ไลฟ์แฮ็ก

ทำ 5 สิ่งนี้จบบัญชี... แต่สมัครงานการตลาดได้ (สำหรับคนอยากเปลี่ยนสายงาน)

1.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำ 5 สิ่งนี้จบบัญชี... แต่สมัครงานการตลาดได้ (สำหรับคนอยากเปลี่ยนสายงาน)

สวัสดีค่ะทุกคน โดยเฉพาะน้อง ๆ นิสิต นักศึกษา ที่เรียนอยู่ประมาณปี 3 - ปี 4 หรือน้อง ๆ ที่เรียนจบมาใหม่ ๆ เพราะบทความนี้ค่อนข้างจะใกล้ตัวน้อง ๆ กลุ่มนี้ค่ะ โดยพี่จะขอแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องที่อยากจะสมัครงานในส่วนงานที่ไม่ตรงกับวุฒิที่เราจบมา ว่าเราควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ยิ่งโดยเฉพาะตัวพี่เองที่มารู้ตัวว่าอยากจะทำงานด้านการตลาดก็ตอนปี 3 เทอม 2 แล้ว

ขอเล่าที่มาที่ไปสักเล็กน้อย

ด้วยปัจจัยหลายอย่างในตอนมัธยมปลาย ทำให้ตัวพี่มีความตั้งใจที่จะสอบเข้าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคบัญชีให้ได้ ด้วยความที่โลกของตัวเองในวัยเด็กเมื่อปี 2554 ยังไม่ได้เปิดกว้างพอ ไม่ได้รู้จักอาชีพอะไรมาก จึงไม่รู้จักคำว่าการตลาดเลยและก็ไม่รู้ด้วยว่าบัญชีมีการเรียนการสอนอะไรบ้าง

และแล้วพี่ก็สามารถสอบติดบัญชี จุฬาฯ ตามที่ใฝ่ฝันได้สำเร็จ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะมีชื่อเต็ม ๆ ว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาบัญชี (สาขาที่สอบติด) และสาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งการตลาดเป็นหนึ่งในภาควิชาในสาขาบริหารธุรกิจ การเรียนการสอนของภาคบัญชีจะเน้นปั้นนิสิตให้เป็น “ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ออดิตเตอร์” หรือไม่ก็เป็นนักบัญชี ทุกอย่างจะต้องถูกต้อง ตรงตามกรอบที่วางไว้ แต่การตลาดจะสอนในเชิงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การวางกลยุทธ์ และพลิกแพงตามสถานการณ์ (ไม่จำเป็นต้องตายตัวในกรอบเสมอไป)

Advertisement

Advertisement

การเรียนในช่วงปี 1 ถึง ปี 2 ไม่ได้มีปัญหาหรือมีประเด็นให้มานั่งคิดหรือตระหนักอะไรมากมายเกี่ยวกับเส้นทางอนาคต  แต่พอมาปีสามก็เริ่มรู้ตัวแล้วว่าตัวเราเองถนัดและสนใจอะไรจริง ๆ พอลองสังเกตเกรดในใบเกรด หรือ transcript ดูก็พบว่าเกรดของวิชาภาคบัญชีไม่ดีเลย แต่เกรดของวิชาการตลาดกลับดีกว่า (เด็กภาคบัญชีต้องมีการลงเรียนของภาคอื่นบ้าง) และตอนนั้นก็สมัครฝึกงานด้านบัญชีไม่ได้เลย เลยพอจะรู้แล้วว่าตัวเราเหมาะกับการตลาดมากกว่า

พอลองสังเกตเกรดในใบเกรด หรือ transcript ดูก็พบว่าเกรดของวิชาภาคบัญชีไม่ดีเลย แต่เกรดของวิชาการตลาดกลับดีกว่า เลยพอจะรู้แล้วว่าตัวเราเหมาะกับการตลาดมากกว่า

เอาล่ะ เกริ่นมาซะยาวเลย มาดูกันดีกว่าว่า 5 สิ่งนี้ มีอะไรบ้าง (คนเรียนคณะอื่น แต่อยากเปลี่ยนสายเหมือนกัน ก็ลองเอาไปปรับใช้ได้นะคะ)

