ไลฟ์แฮ็ก

Shortnote ยังไง ให้เข้าใจ และน่าอ่าน

740
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Shortnote ยังไง ให้เข้าใจ และน่าอ่าน

เคยมั้ย? อ่านเท่าไหร่ก็ไม่จำ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำเทคนิคการจดสรุปที่น่ารักน่าอ่านและยังทำให้จำได้ดีอีกด้วย หลายคนอาจจะคิดว่า จดไปทำไม เสียเวลา อ่านเลยดีกว่ามั้ย แต่ๆๆ ผลการวิจัยของนักจิตวิทยาและนักเขียนชื่อดัง Stanislas Dehaene แห่ง College de France ในปารีสได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อเราเขียน ระบบประสาทบางส่วนจะถูกกระตุ้นขึ้นมา เพราะลักษณะท่าทางการเขียนหนังสือจะส่งผลโดยตรงให้มีการเปลี่ยนแปลงในสมอง และการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลเฉพาะทางต่อระบบประสาทในส่วนที่เกี่ยวกับความจำ ซึ่งช่วยทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น”​ เพราะฉะนั้น เรามาเริ่มทำสรุปกันเถอะ :)

ขั้นตอนแรกของการทำสรุปก็คือ อ่านเนื้อหาให้ครบก่อน เพื่อให้เข้าใจภาพรวมว่าเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร หัวข้อหลักมีอะไรบ้าง โดยอาจจะใช้ไฮไลต์ขีดเน้นหัวข้อหลักและเนื้อหาที่คิดว่าสำคัญ น่าจะออกสอบเอาไว้ ในขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องถึงขั้นอ่านจนจำได้ แค่อ่านให้ทุกอย่างผ่านตาก็พอ

Advertisement

Advertisement

ต่อมาหลังจากอ่านครบแล้ว ก็เริ่มทำสรุปได้เลย อุปกรณ์แรกที่ต้องมี คือ กระดาษ จะเป็นขนาด A4 หรือสมุดเล่มเล็ก แบบไหนก็แล้วแต่ตามสไตล์เราได้เลย แต่เทคนิคที่จะทำให้น่าอ่านก็คือ เลือกกระดาษที่มีสีสันสดใส หรือลวดลายที่น่ารัก จะกระตุ้นให้เราอยากหยิบขึ้นมาจดมากขึ้น ถ้าไม่เชื่อลองดูรูปนี้สิ

ตัวอย่างการจด

เมื่อมีกระดาษแล้ว ก็ถึงเวลาเขียน ตอนนี้หลายคนอาจจะเริ่มกังวล ลายมือไม่สวย ทำไงดี เขียนไปก็ไม่น่าอ่าน ฯลฯ อย่าเพิ่งกังวลค่ะ เราทำสรุปก็เพื่อให้ตัวเราเองจำได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนสวยเหมือนประกวดคัดไทย แค่เขียนให้เป็นระเบียบ แค่นี้ก็น่าอ่านแล้ว โดยขั้นตอนการเขียนสรุป จะเริ่มจาก

1. เขียนภาพรวม : อาจจะใช้ mindmap เข้ามาช่วย เพื่อให้รู้ว่ามีหัวข้อหลักคืออะไรบ้าง

2. จดแค่ใจความสำคัญ : การจดสรุปไม่ใช่การลอกเนื้อหาในหนังสือมาเขียน แต่เป็นการเขียนใหม่ด้วยภาษาของเราเอง เข้าใจแบบไหนก็เขียนตามที่เข้าใจ แต่เนื้อหายังคงเหมือนเดิมน้า เปลี่ยนแค่การใช้คำพูด

Advertisement

Advertisement

3. ใช้สีสันเข้าช่วย : ถ้าเขียนด้วยสีๆเดียว ก็จะดูน่าเบื่อ ไม่อยากอ่าน ลองใช้ปากกาสีกับหัวข้อ และใช้สีดำ, น้ำเงินหรือดินสอกับเนื้อหาที่เป็นรายละเอียดย่อย จริงๆแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล ใครชอบสีไหนก็เลือกได้เลยน้า ลองดูว่าเราใช้สีไหนเขียนแล้วจำได้มากที่สุดก็ใช้สีนั้นเลย นี่เป็นตัวอย่างการเขียนจ้า

ตัวอย่างการใช้ปากกาสีจด

4. ใช้คำย่อหรือสัญลักษณ์ : ศัพท์เฉพาะบางคำจะค่อนข้างยาว ทำให้เสียเวลาจด การใช้คำย่อและสัญลักษณ์จึงช่วยแก้ปัญหานี้ได้ จะย่อแบบไหนก็แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน เพราะยังไงคนที่อ่านก็คือตัวเราเอง คนอื่นไม่เข้าใจ แต่เราเข้าใจก็พอแล้ว ลองดูตัวอย่างได้จากรูปนี้

ตัวอย่างการใช้คำย่อและสัญลักษณ์

5. มีการตกแต่ง : ถ้าสรุปมีแต่ตัวอักษร ต่อให้สีสันเยอะแค่ไหน ก็คงไม่อยากอ่านอยู่ดี การตกแต่งเพิ่มสติกเกอร์ หรือแปะเทปลงไป ช่วยเพิ่มความน่ารักให้สรุปได้ ลองดูรูปนี้สิ น่าอ่านขึ้นมั้ยย

Advertisement

Advertisement

ตัวอย่างการตกแต่งสรุป

นี่ก็เป็นขั้นตอนการจดสรุปที่ทางเราเชื่อว่า ถ้าทุกคนทำตามนี้ คะแนนต้องพุ่งแน่นอน และก็อย่าเพิ่งคิดว่าเสียเวลา ถ้ายังไม่ได้ลองทำน้า รับรองเลยว่าคะแนนที่ได้จะคุ้มค่ากับความพยายามแน่ๆค่า :)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์