อื่นๆ

mapping in one piece vs real life

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
mapping in one piece vs real life

ในตอนที่ยังเป็นเด็ก ขณะดูการ์ตูนเรื่อง one piece ซึ่งมีฉากที่นามิตัวเอกของเรื่องทำการส่องกล้องเพื่อรังวัด และทำแผนที่ของเกาะด้วยกล้องเพียง 1 ตัว ทำให้เกิดความสงสัยว่าเราสามารถทำแผนที่ได้ด้วยกล้องเพียง 1 ตัวได้จริงหรือ กล้องที่ใช้จะต้องเป็นกล้องชนิดใด และสามารถทำแผนที่ได้อย่างไร

เมื่อได้เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ มีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับการรังวัดรายละเอียดและการเขียนแผนที่ ทำให้มีความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการรังวัดรายละเอียดและกระบวนการสร้างแผนที่ จึงเขียนบทความนี้เพื่อที่จะแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ เพื่อไขข้อข้องใจของเพื่อนๆที่สนใจเรื่องการทำแผนที่


เราสามารถทำการรังวัดและเก็บรายละเอียดเพื่อสร้างแผนที่ของพื้นที่ในสเกลที่ไม่ใหญ่มาก ด้วยกล้อง 1 ตัวได้จริงๆ โดยกล้องที่ใช้ในการสำรวจรังวัดชื่อว่า กล้อง Total Station เป็นเครื่องมือปฏิบัติงานสำรวจเพื่อหาความสัมพันธ์ของจุดต่างๆ ประกอบไปด้วยการวัดระยะ ทิศทาง และค่าระดับ ซึ่งเมื่อได้รายละเอียดต่างๆจากการรังวัดแล้ว เราจะสามารถนำรายละเอียดเหล่านั้นมาเขียนเป็นแผนที่ได้

Advertisement

Advertisement

ภาพกล้อง Total Station

โดยในการรังวัดกล้อง Total Station จะต้องใช้งานควบคู่กับโพลปริซึม ลักษณะเป็นกระจกสะท้อนแสง ใช้เป็นตัวสะท้อน เพื่อทำการรังวัดมุมและระยะทางของกล้อง

ภาพโพลปริซึมวิธีการดำเนินงาน

  1. กำหนดค่าพิกัดหมุดแรกที่ทำการตั้งกล้อง Total Station
  2. ใช้โพลปริซึมเดินเก็บรายละเอียดตามสถานีต่างๆ ที่สนใจ เช่น ต้นไม้ พุ่มไม้ เสาไฟ เป็นต้น โดยจะทำการส่องกล้อง Total Station ไปยังโพลปริซึม เพื่อรังวัดระยะทาง มุม และค่าระดับ โดยจะวัดมุมเป็นมุม Azimuth (มุมในแนวราบวัดเทียบจากทิศเหนือ) จนครบทุกสถานี
  3. ใช้โพลปริซึมเดินเก็บค่าระดับ เพื่อนำข้อมูลไปทำการลากเส้นชั้นความสูง
  4. นำค่าที่ได้จากการรังวัดกล้อง Total Station ทำการคำนวณด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์จะสามารถหาค่าพิกัดสถานีต่างๆได้
  5. ทำการวาดแผนที่จากค่าพิกัดสถานี โดยวิธีการวาดเช่นเดียวกันกับการวาดกราฟระบบพิกัด Cartesian (ระบบพิกัดแบบราบ มี 2 มิติ คือค่าพิกัด X กับ Y)

Advertisement

Advertisement

ภาพขณะทำการรังวัดรายละเอียดเพื่อวาดแผนที่

*หากพื้นที่ที่ต้องการทำแผนที่มีสเกลขนาดใหญ่นิยมทำการสำรวจรังวัดด้วยวิธีอื่นๆ เช่นภาพถ่ายทางอากาศ ดาวเทียม UAV เป็นต้น


ขอบคุณรูปภาพจาก รูปภาพปก / รูปภาพ 1 / รูปภาพ 2 โดยนักเขียน  / รูปภาพ 3 โดยนักเขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์