Advertisement

Advertisement

1. ศึกษาความต้องการของบริษัทตำแหน่งงานที่เราสนใจ

job

การศึกษาความต้องการเป็นหัวใจสำคัญของการตลาด ดังนั้นเพื่อการเริ่มต้นเป็นพนักงานหรือนักการตลาดที่ดี จะต้องศึกษา “ความต้องการ” ของกลุ่มเป้าหมายของเรา การศึกษาความต้องการของบริษัทก็ไม่ต่างกัน ลองดูว่าบริษัทมองหาอะไร โดยศึกษาจากเว็บไซต์สมัครอ่าน และอ่านรายละเอียดตรง Job Description หรือ ถามรุ่นพี่ที่ทำงานด้านการตลาด และนำสิ่งเหล่านั้นไปเตรียมตัวเองในช่วงเวลาที่เหลือก่อนเรียนจบเพื่อจะสมัครงาน ขอย้ำว่าข้อแรกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้เกิดข้อ 2 3 4 5 ตามมา

2. สร้างโปรไฟล์ของเราให้เป็นคนที่บริษัทมองหา

blog

ถ้าอยากทำงานด้านการตลาด เราก็ต้องสร้างโปรไฟล์ด้านการตลาด ซึ่งทุกวันนี้มีเครื่องมือมากมายให้เราสร้างโปรไฟล์ของเราขึ้นมา หรือที่เรียกกันว่า “ประสบการณ์ที่ผ่านมา” ในเรซูเม่ ตัวอย่างการสร้างโปรไฟล์ด้านการตลาดอย่างแรกเลย คือ การเข้าร่วมประกวดแผนการตลาด ที่จะมาประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยทุกปี เช่น JMAT, TOYOTA, UNIQLO ฯลฯ การประกวดแผนการตลาดไม่ได้จำกัดเฉพาะเด็กภาคมาร์เก็ตติงเท่านั้น ภาคบัญชีก็ประกวดได้ และถ้าเราเข้ารอบก็จะเป็นประวัติที่น่าสนใจ นอกจากนี้ก็อาจจะขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ของขวัญงานรับปริญญา ทำเพจเฟสบุ๊ค ทำ blog ส่วนตัวขึ้นมา คงจะดีไม่น้อย ถ้าผู้สัมภาษณ์งานได้บอกกับเราว่า “คุณไม่ต้องพูดอะไรหรอก ผมติดตามผลงานของคุณผ่านช่อง YouTube ที่คุณทำเป็นประจำอยู่แล้ว”

Advertisement

Advertisement

คงจะดีไม่น้อย ถ้าผู้สัมภาษณ์งานได้บอกกับเราว่า “คุณไม่ต้องพูดอะไรหรอก ผมติดตามผลงานของคุณผ่านช่อง YouTube ที่คุณทำเป็นประจำอยู่แล้ว”

3. ศึกษาหาความรู้ในด้านนั้น ๆ และลงเรียนวิชาที่เกี่ยวข้อง

read

แน่นอนว่าจะทำงานด้านไหนก็ควรจะมีความรู้ในด้านนั้น ถ้าเรายังด้อยเรื่องไหน ก็ให้รีบพัฒนาตรงนั้น สำหรับการตลาดก็มีแหล่งความรู้มากมายไม่ว่าจะเป็นหนังสือ พ็อคเก็ตบุ๊คต่าง ๆ ที่เหล่ากูรูการตลาดได้เขียนขึ้นมา นิตยสารต่าง ๆ เช่น Marketeer หรือ BrandAge หรือจะหาความรู้ฟรี ๆ บนโลกอินเตอร์เน็ตก็มีมากมาย

