อื่นๆ
(ชวนเล่นชวนเที่ยว) รีวิว Zoids Wild ZW13 'GUSOCK' พาแมลงหุ่นยนต์เที่ยวดินแดนดิจิตอล
กราบสวัสดีแฟนๆ ที่น่ารักทุกท่าน ขอพบกับการรีวิวของเล่นอีกรูแปบบที่ให้ผู้อ่านได้รู้จักกับของเล่น ของสะสม และชวนท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสบรรยากาศการเล่นของเล่นใหม่ที่ไม่จำเจ โดยในบทความแรกนี้ขอนำเสนอของเล่นใหม่จากประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมจากแฟนๆ ทั่วโลกอย่าง Zoids Wild หรือหุ่นสัตว์จักรกลที่คนไทยรู้จักกันดี ประเดิมด้วย ZW13 'GUSOCK' แมลงตัวน้อยที่ผสมผสานทั้งความน่ารักและความเท่ในตัว อยากรู้จังเลยว่าเมื่อประกอบเสร็จจะเจ๋งขนาดไหน มาชมกันโดยพลันนน
ขอขอบคุณรูปภาพจาก anime-zoidswild.jp
ก่อนที่จะมารีวิวของเล่นชิ้นนี้ มาทำความรู้จักกับของเล่นไลน์ Zoids กันก่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในไลน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกจาก TOMY (ในปัจจุบันเป็น TAKARA TOMY) ที่กำเนิดมายาวนานกว่าสามสิบปี จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดไลน์ใหม่อย่าง Zoids Wild ให้แฟนๆ ได้สะสมกันอีกครั้ง โดยยังคงคอนเซ็ปต์หุ่นยนต์สัตว์ ไดโนเสาร์ แมลง ที่ผู้เล่นสามารถต่อประกอบเหมือนหุ่นยนต์ และเคลื่อนไหวได้ราวกับมีชีวิต
Advertisement
Advertisement
สำหรับตัวแรกที่จะมารีวิวในครั้งนี้เป็น Zoids Wild ZW13 GUSOCK หุ่นยนต์แมลงที่ใช้พื้นฐานการออกแบบจาก Bathynomus giganteus หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Isopods สิ่งมีชีวิตในรูปแบบสัตว์มีปล้องที่มีความหลากหลายมากที่สุดในระบบนิเวศ ตั้งแต่เหาไม้, กระสุนพระอินทร์, ตัวกัดลิ้น, แมลงสาบทะเล แต่ GUSOCK อาจจะเป็นอย่างหลังมากกว่า ซึ่งหุ่นซอยด์ตัวนี้จะเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็ก ใช้ระบบไขลานเป็นหลัก
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
Zoids Wild ZW13 GUSOCK มาในรูปแบบกล่องกระดาษขนาดเล็ก (ศัพท์ผลิตภัณฑ์จะเรียกว่ากล่องไซส์ S) ซึ่งกล่องลักษณะนี้จะเป็นหุ่นสเกลขนาดเล็ก ใช้ระบบไขลาน เมื่อแกะกล่องออกมาจะพบกับถาดกระดาษ พร้อมซองพลาสติก, ใบตรวจสอบชิ้นส่วน, คู่มือประกอบ และถุงชิ้นส่วนจำนวน 3 ถุงใหญ่ๆ ซึ่งจะมีการแบ่งชิ้นส่วนไว้อย่างชัดเจน
Advertisement
Advertisement
นอกจากนี้ Zoids Wild ยังมอบความสะดวกสบายด้วยการตัดชิ้นส่วนออกจากแผงสำเร็จรูป เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบ และสามารถประกอบหุ่นที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องกลัวเลอะ กลัวเศษขยะหลังจากประกอบ แต่ต้องระวังชิ้นส่วนหล่นหายและทิ้งถุงพลาสติกลงถังขยะให้เรียบร้อยเสมอ
ประกอบลองเล่น
