ไลฟ์แฮ็ก

Malala ผู้หญิงมีพลังมากกว่าที่คิด

1.7k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Malala ผู้หญิงมีพลังมากกว่าที่คิด

“เพศ” เป็นสิ่งที่ผู้คนใช้ในการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างบุคคลออกเป็นชายและหญิง  นําไปสู่ความเชื่อที่ว่าหญิงและชายมีความแตกต่างกันในด้านอื่น ๆ ด้วย อาทิด้าน สติปัญญา บุคลิกนิสัย ความสามารถ ความถนัด การตัดสินใจ อารมณ์ ฯลฯ  ทำให้สถานะของผู้หญิงที่ด้อยกว่าผู้ชาย  ผู้หญิงควรประพฤติตัวอยู่ในกรอบ ดูแลสมาชิกในครอบครัวและสามี ทำงานบ้าน หรือที่เรียกว่า “อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน”  ถึงแม้ว่าในปัจจุบันได้มีการสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมในสังคมอย่างมากเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของยุคสมัย  แต่ในบางประเทศก็ใช้ความเชื่อหรือศาสนามาเป็นหลักในการจำกัดสิทธิของผู้หญิง  หลายคนในสังคมจึงเลือกที่จะยอมรับความเชื่อและการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้น  แต่ไม่ใช่กับผู้หญิงที่มีชื่อว่า “มาลาลา  ยูซาฟไซ”

หนังสือของมาลาลา(ภาพถ่ายโดยผู้เขียน) หนังสือที่เป็นแรงบรรดาลใจให้เขียนบทความเรื่องนี้

Advertisement

Advertisement

มาลาลา ยูซาฟไซ นักต่อสู้เพื่อสิทธิของการศึกษาเพื่อเยาวชนและสตรี ปัจจุบันอายุ 22 ปี  ชีวิตในวัยเด็กของมาลาลาอาศัยอยู่ที่ประเทศปากีสถาน เขตหุบเขาสวัดอันสงบสุข มาลาลาและทุกคนใช้ชีวิตอย่างอิสระ ประกอบอาชีพ ปฏิบัติศาสนกิจ เรียนหนังสือ หรือแม้กระทั่งการแสดงออกทางความคิดต่าง ๆ บนพื้นฐานของสังคมที่นับถือสาสนาอิสลาม แต่นั่นคือก่อนที่สวัดจะกลายเป็นศูนย์กลางของแหล่งก่อการร้ายของกลุ่มฏอลิบาน กลุ่มนักรบติดอาวุธหัวรุนแรง  ที่ต้องการล้มล้างสถาบันของรัฐบาล  ฏอลิบานเริ่มจากการออกอากาศวิทยุกระจายเสียงเผยแพร่ศาสนาและปลุกระดมความคิดคนในเมือง ก่อความวุ่นวายตามสถานราชการ สังหารบุคคลที่ไม่เห็นด้วย  ไปจนถึงการทำลายโรงเรียนสตรีโดยอ้างว่าเป็นการขัดต่อการสอนของศาสนาอิสลามที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเรียนหนังสือพร้อมกับการข่มขู่ทั้งนักเรียนและครู  แต่ทว่าโรงเรียนที่มาลาลาศึกษาอยู่ยังคงทำการเปิดการเรียนการสอนอยู่ถึงแม้จะถูกข่มขู่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม

Advertisement

Advertisement

ภาพบ้านเมืองที่เคยสงบสุขขอบคุณภาพจาพ : https://unsplash.com/

"ฏอลิบานกล้าดียังไงถึงระงับสิทธิขั้นพื้นฐานทางการศึกษาของฉัน"

มาลาลาออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านการกระทำและประนามกลุ่มฏอลิบานอย่างกล้าหาญตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี นอกจากนี้ยังร่วมมือกับสำนักข่าว BBC อย่างลับ ๆ เพื่อเขียนบทความเล่าเรื่องราวความรุนแรงและสิทธิของสตรีในสวัดโดยใช้นามแฝงว่า “กุล มาไค”สาเหตุดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มฏอลิบานไม่พอใจ  ชื่อของมาลาลาและพ่อจึงกลายเป็นที่หมายหัวเอาชีวิต

“...เราต้องการให้มีโรงเรียนและการศึกษาสำหรับอนาคตที่สดใสของเด็กทุกคน เราจะยังคงเดินทางต่อไปเพื่อให้ถึงเป้าหมายแห่งสันติภาพและการศึกษา ไม่มีใครจะหยุดยั้งเราได้...”

