อื่นๆ

กระป๋องเดอะตินแคน Tin can Tin can

177
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
กระป๋องเดอะตินแคน Tin can Tin can

เคยสงสัยมั้ยว่า กระป๋องที่เราใช้ ๆ กันอยู่เนี่ย ไม่ว่าจะเป็นกระป๋องนมหรือกระป๋องอาหาร รวมไปถึงกระป๋องใส่สารเคมี ทำไมต้องมีกระป๋อง ใส่อย่างอื่นแทนไม่ได้หรอ มันมีหน้าที่ทำอะไร ถ้าอยากรู้ต้องย้อนไปในปี คริสตศักราช 1795 ช่วงนั้นเป็นช่วงที่การเดินทางมันไม่ได้สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้เทคโนโลยีก็เช่นกัน หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคืออาหารไม่ว่าจะเดินทางไปรบ ไปค้าขาย ไปสำรวจพื้นที่ใหม่ ๆ อาหารมักจะเน่าเสียอยู่เสมอ เลยเกิดปัญหาที่ว่า “ ทำยังไงให้อาหารยังคงสดใหม่อยู่ทุกครั้ง “ ก็สมัยนั้นไม่มีตู้เย็นหนิขนาดปืนที่ใช้รบใช้ล่าอาณานิคมยังใช้ปืนคาบศิลาอยู่เลย

นโปเลียน โมนาปาร์ทนโปเลียน โบนาปาร์ท เสนอเงินจำนวน 12000 ฟรังก์ให้กับใครก็ได้ที่คิดค้นวิถีถนอมอาหารได้ ทำให้ นิโคลัส แอปเปิร์ต ชนะรางวัลนั้น เขาได้บอกวิธีถนอมอาหารว่า เขาได้ใส่อาหารนั้นไว้ในโหลแก้ว ปิดฝาด้วยจุกคอร์ก เคลือบด้วยไข แล้วเอาไปต้มในน้ำเดือด ( ในความเห็นผม ผมว่านั้นแหละคือต้นกำเนิดของกระป๋องเดอะตินแคนในปัจจุบัน แต่ด้วยความที่ว่า ภาชนะบรรจุเป็นแก้ว ทำให้แตกง่ายเอามาก ๆ ไม่สะดวกกับการพกพาเลย )

Advertisement

Advertisement

โหลแก้ว

และมันก็คงเป็นปัญหาเรื่องการพกพาจริง ๆ ทำให้ ในปีคริสตศักราช 1810 ปีเตอร์ ดูแรนด์ คนอังกฤษ คิดค้นวัสดุที่ใช้ถนอมอาหารมาแทนขวดโหลแก้วนั้นก็คือ โลหะ !!โลหะเหนียวกว่าแก้วทำให้แตกยากกว่า ขึ้นรูปง่ายกว่า ถ้าเอามาทำภาชนะก็เบากว่าด้วย และใน 30 ปีต่อมา เฮนรี อีแวนส์ ก็ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรผลิตกระป๋องที่มีกำลังผลิตได้ 60 กระป๋องต่อ 1 ชั่วโมง คิดง่าย ๆ ก็ 1 นาที 1 กระป๋อง ( ผมว่าเร็วมากเลยนะในสมัยนั้นอะ )

แต่ในสมัยที่มีกระป๋องโลหะใช้แล้ว มันก็มีปัญหาตรงที่ว่า การเอาอาหารออกมาจากกระป๋องเนี่ยเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย ต้องใช้สิ่วกับค้อน โดยใช้สิ่วตอกลงไปให้ฝากระป๋องมันเปิดออกมา ( มันยากจริง ๆ เดี๋ยวตอนท้ายเล่าให้ฟังว่าทำไมมันยาก ) และแน่นอนใช้สิ่วมันคงไม่สะอาดสักเท่าไหร่ จนในกระทั่งในปี 1858 ที่เปิดกระป๋องโลหะก็ถูกประดิษฐ์ขึ้น แต่ในปัจจุบัน กระป๋องเกือบจะทุก ๆ กระป๋องมันไม่จำต้องใช้ ที่เปิดกระป๋องแล้ว เพราะมีเจ้าสิ่งนี้ เค้าเรียก ริงพูล ( ring-pulls) หรือที่เรา ๆ เรียกกันว่า ห่วงเปิดกระป๋องแค่ดึง งัดมันขึ้นตามหลักของคานในเรื่องฟิสิกส์แล้วฝากระป๋องก็จะแง่มออกมาเอง

