ไลฟ์แฮ็ก
การทำสไลด์นำเสนอโดย Keynote

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาสอนการทำสไลด์ในการนำเสนอผลงานโดยใช้ Keynote ซึ่งเป็นโปรแกรมในระบบ iOS ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการทำสไลด์นำเสนอผลงาน ซึ่งมีความแตกต่างจาก PowerPoint บ้างเล็กน้อย เช่น ในการนำออกผลงาน Keynote จะสามารถเลือกรูปแบบการนำออกของไฟล์ได้หลากหลายกว่า เราสามารถใช้งาน Keynote ได้ไม่ว่าจะใน MacBook, iPad หรือ iPhone หลายๆคนคงเคยเห็นโปรแกรมนี้กันมาบ้างแต่อาจไม่เคยกดเข้ามาใช้งาน วันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าโปรแกรมนี้มีการใช้งานเบื้องต้นอย่างไรบ้าง
การเริ่มต้นใช้งาน
กดเข้าไปที่ Keynote และกดบวก (+) เพื่อสร้างผลงาน โดยเราสามารถเลือกขนาดของผลงานได้ 2 ขนาด นั่นก็คือ Wide (16:9) และ Standard (4:3) หลังจากนั้นให้เราทำการเลือก Theme ซึ่งตัวอย่างนี้จะใช้ Basic White นะคะ
การเลือกพื้นหลังและMaster
หลังจากทำการเลือกขนาดผลงาน และ Theme เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กดไปที่พู่กันตรงมุมบนขวา และเลือกที่ “Background” ซึ่งเราอาจจะใช้พื้นหลังเป็น
Advertisement
Advertisement
- Color : เลือกสีตามที่เราต้องการ
- Gradient : การไล่ระดับสี ซึ่งเราสามารถเลือก Start Color และ End Color อีกทั้งยังสามารถปรับ Angle ของการไล่ระดับสีได้อีกด้วย
- Image : เลือกรูปภาพจาก Albums, Insert from... หรือ Take Photo โดยสามารถปรับขนาดได้ Original Size, Stretch, Tile, Scale to Fill และ Scale to Fit
ส่วนการเลือก Master วิธีก็คล้ายกับการเลือกพื้นหลัง นั่นก็คือกดที่พู่กันตรงมุมบนขวา และเลือกที่ “Master” ที่เราต้องการ
การใส่ Title, Body และ Slide Number
กดที่พู่กันตรงมุมบนขวา และทำการเลือกว่าต้องการให้มีส่วนใดในผลงานบ้าง
การพิมพ์เนื้อหา
ในการพิมพ์เนื้อหา ให้กดไปที่กล่องข้อความ 2 ครั้งติดกัน (double click) และพิมพ์ข้อความที่เราต้องการ เราสามารถเลือก Font ขนาด หรือสีตามต้องการได้ โดยเลือกข้อความที่ต้องการปรับแต่งและเลือกที่พู่กันตรงมุมบนขวา
Advertisement
Advertisement
- Style : สามารถเลือกสีพื้นหลังในกล่องข้อความ, Border (กรอบข้อความ), Shadow (เงา), Reflection (การสะท้อนข้อความ), Opacity (ปรับความเข้ม/ทึบของข้อความ)
- Text : สามารถเลือก Font, ทำตัวหนา/ตัวเอียง/มีเส้นใต้/เส้นผ่านกลางอักษร, Size (ขนาดอักษร), Text Color (สีอักษร), ชิดขอบหน้าของกล่องข้อความ/กึ่งกลางกล่องข้อความ/ชิดขอบหลังของกล่องข้อความ/เสมอด้าหน้าและด้านหลังของกล่องข้อความ, ชิดขอบบนของกล่องข้อความ/กึ่งกลางของกล่องข้อความ/ชิดขอบล่างของกล่องข้อความ, Bullets&Lists, Line Spacing (ระยะระหว่างบรรทัด), Columns, Margin และ Shrink Text to Fit
- Arrange : สามารถเลือก Move to back/front, Flip Horizontally, Flip Vertically และ Lock
การเพิ่มรูปภาพ วิดิโอ เสียงบันทึก วาดภาพ สมการ รูปร่าง แผนภูมิ และตาราง
ให้เลือกที่เครื่องหมายบวก (+) ที่มุมบนขวาซึ่งอยู่ข้างๆพู่กัน
Advertisement
Advertisement
