงได้ แล้วการที่เข้าถึงแหล่งเงินที่สะดวกเช่นนี้ ก็ไม่วายที่พวกมิจฉาชีพจะใช้โอกาสนี้ในการล้วงข้อมูล Password ข้อมูลส่วนตัว แล้วถอนเงินของเราออกไปโดยที่เราไม่ทันรู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ฉะนั้นวันนี้ผมเลยมานำเสนอวิธีที่เราจะใช้ Internet Banking ได้อย่างปลอดภัยมาฝากครับ
1. Download Application Internet Banking ของธนาคารที่ให้บริการเท่านั้น อย่าดูที่หน้าตาหรือรูป Icon ของ Application เพราะรูป Icon ของ Application นั้น พวกมิจฉาชีพ อาจจะทำหน้าตาให้คล้ายจนเกือบเหมือน Application ที่ทางธนาคารออกแบบมาก็ได้ ถ้าไม่แน่ใจก็อย่าโหลดมาใช้เด็ดขาด เพราะถ้าเราโหลดมาใช้และใส่ข้อมูลส่วนตัว กับ Password เข้าไปใน Application ปลอมนี้หลอกให้เรากรอกข้อมูลเข้าไป พวกมิจฉาชีพก็จะได้ข้อมูลของเรา นำไปถอนเงินของเราออกมาได้
Advertisement
Advertisement
ถ้าเราต้องการ Application ที่เป็นของจริงแท้แน่นอน ให้เราไปที่ธนาคารที่เราต้องการรับบริการ Inter Banking แล้วบอกให้ทางเจ้าหน้าที่ของธนาคารนั้น ๆ ลง Application ที่ถูกต้องให้ อาจจะเสียเวลานิดหน่อยแต่ก็ปลอดภัยแน่นอน เมื่อมี Application ที่เป็นของแท้แน่นอนแล้ว เราก็ต้องหมั่น Update Application นั้นให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะการ Update นั้นจะช่วยปิดช่องโหว่ต่าง ๆ ที่พวกมิจฉาชีพจะเข้ามาล้วงข้อมูลออกไปได้
ภาพจาก https://play.google.com/store/search?q=internet%20banking
2. ตั้ง Password ให้ยาก ๆ เข้าไว้ แต่ต้องจำให้ได้ ต้องมีตัวอักษรตัวเล็กกับตัวใหญ่ มีตัวเลข มีอักขระ เช่น /-@_ # และจำนวนตัวอักษรที่มากกว่า 8 ตัวอักษร ยิ่งมีความแตกต่างของตัวอักษรมากเท่าไหร่ พวกมิจฉาชีพก็ไม่สามารถลองผิดลองถูกได้ง่าย ๆ และไม่ควรเขียนเตือนความจำ Password ในที่ที่ค้นหาได้ง่าย
Advertisement
Advertisement
ให้ตั้ง Password Lock หน้าจอมือถือ หรือ Computer ที่เราได้ลง Application Internet Banking ไว้ เพื่อเป็นการป้องกัน 2 ชั้น และไม่ควรตั้ง Password ที่ Lock หน้าจอมือถือกับ Password Internet Banking เป็น Password เดียวกัน เพราะจะง่ายต่อการคาดเดา เพื่อเป็นการป้องกันอีกขั้น หลังการใช้ Internet Banking เรียบร้อยแล้วให้เรา Logout ออกจาก Application ทันที
3. อย่าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบน Wifi ให้ทำผ่านข้อมูลมือถือ เพราะการทำผ่าน Wifi นั้น มิจฉาชีพจะสามารถดักจับหรือขโมย Password ได้โดยมีการติดตั้ง Program บน Computer ที่จะใช้ดักจับ Password ของเราบนเครือข่าย Wifi ที่เราเข้าไปใช้ ถึงแม้เราจะใช้ Application ที่เป็นของแท้แล้วก็ตาม แต่ Program Computer ก็จะวิเคราะห์และดักจับ Password ของเราในขณะที่เราใส่ Password ลงไปใน Application
Advertisement
Advertisement
4. เปิดใช้ SMS หรือ Email ให้แจ้งเตือนการเคลื่อนไหวของบัญชี เพื่อเราจะได้รู้ว่ามีอะไรที่ผิดสังเกตกับบัญชีของเราหรือเปล่า เมื่อมี SMS หรือ Email แจ้งเตือนมาแต่ไม่ใช้ธุรกรรมทางการเงินที่เราได้เป็นคนทำ เราก็สามารถอายัดบัญชีได้ก่อนที่จะมีความเสียหายไปอย่างมาก
5. ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว หรือ Password ใด ๆ ผ่านทาง Email ถ้ามือถือ หรือ Computer นั้นติด Virus ข้อมูลที่เราส่งไปทาง Email จะไปสู่มิจฉาชีพโดยง่าย ถึงแม้เราจะมั่นใจว่าใส่ Email Address ของผู้รับไว้อย่างถูกต้องแล้วก็ตาม เจ้าตัว Virus นั้นจะทำงานอยู่เบื้องหลังทำให้เรามองไม่เห็นการทำงานของมัน และมันจะส่ง Email ทุก Email ไปในที่ที่ Virus นั้นกำหนดไว้ ก็คือ Email ของพวกมิจฉาชีพนั่นเอง และที่สำคัญอีกอย่างเราควร Update Program ตรวจเช็ก Virus ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
6. มี Messages, Email หรือ โทรศัพท์เข้ามาคุยสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้และขอ Password ให้คิดว่าเป็นพวกมิจฉาชีพไว้ก่อน เพราะโดยปรกติทางธนาคารไม่มีนโยบายที่จะทำแบบนั้น ถ้าธนาคารมีปัญหาอะไรจะแจ้งให้เราไปที่ธนาคารโดยตรง และให้เราเป็นคนทำธุระกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ Password หรือข้อมูลส่วนตัวด้วยตัวของเราเองเท่านั้น
ผู้ใช้ Internet Banking ควรจะศึกษาวิธีการใช้ Application นี้ให้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และเมื่อมีปัญหาในการใช้งานให้ติดต่อกับทางธนาคารผู้เป็นเจ้าของบัญชีโดยทันที บทความนี้อาจจะพอจะช่วยทำให้มีความปลอดภัยได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการใช้ Internet Banking นั้น มันขึ้นอยู่กับความมีสติของผู้ใช้เองเป็นสำคัญ
ภาพปก https://play.google.com/store/search?q=internet%20banking
ความคิดเห็น