Advertisement

Advertisement

ห่วงเปิดกระป๋อง หรือ ring pulls

ในสมัยปัจจุบัน วัสดุที่ใช้ทำกระป๋องโลหะ ส่วนมากจะเป็นเหล็กเคลือบ มีทั้ง เหล็กเคลือบดีบุก เคลือบสารผสมฟอสเฟตและโครเมต เคลือบอะลูมิเนียม และก็ยังที่ไม่ใช่เหล็กเคลือบจะเป็นพวก สแตนเลส หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม หรือไม่ก็อลูมิเนียมไปเลย

แต่ด้วยความที่ว่า วัสดุเหล็กเคลือบหรือแม้แต่สแตนเลส ที่เอามาทำกระป๋องมีจุดประสงค์คือ ป้องกันการกัดกร่อนไม่ให้เป็นสนิม และ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่สัมผัสกับภาชนะกลายเป็นพิษ วัสดุพวกนั้นจะมีชั้นฟิล์มปกป้องที่เนื้อเหล็กอยู่ทำให้ไม่เกิดสนิม ทำให้อาหารไม่เป็นพิษ แต่ชั้นฟิล์มที่ว่ามันโดนขูดขีดออกไปได้ถ้าถูกเสียดสีมาก ๆ หรือมันเสื่อมสภาพได้ ( ยกเว้นแสตนเลสที่สร้างฟิล์มปกป้องขึ้นมาได้ใหม่ แต่มันก็มีอายุขัยของชั้นฟิล์มเหมือนกัน ) ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าบางครั้งจะเห็นกระป๋องเก่า ๆ ที่เป็นสนิมแต่กระป๋องใหม่ ๆ จะไม่เป็นถึงจะโดนน้ำโดนลมก็เถอะ

Advertisement

Advertisement

เราจะไม่ใช้เหล็กเคลือบ ตะกั่ว หรือเหล็กเคลือบ สังกะสี มาบรรจุอาหารแน่นอนเพราะ มันเป็นโลหะหนัก มันอันตรายต่อร่างกาย


เรื่องเล่าจาก เดอะตินแคน

ครั้งหนึ่งผมต้องไปฝึกงานที่โรงงานเพราะเรียนวิศวะ ตอนนั้นอยู่ปี 3 โรงงานอยู่ที่ ฉะเชิงเทรา มหาลัยอยู่ กรุงเทพ เลยต้องไปหาหออยู่แถว ๆ โรงงานแล้วชีวิตเด็กหอก็เริ่มขึ้น ที่หอไม่มีตู้เย็น สิ่งที่ตอบโจทย์ตอนหิวแต่ไม่อยากออกไปคือ ปลากระป๋อง กับ ผักดอง ช่วงนั้นกำลังเลิกกงานพอดี รู้สึกอยากหาอะไรลองท้องเลยเอาปลากระป๋องในกระเป๋ามาเปิด อุ้ย !! ทำห่วงเปิดกระป๋องขาด เปิดไงละทีนี้ มองไปรอบ ๆ เห็นไขควง กับค้อนยาง วางอยู่ที่โซนเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ ใกล้ ๆ เครื่องกลึง คิดอะไรแผลง ๆ ได้เลยขอยืมพี่ที่โรงงานมา วางกระป๋อง ไว้ที่โต๊ะ ไขควงล้างแอลกอฮอล์รอให้แห้ง เอาด้านแหลมทิ่มไปตรงรอยต่อฝากับตัวกระป๋อง แล้วก็เอาค้อนยางมา ทุบ !! ไม่ออก ครั้งแรกกล้า ๆ กลัว ๆไม่เคยเปิดด้วยวิธีนี้มาก่อน ครั้งที่สอง โพ๊ะ !! เข้าให้ กระจายเต็มรองเท้าเซฟตี้ แตกหนึ่ง สวยพี่สวย รองเท้าเต็มไปด้วยกลิ่นปลาแมคคาเรล กินได้แค่ครึ่งกระป๋อง ที่เหลือลงไปอยู่ที่รองเท้ากับขากางเกง นี่แหละรู้ยังว่าทำไมสมัยก่อนที่ไม่มีที่เปิดกระป๋อง แล้วต้องเปิดด้วยค้อนกับสิ่ว มันยากขนาดไหน เดินกลับหอด้วยรองเท้าที่เหม็นคาวไปยันขากางเกง


ที่มารูป

รูปหน้าปก https://www.pexels.com/th-th/photo/3008/

รูปนโปเลียน https://pixabay.com/photos/napoleon-bonaparte-emperor-france-67784/

รูปขวดโหลแก้ว https://pixabay.com/photos/pickles-billet-cucumbers-1799731/

รูปห่วงเปิดกระป๋อง https://pixabay.com/photos/soda-can-aluminum-beverage-cola-686984/

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์