- ส่วนแรก : กดเพื่อเพิ่มรูปภาพหรือวิดิโอ เสียงบันทึก การวาดภาพ และสมการ
- ส่วนที่สอง : กดเพื่อเพิ่มรูปร่าง โดยจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ไว้ เช่น Basic, Geometry, Objects และ Animals เราสามารถปรับแต่งสีของรูปร่าง, Border, Shadow, Reflection และ Opacity ได้
- ส่วนที่สาม : กดเพื่อเพิ่มแผนภูมิ ซึ่งเราสามารถเลือกลักษณะของแผนภูมิได้ เช่น แผนภูมิรูปวงกลม แผนภูมิแท่ง อีกทั้งเรายังสามารถเลือกได้อีกว่าให้แผนภูมินั้นแสดงเป็น 2 มิติ 3 มิติ หรือ Interactive เมื่อเราเลือกรูปแบบแผนภูมิเรียบร้อยแล้ว ต้องการแก้ไขหรือใส่ข้อมูลในแผนภูมิ สามารถทำได้โดยกดที่แผนภูมิ 1 ครั้ง แล้วเลือกที่ “Edit Data” หรือหากต้องการเปลี่ยนสีหรือปรับแต่งแผนภูมิ ให้เลือกที่ “Edit Series”
- ส่วนที่สี่ : กดเพื่อเพิ่มตาราง เราสามารถเลือกสี่หรือรูปแบบของตารางได้ หลังจากเลือกตารางเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเพิ่มข้อมูลลงในตารางได้โดยเลือกที่ช่องที่ต้องการและใส่ข้อมูลลงไป
การใส่ลูกเล่นหรือทำให้มีการเคลื่อนไหว (Animation)
สำหรับการทำให้มีการเคลื่อนไหว (Animation) ให้กดที่ข้อความหรือรูปภาพที่เราต้องการใช้มีลูกเล่นหรือมีการเคลื่อนไหว 1 ครั้ง และเลือกที่ “Animate” จากนั้นเลือกว่าต้องการให้มีการเคลื่อนไหวแบบใด Add Build In , Add Action หรือ Add Build Out แล้วทำการเลือกรูปแบบของการเคลื่อนไหว ซึ่งก็มีให้เลือกมากมาย เช่น Cube, Keyboard, Compress, Blast และ Flame เมื่อเลือกรูปแบบเสร็จเรียบร้อย กดที่ “Done” ที่มุมบนขวา และเราสามารถกำหนดระยะเวลาในการแสดงการเคลื่อนไหวนั้นๆ ทิศทางในการแสดงการเคลื่อนไหว (เช่น Forward ,Backward) ได้อีกด้วย
การเพิ่มหน้าสไลด์
ในการเพิ่มหน้าสไลด์ให้เลือกที่เครื่องหมายบวก (+) ที่มุมล่างซ้าย แล้วเลือกลักษณะของหน้าตามที่ต้องการ (เช่น Title, Title & Photo เป็นต้น) แล้วจึงเปลี่ยนภาพพื้นหลัง หากต้องการซ้ำหน้าของสไลด์ให้เลือกที่ “Duplicate” หากต้องการซ่อนหน้าสไลด์ให้เลือกที่ “Skip” หรือหากต้องการลบหน้าสไลด์ให้เลือกที่ “Delete”
การนำออกผลงานเมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
หากเราทำสไลด์ในการนำเสนอผลงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถบันทึกโดยเลือกที่สัญลักษณ์จุดสามจุด (…) ที่มุมบนขวา แล้วเลือกที่ “Export” ซึ่งรูปแบบในการนำออกก็มีให้เลือกทั้ง PDF PowerPoint Movie Animated GIF Images และ Keynote Theme ซึ่งรูปแบบที่เราใช้บ่อยๆก็จะเป็น PDF กับ Images ซึ่ง 2 รูปแบบนี้จะมีข้อเสียคือไม่สามารถแสดงการเคลื่อนไหว (Animation) ได้ หรืออาจนำออกแบบ Movie เพื่อนำไปใช้ประกอบการนำเสนอรูปแบบ Video ได้อีกด้วย
หมายเหตุ : Keynote สามารถนำออกเป็นไฟล์เพื่อทำต่อใน PowerPoint ได้ แต่ PowerPoint ไม่สามารถนำออกเพื่อทำต่อใน Keynote ได้
และก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการสอนทำสไลด์นำเสนอผลงานโดยใช้ Keynote หวังว่าทุกท่านที่อ่านบทความนี้จะได้ความรู้และสามารถนำไปใช้ในการทำสไลด์ได้นะคะ
ภาพถ่ายโดยนักเขียน
ความคิดเห็น