แต่ที่สำคัญมาก ๆ ก็คือพยายามลงเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตลาดให้ได้มากที่สุด เรามีหน่วยกิตเหลือเท่าไหร่ก็พยามลงเรียน เช่น วิชาเกี่ยวแบรนด์ วิชาการตั้งราคา หรือวิชาเกี่ยวช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นต้น เพราะนอกจากเราจะได้ความรู้แล้ว วิชาเหล่านี้จะไปโผล่บน Transcript ด้วย และ Transcript นั้นก็จะนำมาซึ่งข้อ 4

4. จัดเรียงเกรดให้สวยงาม

อย่างที่ได้เล่าไปแล้วว่าเกรดวิชาบัญชีของพี่ไม่ดีเท่าเกรดวิชาการตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียนวิชาบัญชี จึงทำให้เกรดเฉลี่ยโดยรวมน้อย ดังนั้นหากเรามั่นใจว่าเกรดวิชาการตลาดของเราดี ให้ทำการเฉลี่ยเกรดเฉพาะวิชาการตลาดแยกไว้ด้วย เช่น ถ้าเกรดเฉลี่ยโดยรวมของเราอยู่ที่ 2.85 แต่เราเรียนวิชาการตลาดไป 5 ตัว ได้เกรดดังนี้ A, B+, A, A, B ให้เราเขียนไปในเรซูเม่ไปได้เลยว่า เกรดเฉลี่ย 2.85 เกรดเฉลี่ยวิชาการตลาด 3.70 เชื่อสิ พี่ลองทำมาแล้วไม่มีใครว่าอะไรเลยสักคน

ให้เราเขียนไปในเรซูเม่ไปได้เลยว่า เกรดเฉลี่ย 2.85 เกรดเฉลี่ยวิชาการตลาด 3.70

5. ฝึกงานด้านที่เกี่ยวข้อง

การฝึกงานจะทำให้เราได้ลองทำงานในสายนั้น ๆ ดูว่าเราเหมาะสม ถนัด และสนใจในงานด้านนั้นจริง ๆ หรือเปล่า มันสามารถบอกเราได้ในระดับหนึ่ง และเป็นประสบการณ์ในเรซูเม่ของเราได้ด้วย แต่ถ้าพี่ HR ไม่มั่นใจในประวัติของเราเพราะเรียนคนละวุฒิ อาจจะให้อาจารย์ประภาคเขียนแนะนำตัวเราให้ หรือให้เพื่อนของเราที่ผ่านสัมภาษณ์ฝึกงานแล้ว แนะนำเรากับ HR ด้วย เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับประสบการณ์จริงมาแล้ว ในตอนสมัครฝึกงานการตลาด ถ้าเพื่อนไม่แนะนำชื่อพี่ พี่ก็อาจจะไม่ได้มีโอกาสฝึกงานที่นั่น

marketing

และนี่ก็คือ 5 สิ่งที่ควรทำถ้าน้อง ๆ อยากจะลองเปลี่ยนสายดู ถ้าพยามมาทั้ง 5 ข้อนี้ ยังทำไม่สำเร็จ ขอแถมให้อีกสักหนึ่งข้อ คือ “อดทนรอคอย” ทุกอย่างมีจังหวะโอกาสที่เหมาะสมของมัน เหมือนพี่เองที่ไม่ได้งานการตลาดทันที แต่ก็ไม่ย้อท้อ จนได้ทำงานที่ต้องการในที่สุด

ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จ กับเส้นทางที่เลือกนะคะ และจำไว้ว่า จะถูกจะผิด มันก็สวยงามเสมอ เมื่อเราได้ตัดสินใจเลือกจากกระบวนการคิดอย่างดีที่สุดเท่าที่ตัวเราในตอนนั้นจะสามารถทำได้แล้ว

พี่โอ้

เครดิตรูปภาพ : https://www.pexels.com/

ติดตามเพิ่มเติมได้ทาง

Facebook : fb.me/justlearntogether

YouTube : https://bit.ly/2PpkbZu

IG : kanziri

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
OhKansiri
OhKansiri
อ่านบทความอื่นจาก OhKansiri

In-trend Influencer ชอบเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ IG : ohkansiri / เพจ : เรียนรู้ไปด้วยกันนะ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์