ไลฟ์แฮ็ก
ไม่ควรโปะ "หนี้รถยนต์" เพราะช่วยให้ลดทั้งต้นทั้งดอก
ปัจจุบันพบว่ายอดหนี้ของครัวเรือนในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่รายได้ยังทรงตัวหรืออาจมีแนวโน้มลดลง ด้วยเพราะสภาพเศรษฐกิจโลกและโรคระบาดที่กำลังเป็นมรสุมใหญ่ไปทั่วโลก แต่ทว่าด้วยสภาพความเป็นจริงความต้องการของมนุษย์ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด แม้จะต้องการในสิ่งที่บางครั้งอาจไม่สอดคล้องกับสถานะทางการเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า หรือความต้องการที่อยู่อาศัย รถยนต์ หรือสิ่งที่มีมูลค่าสูงต่าง ๆ ก็จะต้องไปแสวงหาวิธีการเพื่อให้ได้เงินมาตอบสนองความต้องการนั้นให้จงได้ ซึ่งหากจะต้องรอเก็บเงินด้วยตนเองกว่าจะได้สิ่งของที่ต้องการนั้นมาครอบครองก็อาจจะนานเกินรอ หรืออาจจะไม่มีโอกาสได้ครอบครองเลยก็เป็นได้ในชีวิตนี้ ดังนั้นทางออกส่วนใหญ่ในเรื่องนี้จึงมุ่งไปที่การกู้เงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการนั้นมาครอบครองในทันทีแล้วค่อยทยอยผ่อนชำระเงินคืนให้ทีละนิดเป็นงวด ๆ ไปจนกว่าจะครบซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้แม้จะยาวนานจนเกษียณอายุก็ตาม
Advertisement
Advertisement
ขอบคุณภาพประกอบจาก pixabay
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่จะตามภายหลังจากการกู้เงินกับธนาคารหรือสถานบันการเงินต่าง ๆ ก็คือดอกเบี้ย เพราะคงไม่มีธนาคารหรือสถานบันการเงินแห่งใดที่ให้ยืมเงินก้อนไปฟรี ๆ โดยไม่คิดค่าตอบแทนในรูปแบบของอัตราดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ที่คิดกำลังจะกู้ยืมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาในการชำระเงิน จำนวนเงินที่จะต้องชำระในแต่ละงวด และการคำนวณเงินที่เราต้องชำระทั้งหมดว่าเป็นจำนวนเท่าใด คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้เรารู้เท่าทันเกมการเงิน และสามารถวางแผนการชำระหนี้อย่างชาญฉลาด ซึ่งในวันนี้จะขอพูดถึงการคำนวณอัตราดอกเบี้ยจากการกู้เงินเพื่อซื้อรถยนต์ และให้เหตุผลว่าทำไมถึงไม่ควรนำเงินก้อนไปโปะหรือรีบชำระเงินให้ครบก่อนกำหนดระยะเวลาการกู้ทั้งหมดเมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อบ้าน
Advertisement
Advertisement
ขอบคุณภาพประกอบจาก pixabay
โดยส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่ามีหลายคนที่ซื้อรถยนต์ด้วยวิธีการผ่อนกับสถาบันการเงิน ซึ่งจะผ่อนเป็นจำนวนเท่าใดต่องวด เป็นระยะเวลาเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่กู้กับอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การซื้อรถยนต์คันหนึ่งในราคา 1,000,000 บาท โดยจ่ายเงินดาวน์ไป 200,000 บาท เหลือ 800,000 บาทที่จะต้องกู้กับทางธนาคาร สมมุติว่าธนาคารแห่งนั้นคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี และผู้กู้ต้องการผ่อนชำระภายในระยะเวลา 5 ปี หรือ 60 เดือน โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
ภาพประกอบโดยผู้เขียน