สำหรับการประกอบนั้นก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ แกะถุง A (จะมีรอยให้ฉีกในตัว) แล้วก็แกะถุง S เพื่อทำการประกอบส่วนโครงในหรือเฟรมก่อน ซึ่งผู้เล่นจะต้องหาชิ้นส่วนที่ระบุไว้ไปเทียบกับใบตรวจสอบชิ้นส่วน แล้วนำไปประกอบตามลำดับ
เอกลักษณ์ของการประกอบหุ่นนั้นจะเป็นการประกอบกลไกภายใน และประกบเข้ากับตัวล็อก ใส่ชิ้นส่วนสายพานพลาสติกให้เข้ากับแกน ใส่เดือยให้เข้าล็อก แล้วก็ใส่จุกยางเพื่อยึดชิ้นส่วนให้เรียบร้อย ประกอบแน่นๆ ไม่ต้องใช้กาวเลย
หลังจากประกอบเสร็จก็ให้ทดสอบหมุนลานดู หากมันไม่เดิน ลองตรวจสอบว่าชิ้นส่วนเข้าล็อกตามที่ระบุไว้หรือไม่ หรือไม่ก็ใส่ผิดจุด ไปจนถึงการประกอบกลไกที่แน่นเกินไปก็ต้องมีการปรับใหม่ให้เรียบร้อย กลไกก็จะทำงานตามปกติ
Advertisement
Advertisement
ขั้นตอนสุดท้ายก็คือใส่ชิ้นส่วนเกราะจากถุง B แปปๆ ก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว
ถ่ายรูปสวยๆ
ได้แล้ว ZW13 GUSOCK แมลงสาบทะเลที่ออกแบบมาดูเท่ ดุดัน ในสเกลที่น่ารัก ถือกระชับมือ เวลาไขลานก็จะสามารถวิ่งได้ราวกับมีชีวิต แหม่ น่ารักจริงๆ
และผู้เล่นสามารถปรับเป็นโหมด Wild Blast เพื่อเพิ่มความสนุกยิ่งขึ้น โดยการ บิดส่วนหัวให้ก้มลง จะเห็นช่องสำหรับเสียบเดือยพลาสติกตรงหาง จากนั้นก็ปรับส่วนหนวดให้ตั้งตรง แล้วม้วนตัวเป็นวงกลม จบลงด้วยการเอาเดือยส่วนหางล็อกหัว แล้วเอาตัวคนออก ก็จะได้โหมด Wild Blast ที่ผู้เล่นสามารถปล่อยให้กลิ้งไปกับพื้นได้
ที่เหลือก็เอาไปถ่ายรูปสวยๆ หรือจะทำให้ดูสมจริงยิ่งขึ้น หากติดสติ๊กเกอร์และตัดเส้นไปด้วย
นอกจากนี้ ยังมีลูกเล่นเติมเอฟเฟคในภาพถ่ายผ่านสมาร์ทโฟน โดยการสแกน QR Code โหลดแอปพลิเคชั่นที่แถมมากับคู่มือประกอบ (ลูกเล่นชนิดนี้รองรับเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น)
Zoids Wild ZW13 GUSOCK หาซื้อได้แล้วที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และร้านของเล่นทั่วไทย สนนราคาที่ 550 บาท
ทั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณสถานที่รีวิวของเล่นดีๆ อย่าง True Digital Park สถานที่ Working Space เพื่อไลฟ์สไตล์ดิจิตอล กับบรรยากาศที่ทำงานที่มีที่นั่ง ที่พักผ่อนหลากหลาย และเพลิดเพลินไปกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในรอบตัวคุณ ตั้งอยู่ที่ 101 ถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กรุงเทพนี่เอง แถมเดินทางก็ไม่ยาก นั่งรถไฟฟ้า BTS ปุณณวิถี และเดินออกที่ทางออกหมายเลข 6 ใช้เวลาเดินไม่ถึง 2 นาทีก็ถึงสถานที่แห่งการค้นหาไอเดียและแรงบันดาลใจกันแล้ว
ตอนหน้าจะมารีวิวของเล่นอะไร และไปเที่ยวที่ไหนกันต่อ อย่าลืมติดตามชมกันนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ
เน€เธโฌเน€เธยเน€เธยเน€เธยเน€เธโ€”เน€เธยเน€เธเธเน€เธยเน€เธโฌเน€เธโ€”เน€เธเธ•เน€เธ
ความคิดเห็น