กลุ่มก่อการร้ายขอบคุณภาพจาพ : https://pixabay.com/th/

วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 มาลาลาในอายุ 15 ปี ถูกลอบสังหารในขณะที่เธอและเพื่อนเดินทางกลับบ้านจากโรงเรียน โดยรถรับส่งนักเรียน  ได้มีชายปิดบังใบหน้าของกลุ่มตาลีบันขึ้นมาบนรถและยิงปืนเข้าที่ศีรษะด้านซ้ายทะลุด้านหลังคอ มาลาลาได้รับบาดเจ็บอาการสาหัสถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลของรัฐ  จากนั้นมาลาลาย้ายไปรักษาตัวพร้อมกับครอบครัวที่สหราชอาณาจักรเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้กลุ่มฏอลิบานประกาศอย่างชัดเจนว่าฏอลิบานจะฆ่ามาลาลาในทันที หากเธอกลับไปยังปากีสถาน

Advertisement

Advertisement

“...กลุ่มตาลิบันได้ยิงข้าพเจ้าที่ศีรษะข้างซ้าย พวกเขายังยิงเพื่อนของข้าพเจ้าด้วย พวกเขาคิดว่ากระสุนจะทำให้เราเงียบเสียงได้ แต่พวกเขาล้มเหลว และจากความเงียบงันนั้นยิ่งมีเสียงนับพันก่อเกิดขึ้น พวกก่อการร้ายคิดว่าจะทำให้ข้าพเจ้าเปลี่ยนเป้าหมายและหยุดความตั้งใจได้  แต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปในชีวิตของข้าพเจ้าเลย ยกเว้นว่า ความอ่อนแอ ความกลัว และความสิ้นหวังได้ตายลงไป แต่ความเข้มแข็ง พลัง และความกล้าหาญได้เกิดขึ้นมาใหม่ ข้าพเจ้ายังเป็นมาลาล่าคนเดิม ความตั้งใจของข้าพเจ้ายังคงเหมือนเดิม ความหวังของข้าพเจ้ายังเหมือนเดิม และความฝันของข้าพเจ้าก็ยังคงเหมือนเดิม...”

มาลาลาพักรักษาตัวจากอาการบาดเจ็บสาหัสเป็นเวลานาน  เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าและสมองซีกซ้ายถูกทำลายจากกระสุนปืน  ทำให้เธอไม่สามารถเคลื่อนไหวใบหน้าได้อย่างปกติ  มาลาลารอดจากความตายมาได้แต่นั่นไม่ได้หยุดความตั้งใจของเธอ  มาลาลายังยืนหยัดที่จะพูดถึงความสำคัญของการศึกษาของเด็กทุกคนและสิทธิที่สตรีควรได้รับโดยไม่เกรงกลัวสิ่งใด

“...ถึงแม้หากข้าพเจ้ามีปืนอยู่ในมือ และเขายืนอยู่หน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะไม่ยิงเขา นี่เป็นความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากศาสดามูฮัมหมัด ผู้สั่งสอนเรื่องความเมตตา พระเยซู และพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน...”

ปัจจุบันให้ตนเองเป็นปากเสียงในการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นและเป็นสื่อกลางในการผลักดันการศึกษาพื้นฐานสำหรับเด็กทั่วโลก พร้อมทั้งต่อต้านความรุนแรงและความเหลื่อมล้ำของสตรีที่เกิดขึ้นในทุกรูปแบบ  มาลาได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย อาทิ รางวัลสิทธิมนุษยชนเพื่ออิสรภาพของผู้หญิงนานาชาติ รางวัลเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งชาติ และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นอกจากนี้สหประชาชาติยังประกาศให้วันที่ 12 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิดของเธอเป็น “วันมาลาลา” เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาของเด็ก ๆ ทั่วโลกมาลาลาเข้าสู่การทำงานเพื่อเรียกร้องการศึกษาให้เด็กทั่วโลกเพราะทุกที่ต้องการการศึกษาขอบคุณภาพจาพ : https://pixabay.com/th/

“...พี่ชายและพี่สาวทุกคน เราต้องไม่ลืมว่าคนอีกหลายล้านคนกำลังทนทุกข์จากความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันและความไม่รู้ เราต้องไม่ลืมว่ามีเด็กหลายล้านคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เราต้องไม่ลืมว่ามีพี่สาวพี่ชายอีกมากที่กำลังรออนาคตที่สดใสและสันติ

ฉะนั้นขอให้เราร่วมกันต่อสู้กับการไม่รู้หนังสือ ความยากจน และการก่อการร้าย ให้เราหยิบหนังสือ ปากกาของเราขึ้นมา มันเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด...”

ขอบคุณภาพจาพ :

"ครู 1 คน หนังสือ 1 เล่ม ปากกา 1 ด้าม สามารถเปลี่ยนโลกได้"

วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มาลาลา ยูซาฟไซยังได้เสนอชื่อขึ้นรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากสหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดในการเข้ารับรางวัลนี้ ในเดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2560 สหประชาชาติได้แต่งตั้งให้มาลาลา ยูซาฟไซ เป็น “ผู้ส่งสารสันติภาพ” (Messenger of Peace) ของสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ นอกจากนั้น มาลาลา ยูซาฟไซในปัจจุบันอายุ 22 ปี ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

มาลาลาถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจไปสู่การผลักดันการศึกษาให้มีความเท่าเทียม เสมอภาค และเห็นความสำคัญของการศึกษาเพื่อพัฒนาคนมาเป็นอันดับแรก  ในฐานะของผู้ที่เรียนในสาขาการศึกษาเพื่อเป็นครูในอนาคตจึงได้ตระหนักในความสำคัญของการศึกษา เป็นแรงขับเคลื่อนในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตอย่างเต็มความสามารถ  และเพื่อพัฒนานักเรียนออกสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ  รวมถึงทุกคนสามารถได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางสู่การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์