จะเห็นได้ว่าธนาคารมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยรายเดือนกรณีดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี แบบ Flat Rate หรือการเก็บดอกเบี้ยแบบคงที่หรือการชำระในอัตราที่เท่ากันตลอดระยะเวลาของการชำระเงินกู้ เช่น ในกรณีตัวอย่างจะเรียกเก็บเดือนละ 16,667 บาท ไปจนกว่าจะครบ 60 เดือน ซึ่งธนาคารได้คิดจำนวนดอกเบี้ยและจำนวนเงินต้นให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แม้เราจะมีเงินก้อนและอยากจะโป๊ะให้หมดก็ไม่ช่วยให้ดอกเบี้ยเราลดลง หรือทำให้เงินต้นเราหมดไว ดังนั้นจึงควรเอาเงินก้อนที่ได้มาและอยากนำไปโปะหนี้รถยนต์ที่เหลือทั้งหมดนั้นไปลงทุนในด้านอื่น ซื้อกองทุน หรือนำไปโปะหนี้ที่ลดต้นลดดอกได้ เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้จากการซื้อบ้าน เป็นต้น
Advertisement
Advertisement
ทีนี้เราลองมาดูความแตกต่างการเก็บอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร สมมุติตัวอย่างง่าย ๆ เปรียบเทียบกับกรณีการซื้อรถยนต์ดังกล่าวเพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างที่ชัดเจน โดยซื้อบ้านในราคา 1,000,000 บาท จ่ายเงินดาวน์ไป 200,000 บาท เหลือ 800,000 บาทที่จะต้องกู้กับทางธนาคาร สมมุติว่าธนาคารแห่งนั้นคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีเช่นเดียวกัน และผู้กู้ต้องการผ่อนชำระภายในระยะเวลา 5 ปี หรือ 60 เดือน โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
ภาพประกอบโดยผู้เขียน
จะเห็นได้ว่าธนาคารมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยการกู้ซื้อบ้าน แบบลดต้นลดดอก หรือที่เรียกว่า Effective Rate ซึ่งธนาคารจะหักจากเงินต้นที่ได้ชำระเข้ามาแล้ว แล้วเริ่มคิดจำนวนอัตราดอกเบี้ยงวดต่อไปใหม่โดยมีฐานคิดจากยอดเงินกู้ที่เหลือ เช่น กรณีตัวอย่างเมื่อจ่ายงวดแรกและหลักเงินต้นไปแล้วจะเหลือยอดหนี้ทั้งหมดที่รวมดอกเบี้ยเท่ากับ 986,666 บาท โดยจะนำเงินจำนวนนี้ไปคำนวณอัตราดอกเบี้ยและเงินต้นในงวดต่อไปใหม่ ซึ่งจะทำให้ค่าของเงินไม่คงที่และลดจำนวนดอกเบี้ยลงไปเรื่อย ๆ หากโปะเข้ามามากเงินต้นก็จะลดไว และจำนวนดอกเบี้ยก็จะลดลงไปด้วยตามมูลค่าของหนี้ที่เหลือ
ขอบคุณภาพประกอบจาก pixabay
จากที่ยกตัวอย่างมาทั้ง 2 กรณีจะเห็นได้ชัดเจนว่า การกู้ซื้อรถยนต์ และการกู้ซื้อบ้าน หากวันไหนเราเกิดมีเงินก้อนขึ้นมาอยากรีบไปเคลียหนี้ที่มีทั้งหมด ถ้ากรณีของหนี้จากการซื้อบ้านนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะนำเงินไปเคลียหรือโปะให้มากที่สุดเพราะหากจ่ายมากเงินต้นยิ่งลดดอกเบี้ยก็ยิ่งลดตามหลักการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกหรือ Effective Rate ในขณะเดียวกันการกู้ซื้อรถยนต์นั้นเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือ Flat Rate ซึ่งโปะเท่าไหร่ก็ถือว่าเราได้จ่ายดอกเบี้ยไปเท่านั้นโดยครบถ้วนและไม่มีการลดหย่อนลงแต่อย่างใดเมื่อเทียบกับการโปะหนี้บ้าน
ขอบคุณภาพหน้าปกจาก pixabay
ความคิดเห็น